ผมใช้ชีวิตอยู่ในทวีปเอเชียประมาณ ๑๕ ปีแล้วขณะนี้, ผมมีเพื่อนมากมายที่เป็นชาวพุทธ ชาวพุทธส่วนมากที่ผมรู้จักเป็นคนที่อดทนและเป็นมิตรมาก แต่อย่างไรก็ตาม, ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่ทำขึ้นโดยมนุษย์ ที่เหมือนกับโล่ห์, ป้องกันผู้คนจากการรู้จักทางของพระเจ้าและสงวนพวกเขาไว้ให้อยู่ในการผูกมัดกับวิญญาณชั่วร้าย ครั้งหนึ่งผมได้พบกับคนขายพระพุทธรูปบูชา ที่เขาบอกว่าแม่เขานั้นเป็นคนทรงสำหรับวิญญาณพญานาค (เทพเจ้าของชาวพุทธมาจากศาสนาฮินดู)

ชาวพุทธหลายคนมีศาลพระภูมิหรือแท่นบูชาประจำครอบครัวที่จะเอาใจวิญญาณต่างๆ  ตามพระคัมภีร์ไบเบิล, วิญญาณเหล่านั้น แท้จริงเป็นวิญญาณหลอกลวง อย่างที่เราเป็นมนุษย์ที่มีความสามารถจำกัด เราจำเป็นต้องมีความช่วยเหลือมากกว่าที่แค่ “มาจากมนุษย์” มีเพียงพระเจ้าผู้ทรงมหิทธิฤทธิ์เท่านั้นที่สามารถปล่อยเราออกจากการผูกมัดต่อวิญญาณชั่ว เราต้องการพระผู้ช่วยให้รอด ผู้ที่มีชีวิตอยู่ทุกวันนี้และผู้ที่สามารถแสดงให้เราเห็นทางของความรอดและอิสระที่แท้จริง พระผู้ช่วยให้รอดนั้นเป็นพระเจ้าผู้สร้างเรา, และผู้ที่รู้ทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับเรา  ถ้าคุณเป็นชาวพุทธ, ผมมีคำถามสำหรับคุณ ผมหวังว่าคำถามเหล่านี้จะนำคุณให้พิจารณาถึงความรักของพระเจ้าที่มีต่อคุณ, และความจำเป็นของคุณที่จะคืนดีกับพระองค์ด้วย, ผ่านทางพระเยซูคริสต์เพื่อคุณจะได้มีชีวิตนิรันดร์กับพระองค์ในสวรรค์

 

  1. คุณรู้จักเจ้าของสวรรค์ไหม?

 

ในจักรวาลวิทยาของศาสนาพุทธ ได้ถูกพูดว่ามีถึง ๓๑ ภพแห่งการมีอยู่, ซึ่งรวมถึงสวรรค์ต่างๆ, นรกต่างๆ, โลก, อื่นๆ ใน ๓๑ ภพแห่งนี้, ไม่มีสักภพเดียวที่เป็น “นิพพาน”, เนื่องจากว่าทั้งหมดเหล่านี้ได้ถูกกล่าวว่าเอนเอียงไปตามความไม่ถาวรและการทนทุกข์  ชาวพุทธหลายคนที่ผมเคยได้คุยด้วย พวกเขาหวังที่จะได้ไปสวรรค์  เป้าหมายของเขาไม่ใช่นิพพาน, แต่เป็นสวรรค์  แน่นอนมีคนอื่นที่มีเป้าหมายเป็นนิพพาน, แต่มีเพียงแค่น้อยนิด  การติดตามไปถึงสวรรค์หรือนิพพานเป็นรูปแบบที่ไม่มีความสัมพันธ์และไม่มีบุคลิกภาพในศาสนาพุทธ

 

ตามพระคัมภีร์ไบเบิล, สวรรค์นั้นไม่ชั่วคราว, แต่นิรันดร์ (นรกก็นิรันดร์ด้วย) เมื่อคนหนึ่งได้ไปไม่ว่าสวรรค์หรือนรก, พวกเขาจะอยู่ที่นั่นตลอดกาล พระคัมภีร์ไบเบิลได้สอนว่าสวรรค์เป็นสถานที่ที่ไม่มีความทนทุกข์, ที่ผู้คนจะชื่นชมยินดีต่อหน้าพระพักตร์และความประเสริฐของพระเจ้าตลอดกาล  เช่นนี้, สวรรค์นั้นเป็นสถานที่ที่เรามีความสัมพันธ์กับพระเจ้าได้อย่างเต็มที่ พระคัมภีร์ไบเบิลพูดว่า, “ดังที่มีเขียนไว้แล้วว่า `สิ่งที่ตาไม่เห็น หูไม่ได้ยิน และไม่เคยได้เข้าไปในใจมนุษย์ คือสิ่งที่พระเจ้าได้ทรงจัดเตรียมไว้สำหรับคนที่รักพระองค์'” (๑ โครินธ์ ๒:๙) คุณรักพระเจ้าหรือเปล่า? ในการที่จะรักพระเจ้า, คุณต้องรู้จักพระองค์ก่อน, และก่อนนั้น คุณต้องรู้จักความรักของพระองค์ที่มีต่อคุณ

ในศาสนาพุทธ, พระเจ้าผู้สร้างไม่ได้เป็นที่รู้จัก  ถึงแม้ว่า หลายคนต้องการไปสวรรค์, แต่ความคิดนี้ ไม่ได้นึกถึงความสัมพันธ์ระหว่างเรากับเจ้าของสวรรค์  แนวคิดของ “กรรม,” ทำให้ศีลธรรมเป็นระบบที่พระเจ้าไม่ได้เกี่ยวข้องด้วย และความคิดนี้ทำให้สวรรค์เป็นสิ่งที่พระเจ้าไม่ได้เกี่ยวข้องด้วย, มีอยู่โดยไม่มีใครดูแล  เมื่อถามว่าถ้าคนหนึ่งจะได้ไปสวรรค์หรือไม่, หลายคนตอบว่าขึ้นอยู่กับกรรมของแต่ละคน พวกเขาไม่ได้พูดว่าขึ้นอยู่กับพระเจ้า

 

อย่างไรก็ตาม, สถานที่ที่ยอดเยี่ยมอย่างสวรรค์ต้องมีเจ้าของ  ที่นี่บนโลกเราเห็นหลายๆอย่างของหลักฐานที่พระเจ้าได้ทรงสร้างอย่างอัศจรรย์  และ, เราเห็นว่าแม้แต่บ้านที่ต่ำต้อยยังมีเจ้าของ ถ้าเราไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของ, เราก็เข้าไม่ได้

 

ใน ศาสนาพุทธนิกายชิน, ที่ซึ่งแตกต่างจากรูปแบบของศาสนาพุทธส่วนมาก, เจ้าของสวรรค์ได้ถูกพูดว่าเป็น พระอมิตาภพุทธะ (Amida Buddha)  หลักฐานอ้างอิงของเขานั้นขาดสิทธิอำนาจอย่างมาก  รูปเคารพของพระอมิตาภพุทธะอันแรกมาจากศตวรรษที่สองคริสตศักราช พระอมิตาภพุทธะไม่ใช่บุคคลทางประวัติศาสตร์และไม่มีการอ้างของศาสนามาด้วยหลักฐานใดๆเลย  เชื่อในพระอมิตาภพุทธะคงจะเป็นแบบเดียวกับการวางความเชื่อคนหนึ่งไว้กับแบทแมน, หรือสไปเดอร์แมน ที่ทั้งพระอมิตาภพุทธะและสไปเดอร์แมนเป็นผลิตภัณฑ์จากจินตนาการต่างๆของมนุษย์  มีเพียงพระเจ้า, ผู้ที่เป็นผู้ทรงสร้างมนุษย์, มีพลังและสิทธิอำนาจที่จะเสนอสวรรค์สำหรับผู้ที่มาหาพระองค์บนทางของพระองค์

 

คำถามยังคงอยู่- “คุณรู้จักเจ้าของสวรรค์ไหม?” มันเป็นตรรกวิทยาที่จะพูดว่าสวรรค์นั้นมีเจ้าของ, ดั่งบ้านอาศัยที่มีอยู่ที่นี่บนโลกยังมีเจ้าของ  สวรรค์เป็นสิ่งยอดเยี่ยมมากไปกว่านี้และสมบูรณ์แบบมากไปกว่านี้ต้องมีใคร ผู้ที่ดูแลความสมบูรณ์และความยอดเยี่ยมของสถานที่นี้  ถ้าบนโลกนี้มีสถานที่ที่ไม่มีเจ้าของ, มันก็คงปกติที่จะตามกฎข้อที่สองของเทอร์โมไดนามิกและผุพัง, และสลายไป  สวรรค์เป็นสถานที่สมบูรณ์แบบและนิรันดร์ ไม่มีความเสียใจและความผุพัง

 

ถ้าจะรักษาคุณสมบัติของสวรรค์ต้องการคนหนึ่งผู้ที่ทรงมหิทธิฤทธิ์และผู้ที่ตัวเขาเองสมบูรณ์แบบ  นี่หมายถึงผู้ที่จะเข้าสวรรค์ผู้นั้นต้องมาทางของพระองค์ด้วย  พระองค์ได้มอบทางเหล่านี้แก่พระเยซูคริสต์, ผู้ที่ทรงเป็นอิมมานูเอล (พระเจ้าทรงอยู่กับเรา) ไม่มีจำนวนของการกระทำดีที่จะนำผู้คนไปสู่สวรรค์  เพียงแค่มาทางความสัมพันธ์ระหว่างผู้สร้างที่จะรับประกันในการเข้าไปสู่สวรรค์  พระเยซู ตรัสว่า, “...เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า ถ้าพวกท่านไม่กลับใจเป็นเหมือนเด็กเล็กๆ ท่านจะเข้าในอาณาจักรแห่งสวรรค์ไม่ได้เลย” (มัทธิว ๑๘, ๓)

 

Childer กล่าวในพจนานุกรมภาษาบาลีของเขา, เสนอคำตอบที่ชัดเจนว่านิพพานคืออะไร เขากล่าวว่า,“แต่หลักความเชื่อที่เริ่มต้นด้วยการกล่าวว่าการมีอยู่คือการทนทุกข์, ต้องจบลงโดยการกล่าวว่าการปลดปล่อยจากการมีอยู่คือความดีสูงสุด, และตามนั้นเราพบว่าการทำลายล้างนี้เป็นเป้าหมายของศาสนาพุทธ, เป็นรางวัลสูงสุดสำหรับผู้ที่ยึดมั่นในศีลอย่างสัตย์ซื่อ” (๒๖๕) คำว่า “การทำลายล้าง” อาจจะไม่เป็นคำที่ดีที่สุดในที่นี้, แต่สำหรับเหตุผลอย่างอื่นที่คนอาจจะคิด  Walpola Rahula, ชี้ว่า,“นิพพานไม่ใช่การทำลายล้างของตัวเอง, เพราะว่าไม่มีตัวเองที่จะทำลายล้างได้ ถ้าเป็นเช่นนั้น, มันคงเป็นการทำลายล้างของภาพลวงตา, ของแนวคิดที่ผิดเกี่ยวกับตัวเอง” (๓๗) 

 

Rahula ก็กล่าวในทำนองเดียวกันด้วยว่า นิพพานคือการดับสูญความมีอยู่: มีคำว่า “ปรินิพพาน” ที่ใช้อธิบายถึงการตายของพระพุทธเจ้าหรือพระอรหันต์ผู้ได้ตระหนักถึงนิพพาน, แต่มันไม่ได้หมายถึง “การเข้าไปสู่นิพพาน”  ปรินิพพานมีความหมายง่ายๆว่า ‘การผ่านไปอย่างเต็มที่’, ‘ถูกเป่าไปอย่างเต็มที่’ หรือ ‘ดับสูญอย่างเต็มที่’ เพราะว่าพระพุทธเจ้าหรือพระอรหันต์ไม่มีการอยู่อีกหลังจากความตาย” (๔๑)

 

เกี่ยวกับนิพพานในพระไตรปิฎก, Jones กล่าวว่า, “ตามที่ข้าพเจ้ารู้ว่า, ไม่มีสักคำเดียวใน สี่นิกาย ที่สนับสนุนแนวคิดนิพพานเป็นสภาวะแง่บวก, สภาวะเหนือกว่าและสภาวะความสุขอันล้นพ้น” (๑๕๒) ในเชิงอรรถของการอภิปรายนี้, Jones ให้เราเห็นว่านักวิชาการเถรวาทส่วนใหญ่ นับถือความเชื่อว่านิพพานหมายถึงความดับสูญ: “...ในเมื่อ Jayatilleke, 1963, pp. 475f, ได้นำเอามุมมองที่เหนือกว่าความสุขอันล้นพ้นของนิพพานมาใช้, ศิษย์เก่าของเขาชื่อ Kalupahana, 1976, pp. 87f, ตำหนิเขาต่อสิ่งนี้และยืนยันอีกครั้งถึงมุมมองของนิพพานเป็นการดับสูญนั้น (ในแวดวงของเถรวาท) เป็นมุมมองทั่วไปกว่า” (๒๐๒)

 

A.L. Herman ในบทความของเขา “Two Dogmas of Buddhism”13 ชี้ถึงความยุ่งยากอื่นๆ เกี่ยวกับนิพพาน, “สภาวะสับสนของนิพพานที่ถือว่า ถ้านิพพานถูกมองในแง่ลบว่า เป็นการไม่มีของอารมณ์ที่รุนแรง และความปรารถนา และความรู้สึกเลย ดังนั้นนี่คือเท่ากับการตาย, และใครเล่าต้องการจะติดตามเป้าหมายที่นำไปสู่ความตาย?  นิพพานคือการฆ่าตัวตายในการแปลครั้งแรกนี้  ในอีกด้านหนึ่ง, ถ้านิพพานถูกมองในแง่บวกว่าเป็นการมีอยู่ของสันติสุขและความเงียบสงบ ในที่ซึ่งทั้งหมดที่ข้าพเจ้าปรารถนาได้เติมเต็ม ถ้าอย่างนั้นความปรารถนาก็ไม่จบลงหรือถูกปล่อยไป และความตั้งใจทั้งหมดของนิพพานก็ขัดแย้งกัน:  นิพพานก็ไม่สอดคล้องกันในการแปลครั้งที่สอง แต่, สภาวะสับสนของนิพพานดำเนินต่อไป, นิพพานต้องถูกมองทั้งในแง่ลบหรือในแง่บวก; ไม่มีทางเลือกที่สาม  บทสรุปของสภาวะสับสนเช่นนี้ก็ถือว่านิพพานเป็นการทำให้หายไปโดยฆ่าตัวตาย หรือการดำเนินต่อไปโดยไม่สอดคล้องกัน”  (๑๗๐)

 

Herman สรุปด้วยข้อความที่มืดมนนี้:  “ผลกระทบของการรักษาหลักคำสอนที่นับถืออย่างเคร่งครัดนี้ ที่พื้นฐานไม่แข็งแรง... อาจจะ(ได้ทำให้) ย้ายศาสนาพุทธออกไปจากความจริงและเหตุผลที่ได้จากประสบการณ์หรือการสังเกต และใกล้เคียงกว่าถึง ‘หลักปฏิบัติที่น่าสงสัย,’... หรือมุ่งไปสู่ ‘การไม่ใช้เหตุผลและความคิดที่ลึกลับ’ ในที่ความจริงถูกละทิ้งโดยสิ้นเชิง” (๑๗๔) ในเชิงอรรถของบทสรุปนี้, Herman อธิบายต่อไปอีกว่า “…‘หลักปฏิบัติที่น่าสงสัย’ และ ‘การไม่ใช้เหตุผลและความคิดที่ลึกลับ,’เป็นหนทางแน่นอนที่ตามมายึดถือโดยศาสนาพุทธทางใต้หรือพุทธนิกายเถรวาท, และในด้านหนึ่ง, และทางเหนือหรือพุทธนิกายมหายาน, ในอีกด้านหนึ่ง” (๑๗๔)

 

แทนที่จะเป็นการออกไปจากการมีชีวิตอยู่,  พระเยซูคริสต์ได้เสนอหนทางที่จะดับความกระหายในการที่จะดำเนินชีวิตอย่างมีความหมายและอย่างนิรันดร์: พระเยซูตรัสตอบนางว่า “ผู้ใดที่ดื่มน้ำนี้จะกระหายอีก แต่ผู้ใดที่ดื่มน้ำซึ่งเราจะให้แก่เขานั้นจะไม่กระหายอีกเลย แต่น้ำซึ่งเราจะให้เขานั้นจะบังเกิดเป็นบ่อน้ำพุในตัวเขาพลุ่งขึ้นถึงชีวิต

นิรันดร์”  (ยอห์น ๔:๑๓-๑๔)  พระเยซูคริสต์เป็นเจ้าของสวรรค์ คุณรู้จักพระองค์หรือเปล่า?

 

2. อะไรคือความแตกต่างระหว่างกรรมและบาป?

 

ระบบของกรรมเป็นสิ่งที่ดึงดูดใจของผู้คนในระดับอันที่เป็นที่นิยม, ทำให้มันดูเหมือนว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นอยู่บนพื้นฐานของสิ่งที่สมควรได้รับ – ถ้าคุณทำดี, คุณจะได้รับสิ่งดี; ถ้าคุณทำชั่ว, คุณจะได้รับสิ่งชั่ว

 

ผลกระทบที่อ้างว่ามาจากของกรรมที่ถูกเขียนไว้ด้วยในพระไตรปิฎก (Middle Length Sayings III, p. ๒๔๘-๒๕๓ [มัชฌิมนิกาย]) สาเหตุต่างๆ ของอายุสั้น, ผิวพรรณทราม, มีโภคะน้อย , และอื่นๆ สิ่งเหล่านี้จากการกระทำที่ได้อ้างมาจากการกระทำไม่ดี, คำพูดหรือความคิดที่ได้ทำไปในชาติก่อน นี่คือแนวทางที่กรรม อธิบายถึงความไม่เท่าเทียมกันในชีวิต- ตามที่มนุษย์สมควรได้รับ ในระบบนี้คนยากจนสมควรยากจน, คนรวยสมควรรวย, อื่นๆ  รูปแบบความคิดแบบนี้ ดูเหมือนกับวางคนพิการในหมวดหมู่เดียวกับกับฆาตกรในคุก, และบุคคลที่มีทรัพย์สมบัติมากมายในหมวดหมู่วีรบุรุษ บทสรุปเหล่านี้ไม่มีเหตุผลอันสมควร

 

ระบบของกรรมเป็นระบบที่นึกเอาว่าการกระทำดีสามารถลบล้างการกระทำชั่วได้, เหมือนกับบัญชีธนาคารแห่งคุณความดีซึ่งสามารถเพิ่มเข้าหรือเอาออกได้  ถ้าพูดตามพระคัมภีร์ของคริสเตียนแล้ว, ศีลธรรมไม่ใช่เหมือนกับบัญชีธนาคารที่สามารถทำให้ยกยอดถอนการกระทำไม่ดีออกจากการกระทำดี, ในทำนองเดียวกันแต่กลับกัน  แน่เลยทีเดียว, ศีลธรรมเป็นความรักในของกระทำที่ขึ้นกับความสัมพันธ์ต่างๆของเรา, ตามมาตรฐานของพระเจ้า  เด็กๆ มีหน้าที่ที่แน่นอนในการเคารพนับถือบิดามารดา, อย่างที่บิดามารดามีหน้าที่ที่จะดูแลเด็กของพวกเขา, และอื่นๆ  ถ้าสามีไม่สัตย์ซื่อต่อภรรยา, แต่เขาให้ของขวัญที่ยอดเยี่ยมแก่ภรรยา, เขาจะแก้ปัญหาในการละเมิดของเขาราวกับว่ามันเป็นงานทางธุรกิจหรือ? ในความสัมพันธ์มีสิ่งหนึ่งคือการให้อภัย, แต่ว่าศีลธรรมไม่ใช่รูปแบบที่ไม่มีความสัมพันธ์และไม่มีบุคลิกภาพที่สามารถถูกปฏิบัติเสมือนบัญชีธนาคาร  ในทำนองเดียวกัน, ถ้าคนหนึ่งยอมรับถึงการฆ่าคน, แต่ได้บอกผู้พิพากษาว่า ถึงแม้ว่าเขาได้ฆ่าคน, เขายังมอบเงินเก็บทั้งชีวิตของเขาให้แก่แม่ม่าย, ผู้พิพากษานั้นจะยกเลิกการลงโทษที่มีต่อเขาไหม? เขาได้ละเมิดต่อหน้าที่ของเขาในการที่จะรักเพื่อนบ้าน(คนที่เขาฆ่า) ความผิดในการฆ่าต้องถูกลงโทษ, ไม่ว่าคนนั้นจะเคยกระทำความดีไว้มากแค่ไหนก็ตาม

 

ในทางตรงกันข้าม, ถ้าคนหนึ่งดำเนินชีวิตอย่างซื่อตรงและทำตามกฎหมายทั้งหมดของแผ่นดิน, รัฐบาลจะให้รางวัลสำหรับความประพฤติดีของเขาไหม? บุคคลนั้นแค่เติมเต็มหน้าที่ของเขาเฉยๆ, ในขณะที่รัฐบาลอาจจะรู้สึกขอบคุณเขา, แต่รัฐบาลเห็นอย่างง่ายๆว่าบุคคลนั้นสมควรประพฤติอย่างที่เขาสมควรจะประพฤติ  พวกเขาไม่ได้แต้มพิเศษใดๆจากสิ่งนั้น  จำนวนครั้งการละเมิดติดกับตัวเรา, แต่การประพฤติดีเป็นสิ่งที่พระเจ้าคาดหวังไว้อยู่แล้ว ถึงแม้ว่าคนหนึ่งกระทำดีสักร้อยอย่าง, แต่ทำไม่ดีหนึ่งอย่าง, คนนั้นเติมเต็มหน้าที่ของเขาร้อยครั้ง, แต่มีการละเมิดหนึ่งครั้งในประวัติ  เราจะคิดอย่างไรกับนายจ้างที่จ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้าง ๑๐๐ ครั้ง, แต่หลังจากนั้นไม่จ่าย, เนื่องจากความดีงามที่เขาคิดว่าได้สะสมมาได้จ่ายไปแล้ว ๑๐๐ ครั้งที่ผ่านมา

 

ระบบพระคัมภีร์เป็นระบบที่มีความสัมพันธ์และมีบุคลิกภาพอย่างแท้จริง  ศีลธรรมในแง่บวกหรือในแง่ลบไม่สามารถแยกออกจากความสัมพันธ์ที่ถือว่าเป็นเพียงแค่ “แต้ม” ได้  มันเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทั้งหมด บัญญัติของพระคัมภีร์ไบเบิลได้สรุปไว้ในสองคำบัญชา– คือ รักพระเจ้าและรักมนุษย์ การปฏิเสธศีลธรรมต่างๆ ก็คือการกบฏต่อบุคคลนั้น– คือพระเจ้าผู้สร้างชีวิตและผู้ที่ตั้งมาตรฐานตามลักษณะสมบูรณ์แบบของพระองค์เองสำหรับอะไรที่ถูกและอะไรที่ผิด-- การที่กบฎต่อพระเจ้าโดยการละเมิดมาตรฐานของพระองค์ในทางใดก็ตามเป็นสิ่งที่ไบเบิลหมายถึงโดยการใช้คำว่า “บาป” ความบาปไม่ได้ประกอบด้วยการทำสิ่งที่ไม่ดีเท่านั้น, แต่รวมถึงการละเว้นการทำความดีที่ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของเราที่ควรจะทำ การที่ปฎิเสธและเมินเฉยพระเจ้า เป็นการใช้ชีวิตโดยปราศจากมาตรฐานที่มีสิทธิอำนาจ มันคือความบาปที่ขจัดความจริงเกี่ยวกับพระเจ้า ไม่ให้เกียรติและคำสรรเสริญที่ซึ่งพระองค์ควรจะได้รับ พระเจ้าต้องการเราที่จะคืนดีกับพระองค์ พระองค์ต้องการพวกเราที่จะยอมรับและสารภาพบาปของเราเองและขอพระองค์ที่จะทรงชำระเรา เราจะคืนดีกับพระเจ้าได้อย่างไร?

 

พระบัญญัติมาก่อนและเช่นนี้ตระหนักให้เรารู้ถึงขอบเขตการละเมิดของเรา  เมื่อตะหนักถึงพระบัญญัติ, ก็นำมาถึงความเข้าใจในความรักของพระคริสต์, ผู้ซึ่งไร้ความผิดที่ได้ตายบนไม้กางเขนเพื่อบาปของเรา ด้วยการตระหนักนั้นมาถึงการยอมจำนนต่อองค์พระเยซูคริสต์  “เพราะฉะนั้น พระราชบัญญัติจึงเป็นครูของเราซึ่งนำเรามาถึงพระคริสต์ เพื่อเราจะได้เป็นคนชอบธรรมโดยความเชื่อ” (กาลาเทีย ๓:๒๔) จากสิ่งต่างๆที่เคยเป็น “หน้าที่” กลับกลายมาเป็นสิ่งต่างๆ ที่เราทำด้วยความยินดี: “เราไม่เรียกท่านทั้งหลายว่าทาสอีก เพราะทาสไม่ทราบว่านายของเขาทำอะไร แต่เราเรียกท่านว่ามิตรสหาย เพราะว่าทุกสิ่งที่เราได้ยินจากพระบิดาของเรา เราได้สำแดงแก่ท่านแล้ว” (ยอห์น ๑๕:๑๕)

 

ในอีกด้านหนึ่ง, ที่จะรับเอาศีลธรรม, แต่ปฏิเสธพระเจ้า ก็เป็นเหมือนการปฏิเสธที่จะขึ้นเรือที่จะข้ามมหาสมุทรและพยายามที่จะว่ายน้ำในระยะทางอันแสนจะสุดไกลโพ้น  พระคัมภีร์ไบเบิลอธิบายถึงบุคคลเช่นนั้นว่าเป็นคนที่ถูกสาปแช่ง, เพราะว่าพวกเขาพึ่งพาความสามารถต่างๆของพวกเขาเองและไม่ได้พึ่งพาพระเจ้า: “เพราะว่าคนทั้งหลายซึ่งพึ่งการประพฤติตามพระราชบัญญัติก็ถูกสาปแช่ง เพราะมีคำเขียนไว้ว่า ‘ทุกคนที่มิได้ประพฤติตามทุกข้อความที่เขียนไว้ในหนังสือพระราชบัญญัติก็ถูกสาปแช่ง’” (กาลาเทีย ๓:๑๐) เมื่อความเชื่อของเราอยู่ที่พระคริสต์ การละเมิดต่างๆที่ติดตัวเราก็ถูกตรึงที่กางเขนแล้ว

 

ในโลกเรานี้มีบุคคลที่มีรูปแบบที่มีความสัมพันธ์ได้อยู่, แต่ในพระไตรปิฏกไม่ได้รับรองว่าจักรวาลนี้ได้เริ่มต้นด้วยผู้หนึ่งที่มีรูปร่างที่มีความสัมพันธ์ได้  สิ่งหนึ่งที่มีความสัมพันธ์ได้จะสามารถมาจากสิ่งหนึ่งที่ไม่มีความสัมพันธ์ ได้หรือ?  มองดูก้อนหินเป็นตัวอย่าง  ก้อนหินเป็นสิ่งที่ไม่มีความสัมพันธ์ จะสามารถมีบุคคลที่มีบุคลิกภาพและความสัมพันธ์ได้ มาจากก้อนหินที่ไม่มีบุคลิกภาพและไม่มีความสัมพันธ์ได้อย่างไร?

 

มากไปกว่านี้, ศีลธรรมเป็นลักษณะที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ต่างๆ (หินไม่มีศีลธรรม), และนอกจากนั้น กรรมได้ถูกเรียกว่าเป็นพลังอำนาจที่ไม่ได้เป็นบุคคลและไม่มีความรู้สึกนึกคิด  John Jones ได้สรุปรวมสภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกนี้ :“ศีลธรรมของผลที่ตามมาของกรรมนั้นดูราวกับเป็นปัญหาลักษณะของสิ่งที่ไม่มีบุคลิกภาพและไม่มีความสัมพันธ์อย่างชัดเจนของกระบวนการกรรม เพราะว่า, ถ้านี่เป็นกระบวนการเกี่ยวกับศีลธรรม, ประเภทเดียวของศีลธรรมที่ซึ่งเรามีหลักฐานจากการทดลองหรือสังเกตเป็นศีลธรรมที่เกี่ยวข้องกับบุคลิกภาพ โดยเหตุฉะนั้น มีการขัดแย้งกันระหว่างลักษณะที่ไม่มีบุคลิกภาพและไม่มีความสัมพันธ์ของกรรม และลักษณะศีลธรรมของกรรม” (Jones, ๓๗)

 

ที่สุดของที่สุด ทุกๆบาปที่ได้กระทำนั้น เราได้ทำต่อพระเจ้า (สดุดี ๕๑:๔), เพราะว่าพระเจ้าเป็นเจ้าของทุกชีวิตทุกคนในโลก  โดยเหตุนั้น เมื่อผู้คนทำบาปต่อคนหนึ่ง พวกเขาได้ทำบาปต่อคนของพระเจ้า  ดั่งที่บิดาอาจขุ่นเคืองใจถ้าเด็กๆของเขาได้มีผู้คนกระทำบาปต่อเด็กๆของเขา, เช่นนั้น เมื่อเราทำบาปต่อผู้อื่นเราได้ทำบาปต่อพระเจ้า  และ, เพราะว่าทุกๆ ความบาปที่ได้กระทำนั้น เราได้กระทำต่อพระเจ้า, เพราะฉะนั้นมีเพียงพระเจ้าเท่านั้นที่จะมีสิทธิที่จะให้อภัยบาปของเรา  เพราะว่าพระเจ้าดีพร้อมสมบูรณ์แบบ, มีเพียงพระองค์เท่านั้นที่มีสิทธิที่จะบอกเราว่าอะไรถูกอะไรผิด  เราสามารถพูดได้ว่าพระเจ้าเป็นเจ้าของชีวิตมนุษย์, ศีลธรรม, และการให้อภัย อย่างที่เราไม่สามารถเข้าไปในบ้านโดยที่ไม่รู้จักเจ้าของบ้าน, เราไม่สามารถเข้าใจผู้คน, ศีลธรรม, หรือการให้อภัย อย่างถูกต้อง ถ้าปราศจากพระเจ้า

 

  1. ถ้าอนัตตาเป็นจริง (ไม่มีตัวตน) ใครเป็นผู้ตัดสินว่าถูกหรือผิด?

 

Walpola Rahula, ใน “What the Buddha Taught” ได้เขียนว่า, “...พระพุทธเจ้าปฏิเสธโดยสิ้นเชิง, ในคำศัพท์ที่แน่นอนมั่นคง, ในมากกว่าหนึ่งสถานที่, ในการคงอยู่ของ อาตมัน, จิตวิญญาณ, ตนเอง, หรืออีโก้ภายในคนหรือภายนอก, หรือทุกหนทุกแห่งในจักรวาลนี้” (Rahula, ๕๖-๕๗) ทั้งๆที่คำสอนเกี่ยวกับอนัตตา (ไม่มีตนเอง), ตนเองยังถูกตั้งไว้เป็น “ที่ลี้ภัย” ศาสนาพุทธพูดว่า “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน”  ในปีคริสต์ศักราช ๑๙๕๐, ที่ซึ่งเขายังไม่ได้เป็นนายกรัฐมนตรีแห่งซีลอน, S.W.R.D. Bandaranaike, ได้ประกาศต่อหน้าองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก ว่าคนเป็นอิสระที่จะตัดสินใจด้วยตัวเองในเรื่องที่ว่าอะไรถูกและผิด, โดยไม่ได้อ้างถึงพระประสงค์ของพระเจ้า... “พระพุทธเจ้าเทศน์ในเรื่องความอิสระถึงที่สุดของคนเมื่อความคิดของมนุษย์ไม่จำเป็นต้องอยู่ใต้อำนาจของพระประสงค์ของพระเจ้า, และคนเป็นอิสระที่จะติดใจด้วยตัวเขาเองว่าอะไรถูกและอะไรผิด...” (Swearer, ๑๑๗)

 

ด้วยหลักปรัชญาแบบนี้, เขาคงไม่แปลกใจเลยที่หลังจากสามปีที่เขาได้รับเลือกตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี, คนหนึ่งได้ตัดสินใจด้วยตัวเองว่าอะไรถูกโดยการยิงและทำให้เขาบาดเจ็บสาหัสถึงตาย (เขาถูกเลือกตั้งในปีคริสต์ศักราช ๑๙๕๖ และถูกลอบสังหารในปีคริสต์ศักราช ๑๙๕๙) คนหนึ่งนั้นไม่ใช่ทมิฬฮินดู, ผู้ซึ่งรัฐบาลของเขาได้ทำให้ไม่มีความสำคัญ, แต่เป็นชาวพุทธด้วยกัน, ผู้ที่ซึ่งเป็นพระ เขาได้แค่ตามคำแนะนำของ Bandaranaike เท่านั้นและตัดสินใจด้วยตัวเอง

 

ศาสนาพุทธโดยปกติไม่สนับสนุนความรุนแรงหรือการผิดศีลธรรม, แต่มันได้สร้างช่องว่างในผู้คน, ที่สิ่งยึดเหนี่ยวได้ถูกถอดออก, และ “ตัวเอง” ได้กลายเป็นศูนย์กลาง  การประชุมใหญ่ครั้งแรกของพุทธเถรสมาคมโลก ในปีคริสต์ศักราช ๑๙๘๑ ได้มีคำแถลง “ไม่ว่าเถรวาทหรือมหายาน, เราไม่เชื่อว่าโลกนี้ถูกสร้างและปกครองโดยพระเจ้าตามพระประสงค์ของพระองค์”  ในปีคริสต์ศักราช ๑๙๘๑, ถ้อยแถลงได้พูดด้วยว่า: “...ไม่มีอะไรที่เที่ยงแท้, ยั่งยืนถาวร และ ชั่วกัลปาวสานในจักรวาลนี้” (http://en.wikipedia.org/wiki/Basic_Points_Unifying_the_Therav %C4%81da_and_the_Mah%C4%81y%C4%81na | & | http://th.wikipedia.org/wiki/หลักพื้นฐานที่เถรวาทและมหายานมีร่วมกัน)

 

ในการที่พูดว่าไม่มีพระเจ้าและที่ว่า, “...ไม่มีอะไรเที่ยงแท้, ยั่งยืนถาวร และ ชั่วกัลปาวสานในจักรวาลนี้,” มันถูกวางทิ้งบนรากฐานที่อ่อนแอมาก ที่ซึ่งสร้างระบบต่างๆของศีลธรรม

 

ในท่ามกลางของระบบชาวพุทธที่ไม่ได้เป็นบุคคลและไม่มีความรู้สึกนึกคิด ผู้คนยังคงกระหายในการติดต่อกับสิ่งที่เป็นบุคคลและมีความรู้สึกนึกคิดด้วยโลกเกี่ยวกับวิญญาณ  น่าเสียดายยิ่งนัก, นี่นำไปสู่การบูชารูปเคารพหลายครั้ง  แต่การบูชารูปเคารพขัดแย้งกับเป้าหมายโดยผ่านการสนับสนุนในส่วนของสิ่งที่ไม่ใช่รูปแบบของบุคคลและไม่มีความรู้สึกนึกคิดด้วยการแลกเปลี่ยนกับสิ่งสำคัญ  การบูชารูปเคารพเปรียบเหมือนการเป็นหญิงโสเภณีในพระคัมภีร์ไบเบิล  การหากินเป็นหญิงโสเภณีเป็นเหมือนกับการเอาบางสิ่งที่เป็นแบบส่วนตัวมาก เปลี่ยนไปสู่การซื้อขายทางธุรกิจของสองบุคคลที่ใช้ซึ่งกันและกันเหมือนเป็นสิ่งของ  การบูชารูปเคารพได้สนับสนุนการใช้บางสิ่งหรือคนหนึ่งมากกว่าที่จะมีความสัมพันธ์ส่วนบุคคลและความสัมพันธ์ด้านความรัก “ประชาชนของเราไปขอความเห็นจากสิ่งที่ทำด้วยไม้ และไม้ติ้วก็แจ้งแก่เขาอย่างเปิดเผย เพราะจิตใจที่ชอบเล่นชู้นำให้เขาหลงไป และเขาทั้งหลายได้ละทิ้งพระเจ้าของเขาเสียเพื่อไปเล่นชู้ เขาถวายสัตวบูชาอยู่ที่ยอดภูเขาและทำสักการบูชาเผาอยู่ที่เนินเขา ใต้ต้นโอ๊ก ต้นไค้และต้นเอ็ลม์ เพราะว่าร่มไม้เหล่านี้เย็นดี เพราะฉะนั้นธิดาทั้งหลายของเจ้าจึงจะเล่นชู้และเจ้าสาวทั้งหลายจึงจะล่วงประเวณี” (โฮเชยา ๔:๑๒-๑๓)

 

เราไม่สามารถตัดสินด้วยตัวเราเองที่ว่าอะไรถูกหรือผิดดั่งที่อดีตนายกรัฐมนตรีของซีลอนได้ประกาศ  บางครั้ง กฎหมายของแผ่นดินพวกเขานั้นผิดศีลธรรม,  อย่างเช่นกฎหมายบางข้อในเยอรมันช่วงระบบปกครองของฮิตเลอร์  ในกรณีนี้กฎหมายของประเทศแสดงเหมือนกับตำรวจที่ทรยศ, โดยเรียกร้องในเรื่องผิดศีลธรรมหรือห้ามสิ่งที่ถูกศีลธรรม  ศาสนาพุทธตัวมันเองก็คล้ายกับตำรวจที่ทรยศ, เพราะว่ามันเป็นการตั้งกฎขึ้นมาเองโดยไม่มีสิทธิอำนาจที่จะทำ

 

ระบบต่างๆที่มองข้ามพระเจ้า, ในท้ายที่สุดแล้ว ศีลธรรมก็จำต้องถูกวางไว้บนความเห็นของมนุษย์เพียงอย่างเดียว  นี่เป็นสภาพของศาสนาพุทธ  อาจารย์หลายคนอาจจะสนับสนุนอุดมคติใจบุญมีใจเมตตาอย่างสูงส่ง, แต่สิ่งเหล่านั้นเป็นเพียงแค่ความคิดเห็นที่ไม่มีสิทธิอำนาจที่จะสนับสนุนมัน  เพราะว่าการขาดสิทธิอำนาจนี้ อาจารย์บางคนไม่ได้เน้นความสำคัญแก่ศีลธรรม, ถึงจะพูดถึงศีลธรรมอย่างน้อยก็ไม่ใช่ศีลธรรมที่มีสิทธิอำนาจแบบเด็ดขาด:

 

“...[Shunryu] Suzuki-roshi ปฏิเสธที่จะสร้างหลักเกณฑ์เกี่ยวกับศีลธรรมแก่นักศึกษาของเขา, ชี้แจงเหตุผลที่ว่าหลักศีลธรรมขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละวัฒนธรรม  กฎเกณฑ์แบบนี้, เขากล่าว, ควรจะถูกพัฒนาทีละเล็กทีละน้อยผ่านช่วงเวลาแห่งการทดลองและข้อผิดพลาด...” (Robinson, ๓๐๔) เหมือนกับอาจารย์ในพุทธศาสนานิกายเซ็นได้กระทำไป, อาจารย์ชาวพุทธธิเบตก็ลดความสำคัญของศีลธรรมด้วย: Trungpa ได้มองรูปแบบของศีลธรรมเป็นส่วนหนึ่งของ ‘ระเบียบแบบแผนที่ยุ่งยากของตัวเอง’ ที่การทำสมาธิมีเจตนาไปสู่การล้มล้างระเบียบนั้น... การเขียนของ Trungpa... เป็นที่นิยมอย่างมากเลยทีเดียว, และการปฏิเสธรูปแบบศีลธรรมอย่างตรงไปตรงมาของเขาขึ้นชื่อโด่งดัง” (Robinson, ๓๐๔-๓๐๕)

 

ในกรณีทั้งสองด้านบนนี้, ผลลัพธ์นั้นทำนายได้: “Suzuki-roshi ตายในปี ๑๙๗๑ และ Chogyam Trunga ในปี ๑๙๘๗ ทายาทของพวกเขาได้ถูกแต่งตั้งให้เป็นผู้สืบทอดธรรมะชาวอเมริกันไม่นานก่อนพวกเขาเสียชีวิต; ทายาททั้งคู่ของทั้งสองได้มีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องอื้อฉาวทางเพศอย่างรวดเร็วและในที่สุดถูกถอดทอนออกจากการแต่งตั้งในองค์กรของเขา  ต่อมาเรื่องอื้อฉาวทำนองเดียวกันใน นิกายเซ็น, นิกายซอน, และศูนย์ทิเบต, รวมทั้งชาวเอเชียด้วย เช่นเดียวกับ อาจารย์ชาวอเมริกัน, ให้เห็นโดยชัดเจนว่า สิ่งนี้ไม่ได้เกิดขึ้นที่เดียว แต่ปรากฏบ่อยครั้งจนเป็นรูปแบบหนึ่งของเรื่องปกติ...” (Robinson, ๓๐๖)

 

ที่เขาได้สอนว่าไม่มีตัวตน (ไม่มีคนยืนยงถาวรที่จะรับรางวัลหรือลงโทษในการกระทำของเขา), แต่เขาสอนว่ามีการเกิดใหม่,ศากยมุนีพุทธเจ้า(พระพุทธเจ้า) มีความเชื่อใจว่าจักรวาลนั้นไม่ใช่ไร้ศีลธรรม เกี่ยวกับความเชื่อใจของพระพุทธเจ้าที่ว่าจักรวาลนี้มีศีลธรรม, Jones ได้สรุปว่า: “เขาไม่สามารถที่จะอ้างว่าการเชื่อใจนี้มีพื้นฐานดีในส่วนการสอนของเขาที่ตามเหตุผลและการวิเคราะห์ ; จริงๆ, ผมนึกว่ามันไม่แรงเกินไปที่จะพูดว่ามีการขัดแย้งกันแบบ ไม่มีความหวังที่จะเป็นไปได้ที่จะเชื่อมกันระหว่างทั้งสองนี้” (Jones, ๓๖)

 

นักปรัชญาคริสเตียน Francis Schaeffer เขียนว่า “ถ้าคุณเริ่มด้วยสิ่งที่ไม่มีบุคลิกภาพและไม่มีความสัมพันธ์, แม้ว่าคุณจะใช้คำพูดอย่างไรก็ได้เกี่ยวกับสิ่งที่ไม่มีบุคลิกภาพและไม่มีความสัมพันธ์, แต่มันไม่มีความหมายสำหรับศีลธรรม” (๓๗), Schaeffer เขียนไว้ด้วยว่า: “เราควรจะเข้าใจในจุดนี้ว่าเพลโตนั้นถูกต้องอย่างที่สุด  เขาถือว่า คุณไม่มีศีลธรรม นอกจากคุณมีจุดที่แน่นอนนี่เป็นคำตอบที่สมบูรณ์ของสถานการณ์กลืนไม่เข้าคายไม่ออกของเพลโต,  เขาใช้เวลาของเขาในการหาสถานที่ที่เป็นรากฐานจุดที่แน่นอนของเขา, แต่เขาไม่สามารถที่จะทำได้เพราะเทพต่างๆของเขานั้นไม่เพียงพอ แต่นี้คือพระเจ้าผู้มีลักษณะแบบบุคคลที่มีบุคลิกภาพและมีความสัมพันธ์อย่างไม่มีที่สิ้นสุด

พระเจ้าผู้ซึ่งมีลักษณะที่ซึ่งสิ่งชั่วร้ายทั้งปวงได้แยกออกไปและที่ซึ่งลักษณะของพระองค์เป็นศีลธรรมที่แน่นอนของจักรวาล” (๔๒)

 

สถานการณ์ของเพลโตคล้ายคลึงกับของพระพุทธเจ้า  ที่ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ปฏิเสธพระเจ้าที่แน่นอนและมีลักษณะบุคลิกภาพและมีความสัมพันธ์ได้ และด้วยเหตุนี้ไม่สามารถพิสูจน์ความถูกต้องความเชื่อใจของเขากับสิ่งที่เรียกว่าศีลธรรม  กรรมที่ไม่ใช่ในรูปแบบบุคลิกภาพและไม่มีความสัมพันธ์ ไม่สามารถอธิบายถึงศีลธรรมที่ใช้สำหรับบุคคลที่มีบุคลิกภาพและมีความสัมพันธ์ได้  โลกที่เราอยู่นั้นมหัศจรรย์ที่เต็มไปด้วยลักษณะที่ใช้ร่วมกันอย่างเหมาะสมในตัวของมันเองในทางที่ไม่สามารถมาได้โดยการสุ่ม, และสิ่งที่ไม่มีบุคลิกภาพและไม่มีความสัมพันธ์ตั้งแต่แรกเริ่ม

 

ต้นไม้และพืชคายออกซิเจนและรับคาร์บอนไดออกไซด์  คนและสัตว์ทำตรงกันข้าม  กระเพาะของเราสามารถที่จะย่อยและใช้เป็นอาหารตามที่เราหาได้รอบๆตัวเรา  เรามีดวงตา, และสามารถใช้ตอบรับแสงตามส่วนจำเป็นที่ต้องใช้  สัญชาตญาณการอพยพย้ายถิ่นของนกตรงกับสภาพของภูมิประเทศของโลกเราที่ได้วางแบบไว้  เราก็มีประสาทสัมผัสของศีลธรรมที่ซึ่งติดมากับลักษณะของมนุษย์เรา, ที่ซึ่งวิวัฒนาการหรือจากการเริ่มจากสิ่งที่ไม่ใช่ลักษณะบุคลิกภาพและไม่มีความสัมพันธ์ ไม่สามารถอธิบายได้  ศีลธรรมของมนุษย์นั้นแตกต่างจากสิ่งที่เราเห็นในโลกของสัตว์  สัตว์ไม่จำเป็นต้องมีตำรวจ, ศาลพิพากษาหรือเรือนจำ  มันจะเป็นเรื่องน่าหัวเราะที่จะยัดเยียดศีลธรรมให้แก่สัตว์  มันก็คงน่าหัวเราะเหมือนกันที่จะปล่อยศีลธรรมไปสำหรับมนุษย์หรือสร้างศีลธรรมเอง  พวกเราถูกสร้างมาให้เป็นคนที่มีศีลธรรม มีเพียงแค่พระเจ้าเท่านั้นที่มีสิทธิอำนาจและปัญญาอย่างแท้จริง ที่จำเป็นบอกเราว่าอะไรถูกอะไรผิด

 

ในการอ่านบทความอันหลายหลากจากวารสารทางพระพุทธศาสนา, เว็บไซด์และหนังสือ, มีทฤษฏีหลากหลายของศีลธรรมที่ซึ่งถูกเสนอสำหรับศาสนาพุทธ  ชาวพุทธสามารถเสนอระบบอันหลากหลายเพื่อทำให้เป็นคนดี, แต่ท้ายที่สุดแล้วสิ่งที่คำจำกัดความของคำว่าดีในระบบนั้นเป็นเพียงแค่ความคิดเห็นของมนุษย์  ศีลธรรมในบุคคลที่มีบุคลิกภาพและมีความสัมพันธ์ไม่สามารถมาจากพลังงานที่ไม่มีบุคลิกภาพและไม่มีความสัมพันธ์  ชาวพุทธ, ผู้ซึ่งคือบุคคลที่มีบุคลิกภาพและมีความสัมพันธ์ ได้แต่งศีลธรรมขึ้นมาเองศีลธรรมที่แต่งขึ้นมาเองนั้นไม่ได้ถือสิทธิอำนาจที่เหนือที่สุดเลยและมันไม่ได้อธิบายถึงผู้ทรงสร้างของเราผู้ที่ซึ่งมีสิทธิอำนาจในการสอนพวกเราว่าอะไรเป็นสิ่งที่ดี

 

  1. 4. คุณรู้ไหมอะไรที่พระพุทธเจ้าสอนเกี่ยวกับผู้หญิง?

 

ตามพระไตรปิฎก, มีการกล่าวว่าคนหนึ่งสามารถเกิดมาเป็นผู้หญิงในชีวิตหนึ่งและเป็นผู้ชายในอีกชีวิตหนึ่ง  แต่, ไม่มีสักเรื่องราวในชีวิตต่างๆมากกว่า ๕๐๐ ชีวิตของพระพุทธเจ้า หรือไม่มีที่ใดในพระไตรปิฎก, ที่ศักยามุนีปรากฏเป็นผู้หญิง  Jones เขียนว่า, “มันเป็นข้อมูลที่น่าประหลาดใจที่เดียวที่สุด, โดยแม้ว่าความหลากหลายอย่างมากของรูปแบบต่างๆซึ่งพระโพธิสัตว์ได้กลายเป็น, เขาไม่เคยปรากฏแม้แต่ครั้งเดียวเป็นผู้หญิงหรือแม้กระทั่งสัตว์เพศเมีย แม้กระทั่งเขาปรากฏเป็นวิญญาณต้นไม้หรือเทพยดา, ก็ยังเป็นเพศชายตลอด” (๒๐)  เพื่อนสนิทของเขา ชื่อพระอานนท์, ผู้ซึ่งปรากฏในชีวิตของเขาหลายครั้ง, ก็ปรากฏเป็นผู้หญิงเพียงครั้งเดียว (Jones, ๑๑๓)

 

 ยิ่งไปกว่านั้น, Jones เทียบเคียงที่จะได้เห็นความตรงข้ามอย่างชัดเจนระหว่างหลักคำสอนของนิทานชาดกที่ว่าด้วยชีวิตต่างๆของพระพุทธเจ้ากับพระไตรปิฎกโดยทั่วไปว่า: “แต่ทว่า, อิทธิพลเสื่อมเสียของผู้หญิงชั่วร้ายเป็นปกติในนิทานชาดก, ผู้หญิงดีงามก็เหมือนเป็นข้อยกเว้นที่มีเพียงเล็กน้อยซึ่งแสดงให้เห็นถึงข้อบังคับหลักที่เต็มไปด้วยอิทธิพลเสื่อมเสียของผู้หญิงชั่วร้าย, ความเป็นไปได้ของเพื่อนในการที่จะกลายมาเป็นอิทธิพลที่เสื่อมเสียเป็นสิ่งห่างไกลที่ไม่ค่อยจะเอ่ยถึง  ท่าทีของพระไตรปิฎกแตกต่างจากนิทานชาดก  นี่นั่น, ไม่มีข้อสงสัยว่า, เรื่องเพศและชีวิตสมรสเป็นสิ่งเลวร้าย, ความรักและมิตรภาพเป็นสิ่งเลวร้ายด้วย, เนื่องด้วยสิ่งเหล่านี้ทำให้คนหนึ่งเกี่ยวข้องในการผูกมัดและอารมณ์ที่เจ็บปวดส่วนตัว (หรือความเป็นไปได้ที่จะเจ็บปวด)  ความรักเดียวซึ่งพระไตรปิฎกสามารถอวยพรได้ก็คือ ความรักเงียบสงบที่ไม่ผูกติดและทั่วไป; นั่นคือ “ความคิดแบบมิตรที่ไร้ขอบเขตสำหรับทุกสรรพสิ่งที่มีชีวิต” (๑๑๕)

 

กล่าวถึงหนึ่งในผู้หญิงที่ดีงามเหล่านั้น, Jones เขียนว่า “สิ่งที่หายากในนิทานชาดก, ผู้หญิงดีงาม, เป็นหนี้คุณงามความดีของเธอต่อผลบุญที่ได้รับมาในชาติก่อน- ที่เป็นผู้ชาย” (๔๓)  ในพระไตรปิฎก, การพูดถึงผู้หญิงไม่ได้ดีกว่านิทานชาดกเลย: “...อย่างไรก็ตาม, ผู้หญิงไม่เคยเหนื่อยในกิจกรรมทางเพศและมีลูก(GS I 72) และพวกเขาไม่เคยนั่งในศาลหรือทำธุรกิจเพราะว่า ‘พวกเขาไม่สามารถควบคุมตัวเองได้, มีความอิจฉา, มีความโลภ และอ่อนในสติปัญญา’ (GS II 92f) ” (Jone, ๗๘)

 

เกี่ยวกับการสถาปนาระบบระเบียบสำหรับแม่ชี, Jones เขียนว่า “เมื่อพระอานนท์เกลี้ยกล่อมโคตมพุทธเจ้า(พระพุทธเจ้า)สำเร็จ ที่จะอนุญาตให้แยกคณะสำหรับผู้หญิง, เขาถูกรายงานว่าเขาเศร้าโศกเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่ เขากล่าวว่า, มันจะแบ่งครึ่งระยะเวลาสำหรับพระธรรม16(คำสอนศาสนาพุทธ) ที่จะได้รับการสงวนไว้ในรูปแบบที่บริสุทธิ์” (Jones, 77; GS IV 184f) ในพระวินัยปิฎก คำทำนายคล้ายๆกันนี้ได้ถูกกล่าวโดยศักยามุนี, เมื่อเขากล่าวแก่พระอานนท์: “พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ ก็ถ้าสตรีจักไม่ได้ออกจากเรือนบวช เป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว พรหมจรรย์จักตั้งอยู่ได้นาน สัทธรรมจะพึงตั้งอยู่ได้ตลอดพันปี ก็เพราะสตรีออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว บัดนี้ พรหมจรรย์จักไม่ตั้งอยู่ได้นาน สัทธรรมจักตั้งอยู่ได้เพียง ๕๐๐ ปีเท่านั้น” (พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗  พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒)  http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=07&A=6253&Z=6271

 

โดยเหตุที่ ผู้หญิง “ออกเรือนบวช” และห้าร้อยปีได้ผ่านมาแล้ว, คำถามก็เกิดขึ้น, ข้อความของพระไตรปิฎกข้างบนที่กล่าวมาเป็นเท็จ, หรือมันเป็นจริงที่ว่า “พระธรรมที่แท้จริง” จะยืนยาวเพียงห้าร้อยปีเท่านั้นหรือ? ถ้าเรากล่าวว่ามันเท็จ, นั่นก็แสดงว่ามีความเท็จในพระไตรปิฎก  ถ้าเราจะกล่าวว่ามันเป็นจริง, มันก็ยังเท็จอยู่ดี, เนื่องจากห้าร้อยปีได้ผ่านไปแล้ว, และด้วยเหตุนี้ “พระธรรมที่แท้จริง” คงผ่านพ้นไปแล้ว  ในข้อความเดียวกัน, พระพุทธเจ้าได้เปรียบเทียบอิทธิพลของผู้หญิงกับเชื้อราชนิดหนึ่ง: “...พระอานนท์, เมื่อโรคภัยอย่างที่รู้จักกันคือเชื้อราโจมตี ทำลายนาข้าวทั้งหมด นาข้าวนั้นจะไม่อยู่นาน, เหมือนกับว่า, พระอานนท์, ในพระธรรมและวินัยอะไรก็ได้ ที่ผู้หญิงได้ออกเรือนบวช... พรหมจรรย์นั้นจักไม่ตั้งอยู่ได้นาน (๓๕๖)

 

ในข้อความข้างบนนี้ด้วย (Book of Discipline V), ครุธรรม ๘ ประการ สำหรับอนุญาตให้ผู้หญิงมีส่วนร่วม, ได้ถูกกล่าวไว้อย่างชัดเจน ท่ามกลางครุธรรมนี้, มีสองข้อ, ซึ่งได้เน้นถึงบทบาทที่เป็นรองของผู้หญิงต่อผู้ชายในพุทธศาสนา: “๑. ภิกษุณีอุปสมบทแล้ว ๑๐๐ ปี ต้องกราบไหว้ ลุกรับ ทำอัญชลีกรรม สามีจิกรรม แก่ภิกษุที่อุปสมบทในวันนั้น” ; “๗. ภิกษุณีไม่พึงด่า บริภาษภิกษุ โดยปริยายอย่างใดอย่างหนึ่ง”  (http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=7&A=6195&Z=6252&pagebreak=0)

 

แทนที่ของการกบฎต่อความคิดทางพุทธศาสนา, ผู้หญิงหลายคนในสังคมพุทธศาสนายอมรับถึงสถานะอันต่ำกว่าว่าเป็นดั่งบางสิ่งที่พวกเขาสมควรได้รับที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของกรรมที่นึกเอาว่าจากชาติก่อน  Cleo Odzer, ในหนังสือ “Buddism and Abortion,” เขียนว่า, “โดยพื้นฐานแล้ว, ผู้หญิงในประเทศไทยมีคุณค่าด้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ชาย, เป็นสถานการณ์ที่ถูกสนับสนุนโดยพุทธศาสนา...” (๓๓), และในการสำรวจผู้หญิงบริเวณสลัมกรุงเทพ, ก็ค้นพบว่า “ส่วนใหญ่, พวกผู้หญิงยอมรับถึงโชคชะตาของพวกเธอในความเชื่อชาวพุทธว่าพวกเธอ‘เกิดมาเป็นผู้หญิงก็เพราะว่ามีกรรมที่ไม่ดีหรือขาดคุณงามความดีที่ดีพอ’” (๓๕)

 

ในพระคัมภีร์ไบเบิล ผู้หญิงไม่ได้ถูกมองว่าเป็น “เชื้อรา”, ที่ขาดความสามารถในการทำธุรกิจ, หรือสถานะภาพด้อยกว่าผู้ชายหนุ่มๆ,  เป็นสาเหตุแห่งการที่ผู้ชายเป็นมลทิน, และสมควรได้รับความทุกข์ยากอย่างที่พวกเขาจะเผชิญ  ผู้หญิงและผู้ชายต่างมีบทบาทและความรับผิดชอบที่ต่างกันในพระคัมภีร์ไบเบิล, แต่ว่ามรดกสำหรับผู้เชื่อในระบบการจัดการของพระเจ้าคือเท่าเทียมกัน: “เพราะเหตุว่า ทุกคนในพวกท่านที่รับบัพติศมาเข้าร่วมในพระคริสต์แล้ว ก็ได้สวมชีวิตพระคริสต์ จะไม่เป็นยิวหรือกรีก จะไม่เป็นทาสหรือไทย จะไม่เป็นชายหรือหญิง เพราะว่าท่านทั้งหลายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในพระเยซูคริสต์ และถ้าท่านเป็นของพระคริสต์แล้ว ท่านก็เป็นเชื้อสายของอับราฮัม คือเป็นผู้รับมรดกตามพระสัญญา” (กาลาเทีย ๓:๒๗-๒๙)  ในพระธรรมสุภาษิต บทที่ ๓๑, ซึ่งเขียนโดยพระมารดาของกษัตริย์เลมูเอลว่า สตรีที่ประเสริฐก็ได้รับการยกย่องสำหรับความฉลาดในการทำธุรกิจ, ถูกสวมใส่ด้วยกำลังและเกียรติ, มีถ้อยคำแห่งสติปัญญาที่ริมฝีปาก, และได้รับความไว้วางใจจากสามีของเธอ

 

 

  1. 5. คุณรู้ไหมว่าชีวิตของคุณนั้น มีค่าอย่างมาก?

 

ถ้าศักยามุนีได้ผ่านชีวิตมาแล้วเกือบนับไม่ถ้วนก่อนมาถึงชาติสุดท้าย, ทำไมศักยามุนีจึงตกใจกลัวในด้านของความตาย, ความยากจน, และอายุแก่เฒ่า, เมื่อท้ายที่สุดแล้วเขาได้ออกไปจากพระราชวังที่จะเห็นสิ่งนั้นด้วยตัวเขาเอง?  ถ้าเราอ้างนิทานชาดกเป็นจริงตามประวัติศาสตร์, เขาคงคุ้นเคยเลยทีเดียวกับทั้งปวงของความยากลำบากของชีวิตจริงเหล่านี้- ตามที่นิทานชาดกได้กล่าวไว้, บางครั้งเขาเป็นผู้ร่วมกระทำในด้านโหดร้ายของชีวิต “…ภายในกลุ่มนี้มีหนึ่งซึ่งพรรณนาถึงโพธิสัตว์10 ตัวเขาเองเป็นอยู่, ในทางหนึ่งหรือทางอื่น, พัวพันในการฆ่าหรือทำให้บาดเจ็บ  ชาดกที่เกี่ยวข้องคือ JSS 93, 128, 129, 152, 178, 233, 238, 246, 315, 319, 384” (โจนส์, ๖๑)   ท่ามกลางเรื่องราวชาดก ๕๔๗ ชาติ, เขาได้เคยเป็นนักปล้นสองครั้ง, นักพนันหนึ่งครั้ง, และงูยักษ์สองครั้ง (โจนส์, ๑๘-๑๙)  เขาคงจะคุ้นเคยด้วยกับการทนทุกข์ตามชาดกที่ ๕๓๘,ในสภาพที่เขาต้องใช้เวลาถึง ๘๐,๐๐๐ ปี ใน อุสสทนรก11 (โจนส์, ๔๓)  ดังนั้น ทำไมศักยามุนีจึงประหลาดใจมากด้วยความเป็นจริงแห่งความตายหรือความทุกข์, ราวกับว่าเขาไม่เคยประสบหรือเห็นสิ่งเหล่านี้มาก่อน?  คำตอบโดยทั่วไปสำหรับคำถามนี้ก็คือชาติก่อนต่างๆ นั้นจะต้องได้รับการจดจำในสภาพของการทำสมาธิ, เมื่อจิตใจเป็นอิสระจากภาวะจิตที่ว้าวุ่น, และมีความสามารถมากยิ่งขึ้นในการที่จะเอื้อมไปถึงระดับที่ลึกของความทรงจำนี้  แต่ว่าจิตใจจะมีการสะสมข้อมูลเช่นนั้นได้อย่างไรเมื่อจิตใจและทุกสิ่งของที่คนพูดกันว่าประกอบเข้าด้วยกัน (๕ ขันธ์) ว่าไม่สามารถรอดจากความตายได้? โดยแท้จริง, เรื่องราวอันนิยมของสละทางโลกของพระพุทธเจ้าไม่พบในพระไตรปิฎก

 

ในพระไตรปิฎก, พระพุทธเจ้าเมื่อยังเป็นทารก ได้ถูกกล่าวว่า ได้เดินอย่างตั้งตัวตรงและประกาศว่านั่นคือการเกิดครั้งสุดท้ายของเรา: “เราเป็นผู้เลิศในโลก, เราเป็นผู้เจริญที่สุดในโลกเราเป็นผู้ประเสริฐที่สุดในโลกการเกิดครั้งนี้เป็นการเกิดครั้งสุดท้าย” (ทีฆนิกาย, ฉบับภาษาอังกฤษ DII, หน้า ๑๒]  เด็กทารกจะพูดอย่างเป็นผู้ใหญ่ด้วยถ้อยคำสูงส่งเหล่านั้นได้อย่างไร ถ้าไม่มีวิญญาณถาวร? ตามคำสอนที่ไม่มีวิญญาณถาวร ปัญหาของอนัตตา (ไม่มีวิญญาณถาวร) ยังคงอยู่ ซึ่งตรงข้ามกับที่เด็กทารกพูดเหมือนมีวิญญาณถาวร

 

เกี่ยวกับคำสอนที่เข้ากันไม่ได้ระหว่างอนัตตาและการเกิดใหม่ ทิ้งให้คนไม่พอใจโดยไม่ได้ตามเหตุผล, ในขณะเดียวกันมีความพยายามจะปลอบใจสติรู้ผิดรู้ชอบด้วยศีลธรรมที่ประดิษฐ์ขึ้นมา: “เมื่อมีคำเสนอสองอย่างขัดแย้งกัน,  ทางแก้ไขที่เป็นไปได้ง่ายที่สุดก็คือ การไม่ใส่ใจอย่างหนึ่งในนั้น- ซึ่งที่ชาดกได้ทำอย่างเป๊ะๆ ไม่มีความขัดแย้งในชาดก ระหว่างคำสอนของอนัตตา (ไม่มีวิญญาณ) และคำสอนที่มีชีวิตหลายตอนของบุคคลคนเดียวกันเพราะว่าคำสอนของอนัตตาไม่ได้ถูกใส่ใจ” (โจนส์, ๓๙) ศักยามุนีไม่ต้องการปล่อยให้ศีลธรรมหายไป,  แต่ว่าระบบของเขาก็เป็นระบบหนึ่งที่นำผู้คนไปสู่ความขัดแย้ง, คนกระทำชั่วและคนกระทำดีทั้งสองได้ถูกพูดว่าไม่มีวิญญาณเชื่อมโยงระหว่างชีวิตหนึ่งไปยังอีกชีวิตหนึ่ง- และดังนั้น ผู้ที่ได้รับ “ผลใดๆ” ไม่สมควรที่จะได้ “รับ”มัน

 

เราควรคิดอย่างไรกับบางคนที่อ้างว่าได้เกิดใหม่?  Ian Stevenson, ผู้ซึ่งเป็นหนึ่งในสิทธิอำนาจลำดับต้นๆในวงความรู้การวิจัยเกี่ยวกับการเกิดใหม่/การกลับชาติมาเกิด ได้รายงานว่า: “ในประสบการณ์ของข้าพเจ้า, เกือบทั้งหมดของสิ่งที่เรียกว่าบุคลิกภาพต่างๆในชาติก่อนที่ถูกปลุกขึ้นมาผ่านทางการสะกดจิตเป็นการจินตนาการทั้งหมดและผลลัพธ์ของความกระหายของคนไข้ที่จะเชื่อฟังคำแนะนำของผู้สะกดจิต บางคนก็ตกใจกลัวสุดขีดโดยความทรงจำที่สมมุติของเขา, และในกรณีอื่นบุคลิกภาพที่อ้างว่าเป็นในชาติก่อนที่ถูกปลุกขึ้นมาจากการสะกดจิต ได้ปฏิเสธออกไปจากเขาเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน (Omni Magazine ๑๐ (๔): ๗๖ (๑๙๘๘))” (www.comparativereligion.com/reincarnation1.html)

 

Ernest Valea ชี้ว่าปรากฏการณ์นี้เรียกว่า “กลุ่มอาการของโรคแห่งความทรงจำปลอม” และ “ศาลแห่งกฎหมายรู้สิ่งเหล่านี้ว่าเป็นอันตรายและส่วนใหญ่ไม่ยอมรับคำพยานต่างๆที่กระทำขึ้นภายใต้การสะกดจิตหรือจากพยานต่างๆที่เคยถูกสะกดจิตมาก่อน” แล้วเกี่ยวกับกรณีอื่นๆ ล่ะ, ที่ซึ่ง “ความทรงจำ” ต่างๆไม่ได้รับการถูกปลุกขึ้นมาโดยการสะกดจิต? Valea นำความสนใจเราไปสู่กลุ่มคนที่มักจะเป็นเป้าหมายสำหรับสิ่งนี้: “เกือบทุกกรณีของคนที่ประสบความจำของชีวิตที่ผ่านมาที่เกิดขึ้นเอง โดยปรากฏในเด็กระหว่างอายุ ๒ ถึง ๕ ขวบ, เมื่อความสามารถในการเข้าใจทางวิญญาณของพวกเขาแทบจะไม่มี, โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับวิญญาณต่างๆ สถานการณ์เช่นนี้ทำให้พวกเขาง่ายต่อการที่จะมีอิทธิพลโดยวิญญาณต่างๆจากภายนอก เมื่อเด็กโตขึ้น, วิญญาณนั้นสูญเสียพลังแห่งอิทธิพลเหนือเขา, ซึ่งสามารถอธิบายได้ว่าทำไมความทรงจำในชาติที่ผ่านมาได้สูญไปหลังจากที่เขาอายุได้ ๑๐ ขวบ”

 

การเห็นถึงความเป็นไปได้ของวิญญาณต่างๆ จากภายนอกที่จะมาหลอกลวงในทางนี้, เราจะนึกเอาได้อย่างไรว่าพระสงฆ์หรือแม่ชีที่กำลังทำสมาธิจะได้รับการยกเว้นจากอิทธิพลภายนอกนี้?  การทำสมาธิจริงๆแล้วเป็นการเปิดประตูกว้างให้กับอิทธิพลเหล่านั้น  พระสงฆ์หรือแม่ชีอาจมีประสบการณ์กับหลายสิ่งในระหว่างการทำสมาธิของพวกเขาและนับสิ่งเหล่านั้นเป็นการยืนยันถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า เราสามารถนับว่านี่เป็นการยืนยันได้อย่างไรในเมื่อพวกเขาพยายามที่จะมี “ความทรงจำ” ต่างๆ ตั้งแต่แรก, และเมื่อประสบการณ์ต่างๆ เป็นไปตามเหตุผลของแต่ละบุคคลอย่างใหญ่หลวง? แม้ว่าคนนั้นสามารถเปิดเผยข้อมูลได้ ที่พวกเขาก็ไม่รู้โดยธรรมชาติ, ข้อมูลนี้เป็นบางสิ่งที่วิญญาณต่างๆภายนอกรู้ได้และส่งผ่านให้

 

ทำไมคนเราต้องอยู่ภายใต้การสะกดจิต, หรือมีความคิดที่ไม่สามารถวินิจฉัยได้เหมือนเด็ก, หรืออยู่ในสภาพที่เปลี่ยนแปลงจิตสำนึกระหว่างการทำสมาธิ, เพื่อจะมี“ความทรงจำต่างๆ”เช่นนั้น? ถ้าการเกิดใหม่ “เป็นจริง” ทำไมมันไม่ชัดเจนท่ามกลางคนเป็นพันๆล้านในโลก, โดยไม่คำนึงถึงเบื้องหลังทางวัฒนธรรม? ทำไมทารกทั้งหลายไม่สามารถพูดภาษาของ “ชาติก่อน” หรือภาษาใดก็ตาม(รวมถึงภาษาไร้สาระ)สำหรับเรื่องราวนั้น? นี่คงเป็นเหตุผลสำหรับการประดิษฐ์คิดค้นคำสอนของอนัตตา (ความคิดที่ว่าไม่มีวิญญาณถาวรอธิบายถึงการบกพร่องของความทรงจำ) ที่ไม่มีความจำ ทำให้ปัญหายากลำบากเช่นนี้อยู่ในขอบเขตของศีลธรรม (ไม่มีความยุติธรรมแท้จริงโดยปราศจากวิญญาณที่ถาวร) และยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาของการไม่มีจุดเชื่อมโยงระหว่างชีวิตหนึ่งไปยังอีกชีวิตหนึ่ง

 

ตามพระคัมภีร์ไบเบิล มีเพียงชีวิตเดียวเท่านั้นที่มีชีวิตอยู่ “...มีข้อกำหนดสำหรับมนุษย์ไว้แล้วว่าจะต้องตายหนหนึ่งและหลังจากนั้นก็จะมีการพิพากษาฉันใด” (ฮีบรู ๙:๒๗) ถ้าผู้คนมีมือถือหนึ่งพันเครื่อง, เต็มไปด้วยข้อมูลอย่างเดียวกันและใช้งานได้, มันคงจะไม่เป็นเรื่องใหญ่อะไรมากถ้าพวกเขาเสียไปสักสิบเครื่อง  แต่, ถ้าผู้คนมีเพียงมือถือเพียงเครื่องเดียวที่เต็มไปด้วยรายชื่อติดต่อที่สำคัญและไม่มีเงินที่จะซื้อเครื่องใหม่, มันคงจะเป็นการเสียหายใหญ่ที่จะสูญเสียมือถือเพียงเครื่องเดียวนั้น  ยิ่งไปกว่านั้นถ้าผู้คนคิดจะมีชีวิตนับพัน, คุณค่าของชีวิตนี้และความเร่งด่วนของการใช้ชีวิตอย่างถูกต้องได้ถูกลดลงไป  แต่พระเจ้าผู้ที่เป็นเจ้าของชีวิตเรา ได้บอกกับเราว่า, พวกเรานั้นมีเพียงชีวิตเดียว

 

ความเชื่อในเรื่องการเกิดใหม่ทำให้คนรู้สึกผลัดวันประกันพรุ่ง อย่างเช่น, ถ้านักศึกษารู้ว่าเขาจะมีการสอบวันศุกร์ที่จะมาถึงนี้, แต่ถ้าเขารู้ด้วยว่าจะมีโอกาสที่สองที่จะได้สอบใหม่อีกครั้ง ถ้าคะแนนเขานั้นไม่ดี, เขาคงจะผลัดวันประกันพรุ่ง, มากกว่าที่จะขยันเรียนสำหรับโอกาศเดียวที่จะสอบ  ตามพระคัมภีร์ไบเบิลได้พูดว่า, มีเพียงโอกาศเดียวเท่านั้น  เมื่อผู้คนได้ถูกหลอกลวงไปสู่ความคิดที่จะมีโอกาศและ “ชีวิต” ที่มากมาย, ทำให้ความเร่งด่วนที่จะคืนดีต่อพระเจ้าเดี๋ยวนี้นั้นได้ถูกทำให้ลดลง  การผลัดวันประกันพรุ่งนำไปสู่ความล้มเหลวแทนที่จะประสบความสำเร็จ  ความเชื่อชาวพุทธนี้นำผู้คนมากมายออกห่างจากพระเจ้าโดยการให้ความรู้สึกสะดวกสบายอย่างหลอกลวง, แทนที่จะมีความคิดอย่างเร่งด่วนที่จะไม่เสียเวลาในการใช้ชีวิตไปในทางที่ผิด  เมื่อเราเข้าใจชีวิตของเรามีค่ามากขนาดไหน, ที่ซึ่งพระเจ้าได้มอบให้กับเรา, เราควรที่จะขอบคุณพระเจ้าสำหรับสิ่งนี้, และต้องการที่จะมีชีวิตที่รู้จักพระเจ้าผ่านทางพระเยซูคริสต์

 

  1. 6. อะไรคือข้อแตกต่างระหว่างการทำสมาธิ, การสวดมนต์และการอธิษฐาน?

 

การทำสมาธิของชาวพุทธบ่อยครั้ง ถูกแสดงให้ว่าเป็นบางสิ่งที่ไม่เกี่ยวกับ “กิจกรรมทางศาสนา”  ผู้คนทั่วโลกจากมุมมองที่หลากหลายทางศาสนาก็ถูกสนับสนุนให้ลองทำดู, โดยการเสแสร้งว่ามันเป็นเพียงแค่การฝึกฝนความคิดอย่างหนึ่ง— เหมือนกับการบริหารร่างกายเป็นการฝึกฝนร่างกาย  นี่เป็นสิ่งดึงดูดใจสำหรับบางคนที่ปรารถนาจะมีประสบการณ์เอกลักษณ์, สันติสุข, หรือมีความหมายโดยปราศจากการไม่เข้าไปสู่หลักคำสอนของพระพุทธเจ้า  แต่ว่าการทำสมาธิปราศจากศาสนาจริงหรือ?

 

มีเรื่องหนึ่งของพระไตรปิฎกที่คนพูดถึงน้อยมาก, ที่เกิดความยุ่งเหยิงในช่วงเวลาการทำสมาธิ: “จริงๆ แล้ว มีโอกาสครั้งหนึ่ง ที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงของพระพุทธเจ้าในฐานะที่เป็น ‘ผู้ขับรถม้าของมนุษย์ที่ไม่มีใครเท่าเทียมกว่า’ มันเป็นการยากที่จะคิดว่ามันถูกแต่งเรื่องขึ้นมา  ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นว่าสิ่งนี้ถูกอ้างอิงในหนังสือหลายเล่มเกี่ยวกับศาสนาพุทธที่ข้าพเจ้าได้เคยอ่าน ใน KS V ๒๘๔, เราอ่านว่า พระพุทธเจ้าได้แนะนำ ‘สิ่งที่ไม่น่ารัก’ เป็นหัวข้อสำหรับการทำสมาธิ ก่อนที่เขาจะปลีกตัวออกไปอยู่สิบสี่วัน ในวันที่เขากลับมา, เขาก็พบว่า คณะสงฆ์ลดลงไปอย่างน่าเศร้าใจเพราะว่าพระสงฆ์หลายรูป, คิดไตร่ตรองถึง ‘สิ่งที่ไม่น่ารัก’ ต่อ ‘ร่างกายนี้... กังวลถึงมัน, รู้สึกอับอายและน่ารังเกียจ, และแสวงหาอาวุธเพื่อจะฆ่าพวกเขาเอง’- และจริงๆ, ได้ฆ่าตัวตาย  พระอานนท์แนะนำว่าในอนาคตจะดีกว่า ถ้าหากพระพุทธเจ้า ‘จะสอนวิธีอื่นๆ’ ของการทำสมาธิ  พระโคตมพุทธเจ้าตอบด้วยถ้อยแนะนำนี้และบอกข่าวแก่บรรดาพระสงฆ์ของเขาที่จะตั้งการทำสมาธิอยู่บนพื้นฐานของการหายใจของพวกเขาในอนาคต” (Jones๗๖)

 

ในปัจจุบันนี้, ‘สิ่งที่ไม่น่ารัก’ (เช่นศพของมนุษย์) ก็ยังถือว่าเป็นสิ่งที่จะทำสมาธิได้ของชาวพุทธ, ถึงแม้ว่ารูปแบบอื่นๆ ของการทำสมาธิ, เช่น การกำหนดลมหายใจ, ที่ใช้มากกว่า  แม้กระทั่งรูปแบบของการทำสมาธิที่ถือว่าเป็นมาตรฐาน, เช่น การกำหนดลมหายใจตนเอง, หรือการสังเกตความคิดตนเอง ราวกับว่าความคิดเหล่านั้นไม่ใช่ความคิดตนเอง (ถูกปลดปล่อยจากความคิดของ “ตนเอง” และ การสังเกตความคิด“โดยปราศจากอารมณ์”), เหล่านี้มันอันตราย  อย่างไรก็ตาม Rahula สนับสนุนการทำสมาธิอย่างนั้น: “พยายามที่จะตรวจสอบมันราวกับว่าคุณกำลังสังเกตมันจากข้างนอก,โดยปราศจากปฏิกิริยาทางอารมณ์, เหมือนนักวิทยาศาสตร์สังเกตวัตถุหนึ่ง  ที่นี้ด้วย, คุณไม่ควรมองดูมันว่าเป็น ‘ความรู้สึกของฉัน’ หรือ ‘ประสาทสัมผัสของฉัน’ จากมุมมองภายใน, แต่ให้เพียงมองดูว่ามันเป็น ‘ความรู้สึก’ หรือ ‘ประสาทสัมผัส’ จากมุมมองภายนอก  ท่านควรลืมอีกครั้งต่อแนวคิดที่ผิดของ “การมีตนเอง” (๗๓) 

 

เมื่อบุคคลหนึ่งกลายมาเป็นผู้สังเกต “บุคคลที่สาม” ของพวกเขาเอง, และได้ปฏิเสธแนวคิดว่ามี“ตนเอง”, มันเหมือนกับสละที่นั่งคนขับรถและไปนั่งที่ของผู้โดยสาร  นี่แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ของวิญญาณต่างๆ ภายนอกที่จะเข้ามาและมีอิทธิพลอย่างแท้จริงและมีอำนาจชักจูงอันตราย  พูดถึงขั้นสูงสุดของการทำสมาธิ (นิโรธสมาบัติ), Vajiranana เขียนไว้ว่า,  “แต่ที่ซึ่งมีประสบการณ์ใน นิโรธสมาบัติคือสภาพของนิพพาน, กล่าวถึงการหยุดกิจกรรมทั้งหมดของสมอง, ซึ่งเปรียบเทียบได้กับนิพพานขั้นสุดท้าย  นิพพานขั้นสุดท้ายถูกเรียกว่า “ขันธ์-ปริ-นิพพาน” คือ การหยุดอย่างสมบูรณ์ของขันธ์ทั้งห้าและซึ่งพระอรหันต์ได้บรรลุถึงเมื่อเขาตาย” (๔๖๗)

 

นอกจากอันตรายต่างๆ ของการทำสมาธิในระดับส่วนตัว, การทำสมาธินำไปสู่มาตรฐานที่ตามอารมณ์และนิสัยอย่างที่อ้างกัน  อย่างไรก็ตาม, ผู้ทำสมาธิได้รับการแนะนำล่วงหน้าในสิ่งที่พวกเขาคาดว่าจะได้เจอ  การคาดหวังนี้ ได้เชิญอารมณ์ความคิดเห็นจากภายนอกเข้ามา เพราะว่ามันตั้งเงื่อนไขให้คนว่าจะเจออะไรในความคิด  ถ้าผู้สอนบอกพวกเขาว่าสามารถคาดหวังที่จะเห็นชีวิตชาติก่อน, พวกเขาถูกจัดการล่วงหน้าที่จะไปสู่สิ่งนั้น  เช่นเดียวกัน, มันก็ไม่ได้เป็นมาตรฐานทางวิทยาศาสตร์, เพราะว่ามีมุมมองที่ “ผิด” หรือนอกรีตที่ถูกบรรยายไว้ในพระไตรปิฎก  ถ้าใครคนหนึ่งทำสมาธิและมีประสบการณ์กับบางสิ่งที่นอกรีต–  เช่น “ฉันมีวิญญาณนิรันดร์,” สิ่งนี้จะถูกปฏิเสธ

 

Shravasti Dhammika ในการพูดเกี่ยวกับการทำสมาธิในศรีลังกา, เขียนว่า: “...ผู้ทำสมาธิเดินรอบๆคล้ายกับผู้ที่อยู่ร่วมกันระยะยาวในโรงพยาบาลทางจิตโดยแท้จริง มีบางคนผู้ซึ่งใช้เวลาอยู่ในศูนย์ทำสมาธิเหล่านี้จบด้วยการมีปัญหาทางสมองอย่างมาก มีเรื่องตลกแพร่กระจายในสมาคมบางกลุ่มในศรีลังกาในช่วงปีคริสต์ศักราช ๑๙๙๐-๒๐๐๐ กลายเป็น ‘หนึ่งเดือนใน Kanduboda, หกเดือนใน Angoda,’Kandubodaเป็นที่รู้จักกันดีของศูนย์ทำสมาธิใน Colombo และ Angoda เป็นโรงพยาบาลใหญ่ของผู้ป่วยทางสมอง ของเมืองนี้”  (http://www.buddhistische-gesellschaft-berlin.de/downloads/brokenbuddhanew.pdf)

การทำสมาธิตามศาสนาพุทธ นำคนออกห่างจากการมีความสัมพันธ์ที่ขัดแย้งกับธรรมชาติของมนุษย์, และทำให้จิตใจของพวกเขาเป็นเหมือนกับเครื่องจักรกลมากกว่า  แม้ว่าการทำสมาธิ “กำลังแผ่เมตตาแก่สรรพสิ่ง”, จุดจดจ่อก็อยู่ที่ความสามารถของตัวเอง, และความเมตตานั้นถือว่าไม่ได้ยึดติดกับใคร  เมื่อการทำสมาธิเป็นการจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง, และความคิดอื่นๆ ถูกตัดออกไปทั้งหมด, นี่ทำให้เสียงของสติสัมปชัญญะที่เรียกร้องให้เรามีความสัมพันธ์กับพระเจ้าเงียบไป, และวางจิตใจไปที่หนทางที่เพิ่มการปลดปล่อยและการปลีกตัวออกไปมากขึ้น  ในการปลีกตัวออกไป ความปรารถนาส่วนตัวคนหนึ่งอาจจะสำเร็จ, แต่ว่าสถานการณ์อย่างนี้สามารถเปรียบเทียบกับเด็กที่ปฏิเสธการดูแลความรักจากพ่อแม่ ผู้ซึ่งจัดเตรียมอาหารที่ดีและมิตรภาพกับพวกเขา, แต่เด็กคนนั้นต้องการที่จะไปอาศัยอยู่ในป่าแทน– ปฏิเสธการรับอาหาร, ปฏิเสธเสื้อผ้า, ปฏิเสธการได้รับการศึกษาและปฏิเสธความรักจากพ่อแม่  เด็กแบบนี้จะมีความลำบากในการเอารอดชีวิตและในที่สุดอาจจะสูญเสียความสามารถที่จะสื่อสารกับพ่อแม่

การอธิษฐานและไตร่ตรองตามพระคัมภีร์ไบเบิลไม่ได้เหมือนกับการทำสมาธิ สวดมนต์หรือภาวนาในศาสนาพุทธ แต่พระคัมภีร์ไบเบิลได้สนับสนุนให้คนพิจารณาหลักการต่างๆและลักษณะของพระเจ้า, เป็นการใช้เวลากับพระเจ้าและคิดในเชิงลึกเกี่ยวกับพระวจนะของพระองค์  มันคือความสัมพันธ์กับพระเจ้า พระเจ้าได้“เลี้ยงดู”ลูกของพระองค์และสื่อสารกับพวกเขา, ขจัดอุปสรรคต่างๆในชีวิตออกไปและประทานสติปัญญาให้ มันไม่ใช่กระบวนการที่ไม่มีความสัมพันธ์และไม่มีบุคลิกภาพที่จะปล่อยตัวเองหรือไปสู่การเปลี่ยนแปลงสถานะของการมีสติอย่างในศาสนาพุทธ การอธิษฐานคือการเข้าไปในที่ลี้ภัยของพระเจ้า, การติดต่อสื่อสารกับพระองค์ในความสัมพันธ์ที่แท้จริง ตามพระไตรปิฏก ผู้คนไม่สามารถอธิษฐานถึงพระพุทธเจ้า (ชาวพุทธที่ไม่ใช่พระสงฆ์ ผู้ที่ไม่คุ้นเคยต่อคำสอนพระไตรปิฏกยังคงพยายามที่จะอธิษฐานต่อพระพุทธเจ้าบางครั้ง), เพราะว่าตามคำสอนเหล่านั้น เขาได้ดับสูญไปอย่างสมบูรณ์แบบผ่านนิพพานและความตายของเขาหลังจากนั้น  ผู้คนทุกหนทุกแห่งในโลกมีความกระหายทางฝ่ายจิตวิญญาณ, แต่พระเจ้าผู้ทรงมหิทธิฤทธิ์เป็นผู้เดียวที่ให้ความพอใจต่อความต้องการนี้แก่ผู้คน ใครก็ตามสามารถมีความสัมพันธ์กับพระเจ้าผ่านทางพระเยซูคริสต์ผู้ที่ยังทรงพระชนม์อยู่ทุกวันนี้

 

การทำสมาธิเป็นการนั่งคิดคนเดียวตามลำพังของแต่ละบุคคล (สิ่งที่ “เรียนรู้” ผ่านการนั่งสมาธิไม่สามารถรับเข้าเป็นหลักฐานสู่ศาลทางกฎหมาย), และการทำสมาธิเป็นการเปิดประตูอันตรายสู่โลกวิญญาณด้วย  ผู้ทำสมาธิต้องไปสู่สภาพการเปลี่ยนแปลงภาวะของจิตสำนึก  ผมได้รู้จักคนหนึ่งในกรุงเทพฯผู้ซึ่งเป็นเจ้าของที่พักได้ถูกสอนการทำสมาธิไม่กี่ปีที่ผ่านมา  ครั้งหนึ่ง, ระหว่างที่เธอกำลังทำสมาธิ, วิญญาณที่น่ารังเกียจได้ปรากฏต่อหน้าเธอ  เธอหวาดกลัวและวิ่งหนีออกจากห้อง  ครูที่สอนการนั่งสมาธิแก่เธอ บอกเธอว่าอย่าได้กังวลอะไรเลยเกี่ยวกับมัน, แต่ควรกลับไปและสอนแก่วิญญาณที่น่ารังเกียจนั้นด้วยทาง“สงบสุข”ของศาสนาพุทธ  ในทางนั้น, วิญญาณชั่วได้หลอกลวงเธอให้คิดว่าสิ่งที่เธอทำอยู่นั้นดี, ซึ่งแท้จริงเธอถวายตัวแก่วิญญาณชั่วที่หลอกลวงแสร้งทำเป็นเรียนรู้สันติสุขเท่านั้น, แต่เป็นการผูกมัดเธอไว้ด้วยการหลอกหลวง  การทำสมาธิ นำบุคคลไปสู่ในส่วนของระดับที่ลึกที่สุดของพวกเขา ที่จะไม่ถูกนำโดยความแน่นอนและความจริงตามเหตุผล, แต่ได้ถูกนำโดยประสบการณ์ที่ขึ้นกับแต่ละบุคคลที่ออกจากพระเจ้าผู้ที่ซึ่งรักพวกเขา

 

  อธิฐานเป็นการสื่อสารกับพระเจ้าด้วยความสัมพันธ์— ไม่ใช่สูตรคำพูด; ไม่ใช่การสวด; แต่เป็นการพูดกับพระเจ้าจากหัวใจของเรา ก่อนที่พ่อตาของผมจะกลายเป็นคริสเตียน เขาเป็นหัวหน้านำสวดมนต์ในวัดใกล้บ้าน เมื่อเป็นคริสเตียนใหม่ เขาจะพูดคำอธิษฐานที่อยู่ด้านหลังของใบปลิวข่าวประเสริฐซ้ำกันทุกวัน, โดยยังไม่เข้าใจที่การอธิษฐานเป็นการมีความสัมพันธ์ที่มีชีวิตกับพระเจ้า, ไม่ใช่ท่องจำสูตรคำพูด  ชาวพุทธไทยสวดมนต์โดยใช้ภาษาบาลี, ส่วนมากไม่เข้าใจในสิ่งที่พวกเขาได้พูดไป, แต่พวกเขาคิดว่าจะได้สะสมบุญหรือการอวยพรหรือได้รับการป้องกันด้านวิญญาณ, อื่นๆ บางครั้งผู้คนเพียงแค่ท่องคำสวดมนต์เหล่านั้นจากหนังสือต่อหน้ารูปเคารพ  พระเยซูพูดว่า “แต่เมื่อท่านอธิษฐาน อย่าใช้คำซ้ำซากไร้ประโยชน์เหมือนคนต่างชาติ เพราะเขาคิดว่าพูดมากหลายคำ พระจึงจะทรงโปรดฟัง” (มัทธิว บทที่ ๖ ข้อ ๗) ชาวพุทธฝึกการสวดมนต์มากกว่าที่พวกเขาทำสมาธิเยอะ, เพราะว่าการทำสมาธิใช้ความพยายามและการฝึกฝนมากกว่า แต่, การทำสมาธิและการสวดมนต์ของชาวพุทธทั้งคู่นั้นอันตรายทางฝ่ายจิตวิญญาณ, เพราะว่าสิ่งเหล่านี้สงวนพวกเขาไว้ไม่ให้มีความสัมพันธ์ที่แท้จริงกับพระเจ้าผู้ทรงสร้างเรา

 

  1. คุณอยากที่จะมีที่พึ่งที่ชัวร์และมั่นคงในชีวิตของคุณหรือเปล่า?

 

พระรัตนตรัยตามประเพณีในศาสนาพุทธคือ พระพุทธ, พระธรรมและพระสงฆ์  ความคิดทั้งหมดในการเป็นที่พึ่งแสดงถึงการขอความช่วยเหลือจากภายนอกตัวของเราเอง มันแสดงถึงบุคคลที่มีสภาพจำกัดและมีขอบเขตและต้องการที่พึ่งที่ซึ่งไม่มีสิ้นสุดและเชื่อถือได้  ทั้งหมดในพระรัตนตรัยทั้งสามนั้นต่างก็มีข้อบกพร่อง, แต่ที่ทำให้แย่กว่านั้นคือ, ที่พึ่งที่สี่ได้ถูกนำเสนอ, ซึ่งก็คือ ตนเอง  คำสอนในพระไตรปิฏก (ในชาดก แม่ของพระกุมารกัสสปเถระ), ได้นำ “ตนเอง” มาเป็นพื้นหน้า  “ภิกษุและภิกษุนี, ผู้ซึ่งขึ้นอยู่กับผู้อื่นไม่สามารถบรรลุความก้าวหน้าใดๆหรือการพัฒนาในชีวิต, เหตุฉะนั้นตนเป็นที่พึ่งแห่งตนหรือเจ้านายตัวเอง, ไม่มีใครสามารถเป็นที่พึ่งตัวเราเองได้”  (http://www.buddhapadipa.org/plinks/MHAR-6ELBY2) 

 

ที่พึ่งทั้งสามนั้นได้ถูกวางไว้ ให้เห็นภาพด้วยรูปแบบชาดกนี้“ตนเอง”ได้ยกมาเป็นจุดเด่นในส่วนสำคัญที่สุดของที่พึ่ง แต่, ในท้ายที่สุด, ทั้งสี่ที่พึ่งนั้นเชื่อถือไม่ได้

 

๑. เป็นที่พึ่งในธรรม (คำสอน) โดยแท้ ส่วนใหญ่หมายถึงเป็นที่พึ่งในตนเอง, ด้วยเหตุที่คำสอนได้ชี้ไปในจุดนั้น  แต่, พวกเราได้เห็นถึงคำสอนนั้นที่ไม่น่าเชื่อถือตามประวัติศาสตร์, และคำสอนตรงกันข้ามที่พูดว่า, “อย่าปลงเชื่อด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์” (A.I,๑๘๘)  ถ้าใครมองข้ามคำเตือนนี้, และไปตามการอ้างตำราหรือคัมภีร์, ดังนั้นการไปโดยการอ้างตำราหรือคัมภีร์ ผู้นั้นอนึ่ง ควรจะไม่ไปตามมัน! พุทธศาสนิกชนเป็นจำนวนมากในปัจจุบันไม่ได้มองเห็นถ้อยคำในศาสนาพุทธอยู่เหนือเกินความเข้าใจและเชื่อถือได้อย่างไม่เปลี่ยนแปลง, แต่เห็นว่า เป็นคำสอนที่สามารถดัดแปลงตามความคิดเห็นที่ทันสมัยตามแต่ผู้คน

(ความมั่นใจในตนเองมากกว่าพระธรรม)

 

๒. เป็นที่พึ่งในพระพุทธเจ้าเป็นการเข้าพึ่งในคนตายที่ไม่ได้อยู่ในปัจจุบันนี้ที่จะยื่นความช่วยเหลือใดๆ ให้ได้ แม้แต่ชีวประวัติของเขาไม่ได้ช่วยอะไรเลย, เพราะว่ามันเต็มไปด้วยตำนานและประวัติศาสตร์ที่ไม่แน่นอน

 

๓. เป็นที่พึ่งในพระสงฆ์ (กลุ่มสังคมของสงฆ์), เป็นการขึ้นอยู่กับคนที่ไม่ถาวรและเปลี่ยนแปลงตลอด(อนิจจัง), ตัวตนที่ไม่ยืนยง(อนัตตา) ผู้ซึ่งมีความทุกข์(ทุกข์) ที่จะจัดการกับมัน  เหมือนกัน, ในนิทานชาดกด้านบน, มันได้พูดว่า, “ผู้ซึ่งขึ้นอยู่กับผู้อื่นไม่สามารถบรรลุความก้าวหน้าใดๆหรือการพัฒนาในชีวิต” ซึ่งรวมไปถึงการพึ่งพาพระสงฆ์

 

๔. เป็นที่พึ่งในตัวเองเป็นเพียงคนที่มีขอบเขตจำกัดที่เป็นที่พึ่งในคนที่มีขอบเขตจำกัด  มันไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาอะไรของบุคคลนอกไปกว่าข้อจำกัดในตัวของพวกเขาเอง  ในหนึ่งลมหายใจตัวเราที่ถูกวิจารณ์ว่าไม่ดี(อนัตตา) และในอีกลมหายใจหนึ่ง ที่บอกว่าให้อนัตตาเป็นที่พึ่ง

 

มีใครสักคนไหมที่เป็นตัวของตัวเองอย่างแท้จริง? มีใครที่สามารถพูดได้ว่าไม่เคยรับของอะไรจากผู้อื่นเลย, หรือไม่เคยได้รับอะไรเลยจากพระเจ้า? มีใครสักคนไหม ที่แท้จริงและไม่เปลี่ยนแปลงในการดำเนินชีวิตที่อยู่ได้ด้วยคติพจน์ที่ว่า “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” ได้อย่างไร?

 

มายกตัวอย่างของช่างตัดเสื้อผู้ที่มีเหตุผลบางประการซึ่งเขาได้ยึดในคติพจน์นี้  เขาคงจะทำเสื้อผ้าของเขาเองตั้งแต่เริ่มต้น เขาคงไม่สามารถใส่เสื้อผ้าที่คนอื่นทำหรือซื้อมาให้เขาได้ แต่, เขาคงไม่สามารถใช้เส้นด้ายหรือเสื้อผ้าที่ซึ่งเขาไม่ได้เก็บเกี่ยวมาจากทุ่งฝ้ายหรือฟาร์มตัวหนอนไหม, และสิ่งอื่นๆ  และ, เขาคงไม่สามารถใช้กรรไกรหรือเครื่องเย็บผ้า, นอกจากตัวเขาเองได้สามารถทำสิ่งพวกนี้ขึ้นมาเอง  และ, เขาคงไม่สามารถสร้างอุปกรณ์ในการเย็บผ้านอกจากตัวเขาเองได้ทำเหมืองแร่เหล็กและหลอมแร่เหล็กเพื่อประการนี้  แต่, เขาจะสามารถทำเหมืองแร่เหล็กโดยปราศจากเครื่องมือที่ทำจากคนอื่นได้อย่างไร?  ดังนั้น, ช่างตัดเสื้อในสมมุติฐานของเราคงจะไม่กินอะไรเลย, นอกจากตัวเขาที่ได้ปลูกและทำอาหารเอง  , พร้อมกับอุปกรณ์ที่ตัวเขาเองได้ทำมันขึ้นมา  และ, สถานที่ที่เขาอยู่อาศัย, ซึ่งเขาได้ทำขึ้นมาเอง

 

ถ้าช่างตัดเสื้อผู้น่าสงสารนี้ได้เริ่มรู้สึกถึงความต้องการสุดๆของเวลาของเขาและการใช้ความอุตสาหะในการแยกตัวเองออกจากการพึ่งพาอาศัยของมนุษย์ทั้งปวง, บางที เขาอาจจะประสงค์ที่จะออกไปและอาศัยในป่า แต่, แม้ว่าที่นั่น เขาต้องนึกได้ว่าเขาไม่อิสระทั้งหมดหรือพอเพียงต่อการเป็นที่พึ่งของตัวเขาเอง  ในป่า(หรือแม้แต่ในเมืองด้วย) เขาจำเป็นต้องขึ้นอยู่กับในหลายๆสิ่งที่พระเจ้าสร้างขึ้นมา- พืชสำหรับอาหาร, ต้นไม้สำหรับที่พักอยู่อาศัย, น้ำสำหรับยังชีพ, และสิ่งอื่นๆ  เขาคงไม่สามารถกินได้โดยไม่ใช้ปาก ที่พระเจ้ามอบให้แก่เขาหรือทำการสร้างสิ่งอื่นใดโดยไม่ใช้มือหรือเท้าที่พระเจ้ามอบให้แก่เขา  เช่นเดียวกัน เขาคงไม่สามารถคิดหรือทำการเลือกโดยปราศจากความคิดโดยไม่ใช้สมองและจิตวิญญาณซึ่งพระเจ้ามอบให้เขาไม่ว่าความอยากที่เขาจะเป็นที่พึ่งของตนเองสักเท่าไหร่, เขาจำเป็นต้องเผชิญหน้ากับความจริงในขอบเขตจำกัดของเขาเองที่ไม่สามารถให้เขาเป็นที่พึ่งของตนเองได้ในที่สุดของที่สุดหรือแม้แต่เหตุผลในชีวิตประจำวัน

 

เห็นไหมว่ามันเป็นไปไม่ได้สำหรับผู้คนที่จะเป็นที่พึ่งของตนเองอย่างแท้จริงในขอบเขตด้านร่างกาย, แล้วมันจะเป็นไปไม่ได้มากเท่าไหร่อีก ที่จะเป็นที่พึ่งของตนเองในทางด้านฝ่ายจิตวิญญาณที่ซึ่งเรามองไม่เห็นและไม่สามารถควบคุมได้? ความบาปมากมายที่ทุกคนได้กระทำต่อพระเจ้าเป็นสิ่งที่ได้บันทึกไว้เพื่อพิพากษาเรา, แต่เราจะชำระล้างในส่วนนี้ออกไปด้วยความกำลังและอำนาจของเราเองได้อย่างไร? และ, เราจะไปสวรรค์ด้วยกำลังและความสามารถของเราเองได้อย่างไร? เราควรยอมรับถึงความจำกัดในความสามารถของเราเองและมาหาพระเจ้าเพื่อขอช่วยเหลือ  พระเยซู พระองค์ตั้งใจที่จะเป็นพระผู้ช่วยให้รอดของเรา ถ้าเราแน่วแน่ที่จะกลับใจจากบาปของเราและเชื่อในพระองค์, ไว้วางใจในพระเยซูเท่านั้นที่จะให้เรารอด--ไม่ใช่ไว้วางใจในความสามารถของเรา, หรือไปหาที่พึ่งในนามอื่น  ประมาณ ๕๐๐ ปีก่อนที่พระพุทธเจ้าได้เกิด, ดาวิดได้กล่าวถึงที่พึ่งของเขาว่า, “ความช่วยให้รอดและสง่าราศีของข้าพเจ้าอยู่ที่พระเจ้า ศิลาอันทรงมหิทธิฤทธิ์และที่ลี้ภัยของข้าพเจ้าคือพระเจ้า  ประชาชนเอ๋ย จงวางใจในพระองค์ตลอดเวลา จงระบายความในใจของท่านต่อพระองค์ พระเจ้าทรงเป็นที่ลี้ภัยของเรา เซลาห์” (สดุดี ๖๒:๗-๘)

 

พระพุทธเจ้าบอกผู้คน ที่ว่าพวกเขานั้นไม่ต้องคิดเกี่ยวกับพระเจ้าหรือแหล่งกำเนิดของพวกเขา, แต่พระเจ้าสร้างพวกเราด้วยให้เรามีความกระหายที่จะรู้จักพระองค์ ในการเติมความกระหายนี้ด้วยสิ่งอื่น, การค้นหานั้นนำไปสู่ความไม่เพียงพอ เป็นเหมือนกับที่ใครคนหนึ่งบอกนกว่าการบินนั้นไม่สำคัญและเด็ดปีกของนกเหล่านั้นเสีย, ในนกยุคๆต่อมา, ปีกคงเจริญเติบโตไปเป็นเหมือนปกติ, แต่ในสิ่งแวดล้อมที่พูดว่า “การบินนั้นไม่สำคัญ,”  นกอาจจะใช้ปีกของมันลากไปมาบนดิน, ไม่ใช่เพื่อบิน  พวกมันยังคง “กระหาย” ที่อยากจะบิน  ทั้งที่นกสร้างมาเพื่อบิน,  ผู้คนได้ถูกสร้างที่จะรักและนมัสการพระเจ้า  ศาสนาพุทธไม่ได้เติมเต็มในหัวใจของมนุษย์ให้รู้จัก‘ผู้สร้าง’ของเขา และดังนั้นการค้นหาจึงเกิดขึ้น  แต่น่าเสียดายยิ่งนักหากว่ามันกลายเป็นการหาความมั่งคั่งส่วนบุคคลแทนที่ของการหาความจริงและความถูกต้อง, ที่ซึ่งจะนำทางไปสู่พระเจ้า

 

คำเปรียบเทียบคลาสสิกของชาวพุทธเกี่ยวกับประเด็นในจุดกำเนิดของเราและประเด็นในส่วนสำคัญที่จะต้องเจาะลึกเน้นลงไป, เป็นดั่งคนที่ถูกยิงด้วยลูกธนู  โดยที่คนนั้นไม่ได้กังวลเกี่ยวกับลูกธนูนี้มาจากไหน, ใครเป็นคนยิง, หรือธนูประเภทใดที่ใช้ยิงมา, อื่นๆ..., แต่แทนด้วยการสนใจที่จะเอาลูกธนูออก!  ดังนั้นดั่งที่พูดไว้ว่ามนุษย์ไม่ต้องกังวลในเรื่องจุดกำเนิดของโลกหรือปลายทางของพระพุทธเจ้าและ “คำถามที่ว่าด้วยความเป็นอยู่และจิตใจของมนุษย์” อื่นๆ  แต่ น่าเสียดายยิ่งนัก, โดยการที่ขับไล่พระเจ้าไปข้างๆ, แหล่งที่แท้จริงของความโล่งอก(นิรันดร์)ได้พลาดไปด้วย  พระเจ้าถูกมองข้ามและถูกปฏิเสธ, เหมือนดั่งคนบาดเจ็บที่ไล่หมอไป

 

ช่องว่างในจิตใจของมนุษย์ไม่ได้ถูกเติมเต็ม, และการแสวงหาสำหรับจิตวิญญาณได้ดำเนินต่อไปผ่านการแสดงออกที่หลากหลาย  น่าเสียดายยิ่งนักที่คำตอบที่แท้จริงได้ตัดออกไปโดยไม่ได้ถูกพิจารณาเลยโดยการไม่สนใจพระเจ้า  จากเจ็ดคำถามแรกที่ผ่านมาในเอกสารนี้, เราได้เห็นว่าพระเจ้าเป็นเจ้าของสวรรค์, และเป็นเจ้าของประชาชน  พระองค์มีสิทธิ์ที่จะบอกเราว่าอะไรถูกอะไรผิด  เพราะว่าพระเจ้าเป็นเจ้าของชีวิตผู้คน, ทุกความบาปในที่สุดกระทำต่อต้านพระเจ้า  เพราะฉะนั้น พระเจ้าเท่านั้นที่มีสิทธิ์ที่จะอภัยบาป เรายังได้เห็นว่าพระเจ้านั้นได้สร้างทั้งชายและหญิง มีคุณค่าในสายตาของพระองค์, และชีวิตของมนุษย์ทุกคนเป็นสิ่งที่มีค่ามากและเป็นสิ่งที่ควรจะขอบคุณพระเจ้าสำหรับสิ่งนั้น

 

พระเจ้าเป็นผู้สร้างหัวใจของเราด้วย, และผู้เดียวที่สามารถให้หัวใจของเราที่ความรู้สึกเต็มเปี่ยมเมื่อเรากลับใจจากบาปของเราและวางความเชื่อในพระเยซูคริสต์ พระเจ้าผู้ทรงสร้างเราเป็นที่พึ่ง ผู้ที่ไว้วางใจได้มากกว่าหมอใดๆ, อาจารย์, หรือสมาชิกครอบครัว  คุณจะวางความเชื่อของคุณในพระเยซูคริสต์วันนี้ไหม? “พระเยซูคริสต์ยังทรงเหมือนเดิมในเวลาวานนี้ และเวลาวันนี้ และต่อๆไปเป็นนิจกาล” (ฮีบรู ๑๓:๘) ในที่สุดจะมีผู้คนเพียงแค่สองประเภท— ประเภทแรกคือผู้คนเหล่านั้นที่จะชื่นชมยินดีตลอดเวลานิรันดร์ที่พวกเขาได้วางความเชื่อไว้ในพระเยซูคริสต์, ประเภทสองคือผู้คนเหล่านั้นที่จะผิดหวังตลอดเวลานิรันดร์ที่พวกเขาไม่ได้วางความเชื่อในพระเยซูและกลับใจในขณะที่พวกเขายังมีชีวิตอยู่บนโลกนี้ “และพยานหลักฐานนั้นก็คือว่า พระเจ้าได้ทรงโปรดประทานชีวิตนิรันดร์แก่เราทั้งหลาย และชีวิตนี้มีอยู่ในพระบุตรของพระองค์ ผู้ที่มีพระบุตรก็มีชีวิต ผู้ที่ไม่มีพระบุตรของพระเจ้าก็ไม่มีชีวิต” (๑ ยอห์น ๕:๑๑-๑๒)

 

  1. 8. อะไรคือสิ่งที่พระพุทธเจ้าสอนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์?

 

พระไตรปิฎกน่าเชื่อถือมากขนาดไหนว่าเป็นหนังสือแห่งความจริง? ถ้าพระพุทธเจ้าศักยามุนีไม่ได้ทำให้เกิดการเขียนเหล่านี้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม, มาตรฐานที่เอาไว้วัดความจริงอยู่ที่ไหน?  และ, ถ้าจะอ้างว่าพระไตรปิฏกมาจากพระพุทธเจ้า ทำไมจึงประกอบด้วยความผิดพลาดที่เกี่ยวกับความจริงอย่างมากมาย? ถ้าพระไตรปิฎกเป็นการผสมผสานระหว่างความจริงและข้อผิดพลาด, การมอบความไว้วางใจของชะตาชีวิตบุคคลหนึ่งให้กับคำสอนนี้ ก็จะเหมือนกับ การมอบความไว้วางใจให้กับหมอที่จ่ายยาทั้งที่ดีและเป็นอันตราย – เป็นการเดิมพันอย่างมาก  คำอ้างอิงทั้งหมดในส่วนหัวข้อวิทยาศาสตร์นี้ มาจากพระไตรปิฎกตัวมันเอง, ไม่ใช่จากข้อคิดเห็นที่พูดถึงพระไตรปิฏก

 

ในทีฆนิกาย (Dialogues of the Buddha III; 137-139), ได้กล่าวถึงลักษณะหมายสำคัญทั้ง ๓๒ ของบุคคลที่คาดว่าจะเป็นพระพุทธเจ้าหรือผู้ปกครองจักรวาล  ท่ามกลางเครื่องหมายเหล่านี้, มีการกล่าวว่าเขาจะต้องมีฟัน ๔๐ ซี่ [ในเวลาที่เป็นเด็กทารก! – ซึ่งเป็นเวลาที่การตรวจสอบได้ถูกทำขึ้น – (Dialogues of the Buddha II; หน้า 13-18)]  โดยปกติ เด็ก มีจำนวนฟันครึ่งหนึ่งของจำนวนนั้นคือ ๒๐ ซี่  ผู้ใหญ่จะมีฟัน ๓๒ ซี่โดยรวม (สมมุติว่าไม่ได้เล่นกีฬาโลดโผนมากเกินไป) หรือ ๒๘ ซี่ ถ้าฟันกรามซี่สุดท้ายได้ถอดออกไป  การที่จะใส่ฟันอีกแปดซี่เข้าไปในกรามของผู้ใหญ่ดูเหมือนจะเป็นความสามารถมากเลยทีเดียวเชียว แต่ว่าถ้าใส่ฟันอีก ๒๐ ซี่ในกรามของเด็กทารกมันคงจะเป็นการขยายทั้งกรามโดยแท้– ทั้งของกรามและความน่าเชื่อถือมากเหลือเกิน

 

ท่ามกลาง ๓๒ หมายสำคัญนั้น, อีกอย่างหนึ่งคือศักยภาพของผู้ปกครองจักรวาลหรือพระพุทธเจ้า จะต้องมีลิ้นที่ใหญ่ ใหญ่แค่ไหนล่ะ?  ในหนังสือ มัชฌิมนิกาย (Middle Length Sayings II), พราหมณ์คนหนึ่ง ได้ไปพูดคุยกับพระพุทธเจ้า และมองหา ๓๒ หมายสำคัญที่ตัวของพระพุทธเจ้า…“ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคจึงทรงบันดาลอิทธาภิสังขาร ให้อุตตรมาณพได้เห็นพระคุยหฐานอันเร้นอยู่ในฝัก.  และทรงแลบพระชิวหาสอดเข้าช่องพระกรรณทั้งสองกลับไปมา สอดเข้าช่องพระนาสิกทั้งสองกลับไปมา ทรงแผ่พระชิวหาปิดมณฑลพระนลาตทั้งสิ้น.” (๓๓๕) http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=13&A=9195&Z=9483  (หากใช้คำง่ายๆ ได้ดังนี้ “จากนั้นเขา, ได้เอาลิ้นออกมา, ตวัดไปมาเหนือหูสองข้างของเขา และตวัดไปมาเหนือรูจมูกของเขา และปกคลุมทั้งหน้าผากของเขาด้วยลิ้นของเขาเอง”) ว้าว, ถึงแม้จะมีรูปปั้นของพระพุทธเจ้าด้วยอากับกิริยาและท่าทางต่างๆ,  ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นว่ามีรูปปั้นไหนจะเน้นถึงลักษณะทางกายวิภาควิทยาของเขาที่มีลิ้นใหญ่ยาวขนาดนั้น, แม้ว่าสิ่งนั้นได้มีในพระไตรปิฏก

 

ในการตอบต่อคำถามของพระอานนท์เกี่ยวกับสาเหตุของแผ่นดินไหว (Gradual Sayings IV; หน้า 208-210), พระพุทธเจ้าให้แปดเหตุผลด้วยกัน ประการที่หนึ่ง คือ การอธิบายทางธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างของโลก, ในขณะที่อีกเจ็ดเหตุผล พระพุทธเจ้ากล่าวว่า โลกตอบสนองด้วยการสั่นเมื่อ“การตรัสรู้”ที่หลากหลายประสบความสำเร็จมากมาย  ในเหตุผลประการที่หนึ่งสำหรับแผ่นดินไหว, เราเห็นความแตกต่างบางอย่างแท้จริงระหว่างสิ่งที่เขาพูดกับสิ่งที่วิทยาศาสตร์สมัยใหม่นี้รู้เกี่ยวกับโครงสร้างของโลกและสาเหตุต่างๆ ของการเกิดแผ่นดินไหว: “พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ เหตุปัจจัย ๘ ประการนี้แห่งความปรากฏแผ่นดินไหวใหญ่ ๘ ประการเป็นไฉน ดูกรอานนท์ แผ่นดินใหญ่ตั้งอยู่บนน้ำ น้ำตั้งอยู่บนลม ลมตั้งอยู่บนอากาศ สมัยนั้นลมพายุพัดจัด ลมพายุพัดให้น้ำไหว น้ำไหวแล้วทำให้แผ่นดินไหว ดูกรอานนท์ นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยประการที่ ๑ แห่งความปรากฏแผ่นดินไหวใหญ่ ฯ”  (http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=23&A=6499&Z=6623)

 

ตัวอย่างนี้และตัวอย่างอื่นๆ ที่ตามมา, ได้แสดงให้เห็นถึงการขาดความลงรอยกันกับ “ตามที่สิ่งเป็นจริง” (ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ชนิดหนึ่งที่พระพุทธเจ้าอ้างว่าได้ให้ไว้)

 

ในพระไตรปิฏก (Dialogues of the Buddha III), ได้บรรยายถึงบรรพบุรุษของมนุษย์ ผู้ซึ่งอายุยืนถึง ๘๐,๐๐๐ ปี, แต่โดยความชั่วทีละเล็กละน้อยหลายๆอย่าง, ช่วงอายุของพวกเขาถูกลดลงเหลือแค่สิบปีเท่านั้น  และในช่วงนั้นซึ่งกล่าวว่า มนุษย์เหล่านั้นแต่งงานกันตอนอายุห้าขวบ  สิ่งเหล่านี้อ้างชัดเจนถึงมนุษย์ในข้อความนี้, และไม่ได้กล่าวถึงลิง  ดังนั้น, ด้วยการเพิ่มขึ้นในการดำเนินชีวิตทางศีลธรรม, มนุษย์ได้ถูกพูดว่า เพิ่มช่วงอายุของพวกเขาขึ้นอีกครั้งหนึ่ง  ถ้าเรื่องนี้เป็นเพียงแต่การเปรียบเทียบเท่านั้น, ทำไมข้อความจึงอ้างอิงถึงเมืองที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีว่าเป็นส่วนของประวัติศาสตร์/คำพยากรณ์นี้: “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี เมืองพาราณสีนี้ จัก

เป็นราชธานีมีนามว่า เกตุมดี...” (๗๓) http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=11&A=1189&Z=1702

เช่นเดียวกัน, ถ้านี่เป็นการเปรียบเทียบเท่านั้น, ดังนั้นการทำนายถึงพระศรีอริยเมตไตรยในอนาคต, ผู้ซึ่งถูกพูดว่าจะปรากฎเมื่อช่วงอายุของมนุษย์กลับคืนไปสู่  ๘๐,๐๐๐ ปี เป็นการเปรียบเทียบด้วย

 

ใน “การอ้างตามความเป็นจริง” อย่างอื่น จากปากของคนที่ “ที่อ้างว่าไม่เคยตกไปสู่ความผิดพลาด” (Dialogues of the Buddha III, 25)  พระพุทธเจ้าพูดว่า มีปลาในมหาสมุทรที่ยิ่งใหญ่, ที่ไหนก็ตามแต่ซึ่งมีความยาวตั้งแต่ ๑๐๐ – ๕๐๐ yojanas (ความยาว): “อีกประการหนึ่ง มหาสมุทรเป็นที่พำนักอาศัยของสิ่งที่มีชีวิตใหญ่ๆ สิ่งมีชีวิตใหญ่ๆ ในมหาสมุทรนั้น คือ ปลาติมิ ปลามิงคละ ปลาติมิติมิงคละ พวกอสูร นาค คนธรรพ์ แม้ที่มีร่างกายใหญ่ประมาณร้อยโยชน์ สองร้อยโยชน์ สามร้อยโยชน์ สี่ร้อยโยชน์ ห้าร้อยโยชน์ ก็มีอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลายแม้ข้อที่มหาสมุทรเป็นที่พำนักของสิ่งที่มีชีวิตใหญ่ๆ ... ”   (Book of Discipline V, 333)  (http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/

item.php?book=25&item=118&items=1&preline=8&pagebreak=1&mode=bracket)

 

ตามคำอธิบายศัพท์ของ Pali Text Society, ๑ โยชน์ ๗ ไมล์ นั่นหมายความว่า ปลาที่ยาว ๕๐๐ โยชน์ ก็จะยาวถึง ๓๕๐๐ ไมล์  นั่นเป็นการอ้างอย่างสุดยอดเลยทีเดียว, ถ้าพิจารณาระยะนี้ก็จะยาวกว่าความกว้างของอเมริกาถึง ๗๐๐ ไมล์!  เช่นเดียวกัน, มันจะเป็นปลาที่ไม่ได้สัดส่วน  เนื่องจากว่าจุดลึกที่สุดของมหาสมุทรลึกประมาณ ๗ ไมล์, ซึ่งโดยความลึกเฉลี่ยประมาณ ๓ ไมล์

 

ในเล่มที่สี่ของ Book of Discipline, มีเรื่องราวต่างๆที่บอกชัดเจนว่า ความรู้ของพระพุทธเจ้าเทียบไม่ได้กับมาตรฐานความรู้สมัยใหม่, ซึ่งการรอบรู้ของพระพุทธเจ้าเป็นการรอบรู้ที่น้อยกว่ามากกับการรอบรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง  ในกรณีหนึ่งพระพุทธเจ้าได้ให้การอนุญาตของเขาในการบริโภคเนื้อดิบและเลือดจากหมูว่า: “ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธเพราะผีเข้า ... เธอเดินไปที่เขียงแล่หมู แล้วเคี้ยวกินเนื้อดิบ ดื่มกินเลือดสด อาพาธเพราะผีเข้าของเธอนั้น หายดังปลิดทิ้ง ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเนื้อดิบ เลือดสด ในเพราะอาพาธเกิดแต่ผีเข้า.’”  http://www.84000.org/

tipitaka/pitaka1/v.php?B=05&A=775&Z=947

 

การรักษาที่อนุญาตโดยพระพุทธเจ้า, คือการให้วิญญาณ “ที่ไม่ใช่มนุษย์” (เช่น ปีศาจ, วิญญาณชั่ว) หมกมุ่นตนเองในเนื้อดิบและเลือดสดๆ  มันจะชาญฉลาดไหม ที่มีโรคอะไรที่ซึ่งจะรับเอาแนวทางการรักษาอย่างนี้?  ทำไมพระพุทธเจ้าไม่ขับไล่วิญญาณชั่วผู้บุกรุกออกไปเสีย อย่างที่พระเยซูคริสต์ได้ทำอยู่บ่อยๆ? 

 

ท้ายที่สุด, เนื่องจากทฤษฎีของวิวัฒนาการดูเหมือนว่าเข้ากันได้เป็นอย่างดีกับศาสนาพุทธ (ไม่ต้องมีผู้สร้าง), นั่นหมายความว่า ศาสนาพุทธถูกต้องกว่าหลักเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์หรือ?  ประการที่หนึ่ง, พระพุทธเจ้าไม่ได้อธิบายถึงต้นกำเนิดสูงที่สุดและพูดว่าการพิจารณาถึงต้นกำเนิดเป็นหนึ่งในความพยายามที่ไร้ประโยชน์ในชีวิต   แต่, ถ้าไม่มีผู้สร้าง, เราจะสามารถคาดหวังได้อย่างไรว่าโลกของเราจะมีศีลธรรม, ถ้าทุกสิ่งเกิดขึ้นเป็นสิ่งมีชีวิตผ่านความบังเอิญ, มีโครงสร้างสลับซับซ้อนที่ไม่มีใครออกแบบ, จะมีศีลธรรมได้อย่างไร เพราะว่าศีลธรรมไม่ได้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาได้โดยบังเอิญและโดยไม่มีใครตั้งมาตรฐานไว้  หลักฐานสำหรับการวิวัฒนาการไม่ได้เพิ่มขึ้น, แต่กลับลดลง อย่างเช่น, ภาพเรียงที่มีชื่อเสียงที่แสดงถึงลิงที่เริ่มวิวัฒนาการมาเป็นมนุษย์, ได้ถูกพิสูจน์แล้วว่าเป็นการหลอกลวง, เป็นลิงอย่างเดียวเท่านั้น, หรือเป็นมนุษย์อย่างเดียวเท่านั้น, ซากฟอสซิลของสัตว์ผสมที่กำลังกลายรูปร่าง (The Missing Link) ที่เขากล่าวว่ากำลังเปลี่ยนรูปร่างนั้นก็ยังขาดไปอยู่  เวปไซท์ www.answersingenesis.org มีบทความ, เสียง, และภาพ ซึ่งนำเสนอโดยนักวิทยาศาสตร์ปริญญาเอก ผู้ที่เชื่อในการทรงสร้างตามพระคัมภีร์ไบเบิล, ได้เสนอถึงหลักฐานที่สนับสนุนพระผู้สร้างของโลกนี้  ในการที่จะขับไล่หลักฐานนี้ โดยปราศจากการตรวจสอบอย่างยุติธรรม ก็จะทำให้ไม่เป็นวิทยาศาสตร์เสียเอง  ควรหรือไม่ที่เราจะยอมรับบางสิ่ง เพียงแค่ว่ามันเป็นความคิดเห็นในยุคของเราหรือในการเห็นด้วยต่อศีลธรรมตามใจเราเองในชีวิต?  บุคคลที่ตามเหตุผลไม่ได้ตามใจตัวเอง ควรจะเต็มใจที่จะตามหลักฐานว่าจะนำไปสู่ที่ใด, แม้สิ่งนั้นจะนำไปสู่พระเจ้า

 

สิ่งที่เราเห็นในโลกนี้บ่อยครั้งไม่ยุติธรรม- คนชั่วร่ำรวยขึ้น, ‘คนดีตามมาตรฐานที่คนทั่วไปคิด’เผชิญความทุกข์ยากและอื่นๆ…  แต่ว่าเราจำเป็นต้องรู้ถึงมุมมองของนิรันดร์, ซึ่งรวมทั้งวันแห่งการพิพากษาซึ่งพระเจ้าจะพิพากษาโลกด้วยความชอบธรรม  ในการพิจารณาถึงการขาดการรอบรู้ทุกสิ่งทุกอย่างของศักยามุนี, ก็เป็นการยากที่จะแนะนำให้ไว้วางใจในการคาดการณ์ของเขาเกี่ยวกับอะไรที่ควรแก่การติดตามหรืออะไรที่ไม่ควรแก่การติดตาม  ถ้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านของเราทำงานไม่ปกติ, เราต้องอ่านคู่มือการใช้งานจากบริษัทผู้สร้างหรือเรียกหาคนที่สร้างเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นๆ ในทำนองเดียวกัน, พระเจ้าผู้สร้างเรามีคำตอบสำหรับสถานการณ์ที่ยากลำบากในชีวิต

 

มองไปยังศาสนาพุทธอย่างตรงไปตรงมาเช่นนี้, ถ้าศาสนาพุทธเป็นการเดินทาง, มันจะเป็นการเดินทางในที่ซึ่งแผนที่ประกอบด้วยคำอ้างเทียมเท็จต่างๆ, “ผู้ค้นพบ” การเดินทางนี้ก็ไม่ได้อยู่ข้างเราอีกต่อไปแล้วที่จะเสนอการช่วยเหลือใดๆ, และที่สุดของที่สุด คนหนึ่งก็ดับสลายเมื่อไปถึงจุดหมาย  แม้ว่าศาสนาพุทธเป็นระบบที่น่าหลงไหล, มันนำคนออกจากทางของพระเจ้า ผู้ซึ่งพระองค์ทรงรักพวกเขา, มันนำคนออกจากชีวิตนิรันดร์ที่ไม่เสื่อมสลาย, และนำเราออกจากวัตถุประสงค์ที่พระเจ้าทรงสร้างไว้ให้แก่เรา– ชีวิตที่ได้รับการชำระจากความบาปและความสัมพันธ์กับพระผู้ทรงสร้าง–  ทำให้เป็นไปได้, โดยผ่านทางพระเยซูคริสต์ผู้ซึ่งรับการลงโทษแทนเราบนไม้กางเขน โดยไม่ใช่จากการชำระตัวเราด้วยความดีของเราเอง ในการปฏิเสธสิ่งนี้ ก็เป็นการปฏิเสธแผนที่ที่แท้จริงที่ไปสู่สวรรค์21, ความช่วยเหลือสำหรับการเดินทาง, และผู้นำทางที่ซึ่งไม่ให้เราล้มเหลว  ในการยอมรับและรับเอาสิ่งนี้ก็เป็นการเริ่มต้นความสัมพันธ์แห่งความไว้วางใจกับพระผู้ทรงสร้างของเรา “เพราะว่าพระเจ้าทรงรักโลก จนได้ทรงประทานพระบุตรองค์เดียวของพระองค์ที่บังเกิดมา เพื่อผู้ใดที่เชื่อในพระบุตรนั้นจะไม่พินาศ แต่มีชีวิตนิรันดร์ เพราะว่าพระเจ้าไม่ได้ทรงใช้พระบุตรของพระองค์เข้ามาในโลกเพื่อจะพิพากษาโลก แต่เพื่อช่วยโลกให้รอดโดยพระบุตรนั้น ผู้ที่เชื่อในพระบุตรก็ไม่ต้องถูกพิพากษาลงโทษ แต่ผู้ที่มิได้เชื่อก็ต้องถูกพิพากษาลงโทษอยู่แล้ว เพราะเขามิได้เชื่อในพระนามพระบุตรองค์เดียวที่บังเกิดจากพระเจ้า” (ยอห์น ๓:๑๖-๑๘) มีหลายสิ่งที่คนตายไม่สามารถทำได้ พระพุทธเจ้าตายไปแล้ว  สิ่งหนึ่งที่สำคัญมากที่คนตายไม่สามารถทำได้คือ ช่วยจิตวิญญาณของคนให้รอด  แต่พระเยซูคริสต์ยังทรงพระชนม์อยู่และสามารถชำระจิตวิญญาณของเราและพาเราไปสู่สวรรค์ ถ้าเราเชื่อในพระองค์  นั่นก็เพราะว่าพระเยซูคริสต์เป็นพระเจ้า, เป็นพระผู้สร้างของเราและเป็นผู้ที่จะพิพากษาเราตามพื้นฐานพระวจนะของพระองค์, เมื่อเราตายไป

 

  1. 9. ประวัติศาสตร์ของพระไตรปิฏกเชื่อถือได้หรือ?

 

พระธรรมในพระไตรปิฏกซึ่งได้ถูกเขียนลงในภายหลังอย่างช้ามาก, และพระธรรมของนิกายอื่นทางศาสนาพุทธได้ถูกจัดทำขึ้นและเขียนลงในภายหลังช้ากว่าอีก พระไตรปิฏกได้ถูกเขียนลงประมาณ ๗๐ ปีก่อนคริสต์ศักราช ที่ ศรีลังกา (Veidlinger, ๒๓) : “นักวิชาการหลายคนในปัจจุบันเชื่อว่าถ้อยคำจากพระไตรปิฏกภาษาบาลีได้ถูกส่งผ่านจากปากต่อปากประมาณ ๔๐๐ ปี, จากช่วงเวลาจากจุดกำเนิดจนถึงช่วงศตวรรษแรกในยุคก่อนคริสต์ศักราช” (Veidlinger, ๒)

 

เรื่องราวชีวิตของพระเยซูคริสต์ ได้ถูกเขียนลงไม่นานหลังจากพระเยซูเสร็จกลับสวรรค์  เรื่องราวไม่ได้ส่งผ่านแบบปากต่อปาก  เอกสารได้ถูกเขียนลงโดยสาวกของพระเยซูและต้นฉบับเอกสารที่เขียนด้วยมือเหล่านี้ได้กระจายไปทั่วอาณาจักโรมันและมากไปกว่านั้น  ส่วนอื่นของพระคัมภีร์ไบเบิลได้ถูกเขียนผ่านในช่วงชีวิตของผู้พยากรณ์ที่ซึ่งพระเจ้าได้มอบข้อความเหล่านี้แก่พวกเขา-- ตัวอย่างเช่น โมเสสได้พยากรณ์เกี่ยวกับการเสด็จมาของพระเยซูคริสต์ประมาณ ๑๕๐๐ ปีก่อนที่พระเยซูจะทรงสภาพร่างกายมนุษย์; ดาวิดพยากรณ์เกี่ยวกับไม้กางเขนประมาณ ๑๐๐๐ ปี ก่อนที่พระเยซูจะเสด็จมาสิ้นพระชนม์เพื่อบาปของพวกเรา; และอิสยาห์พยากรณ์เกี่ยวกับพระเยซูที่จะเกิดจากหญิงที่ไม่ได้เพศสัมพันธ์มาก่อน ประมาณ ๗๐๐ ปีก่อนเหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้น

 

มันมีช่วงห่างของเวลามากจากช่วงเวลาที่จะเขียนจนถึงช่วงเวลาที่เอกสารต้นฉบับที่เขียนด้วยมือที่ยังหลงเหลืออยู่ของพระไตรปิฏก Veidlinger เขียนว่า : “เทคนิคการเขียนเอกสารภาษาบาลีตามประเพณีในโลกเถรวาทส่วนใหญ่ ปรากฏให้เห็นต้นฉบับที่เขียนด้วยมือในศตวรรษที่ ๑๙ ต้นฉบับที่เขียนด้วยมือภาษาบาลีที่เก่าแก่ที่สุดถูกพบย้อนหลังในช่วงศตวรรษที่ ๖ มันประกอบขึ้นด้วยการคัดเลือกจากบางส่วนต้นฉบับที่เขียนด้วยมือเท่าที่มีอยู่แรกเริ่มจากศรีลังกาเป็นของ Samuttanikaya จากปีคริสต์ศักราช ๑๔๑๑” (๑๔-๑๕)  ในทำนองเดียวกัน Hinuber ได้ยืนยันสถานการณ์ด้วยการเขียนว่า “การทำต่อต้นฉบับที่เขียนด้วยมือด้วยเล่มที่สมบูรณ์ได้พึ่งเริ่มขึ้นในช่วงปลายคริศต์ศตวรรษที่ ๑๕   ด้วยเหตุนี้ แหล่งที่มาที่สามารถใช้ได้มีขึ้นมาทันทีในเชิงอักษรศาสตร์สำหรับเถรวาท ซึ่งแยกออกจากพระพุทธเจ้าเกือบมาประมาณ ๒,๐๐๐ ปี” (๔) คำที่ว่า “เล่มที่สมบูรณ์” ในที่นี้หมายถึง แต่ละส่วนของเล่มในพระไตรปิฏก  ถ้าเราระบุวันตายของพระพุทธเจ้าประมาณ ๔๑๐ ปี ก่อนคริสต์ศักราช โดยเห็นพ้องร่วมกันโดยนักวิชาการสมัยใหม่, ฉะนั้นช่วงห่างระหว่างพระพุทธเจ้ากับพระไตรปิฏกฉบับสมบูรณ์ในรูปแบบเอกสารที่เขียนด้วยมือนั้นมากกว่า ๒,๐๐๐ ปี

 

ในความแตกต่าง, เรามีแต่ละเล่มของพันธสัญญาใหม่ในรูปแบบของต้นฉบับที่เขียนด้วยมือจากประมาณ ๑๕๐ ปีหลังจากที่พระเยซูทรงฟื้นขึ้นจากความตาย (ถึงแม้ว่าจะมีบางชิ้นส่วนก่อนหน้านั้น) และพระคัมภีร์ไบเบิลฉบับสมบูรณ์ที่เขียนด้วยมือประมาณ ๓๐๐ ปี หลังจากพระเยซูฟื้นคืนชีวิต  เรามีแต่ละเล่มของพันธสัญญาเก่าจากประมาณ ๒๐๐ ปี ก่อนคริสต์ศักราชจากถ้ำในทะเลตาย (Dead Sea)

 

ในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ พระไตรปิฏกได้ถูกเขียนลงบนหินในพม่า... “กษัตริย์มินดง... ได้ครอบครองสภาศาสนาพุทธที่ห้าในมัณฑะเลย์ (Mandalay) เขาได้สร้างหนังสือที่ใหญ่ที่สุดในโลกในปีคริสต์ศักราช ๑๘๖๘, พระไตรปิฏก, ๗๒๙ หน้าของพระไตรปิฏกศาสนาพุทธ จารึกลงในหินอ่อนและหินแผ่นแบนในสถูปเล็กๆ”  http://en.wikipedia

.org/wiki/Mindon_Min

 

อย่างไรก็ตาม “เขียนลงบนหิน” เป็นสำนวนสำหรับบางอย่างที่แท้จริงและแน่นอน,  Trevor Ling เขียนเกี่ยวกับโครงการของกษัตริย์มินดง ว่า, “ผิดพลาดในการแกะสลักตัวหนังสือซึ่งจำเป็นต้องทำการปรับปรุงแก้ไข...” (๑๒๔)  การปรับปรุงแก้ไขนี้กระทำอยู่ในช่วงเวลาสภาศาสนาพุทธที่หก (ปีคริสต์ศักราช ๑๙๕๔-๑๙๕๖) ในพม่า

 

ในประวัติศาสตร์ศรีลังกา [ที่ซึ่งพระไตรปิฏกได้ถูกขียนลง (๗๐ ปีก่อนคริสต์ศักราช), และที่คำอธิบายได้ถูกเรียบเรียง (ประมาณ๕๐๐ ปี หลังคริสต์ศักราช)], โดยถ้อยคำได้ผ่านการกวาดล้างใน คริสต์ศตวรรษที่ ๑๒: “ เมื่อ กษัตริย์ Parakramabahu ที่ ๑ (ปีคริสต์ศักราช ๑๑๕๓ – ๑๑๘๖) ปฏิรูปศาสนาพุทธในซีลอนช่วงคริศต์                 ศตวรรษที่ ๑๒, พระจาก Abhayagiri- และ Jetavana-vihara ได้บวชอีกรอบตามประเพณีมหาวิหาร  เพราะฉะนั้น, ถ้อยคำเดิมของพวกเขา ก็ค่อยๆ เลือนหายไป, และมีแค่ ถ้อยคำแบบเถรวาทที่หลงเหลืออยู่เหล่านั้นในวัดอารามเพียงแห่งเดียว, มหาวิหาร”  (Hinuber, ๒๒)

 

มองถัดไปในประวัติศาสตร์ที่ไม่น่าไว้วางใจของพระไตรปิฏก, คำถามสำคัญที่น่าจะถามคือ, “พระพุทธเจ้ามีอำนาจที่จะสอนบนประเด็นจิตวิญญาณตั้งแต่แรกหรือไม่?” เป็นเพียงแค่มนุษย์ (ที่ซึ่งมีความรู้จำกัดมาก), และตอนนี้ก็เป็นเพียงแค่คนตาย, เขาแค่ระทมทุกข์ไม่มีสิทธิ์ให้คำแนะนำในหัวข้อที่สุดของที่สุดต่างๆ (เช่น ที่ไหนที่คุณจะใช้ชีวิตชั่ว

นิรันดร์? อะไรคือจุดประสงค์ในชีวิตของคุณ? คุณมาจากไหน?) ในข้อเท็จจริงพระพุทธเจ้าบ่อยครั้งที่จะเอาความสนใจของผู้คนออกไปจากหัวข้อสำคัญเหล่านั้นเพื่อที่จะมุ่งความสนใจของผู้คนไปยังชีวิตในทางโลกมากกว่าหัวข้อชั่วนิรันดร์  มีเพียงแค่พระเจ้าเท่านั้นที่ทรงรู้ทุกอย่าง, และผู้ซึ่งมีพลังเหนือความตาย, และผู้ซึ่งเป็นผู้ทรงสร้างและเป็นเจ้าของโลกใบนี้, มีสิทธิอำนาจที่จำเป็นในการสอนความจริงแก่จิตวิญญาณผู้คน  นี่เป็นสามเรื่องราวที่แสดงให้เห็นถึงการพูดเกินความจริงบางอย่างที่ใช้ในพระไตรปิฏก

 

ในพระวินัยปิฏกของพระไตรปิฏก, เรื่องราวที่ไม่น่าเชื่อได้ถูกบอกเพื่ออธิบายว่าผู้ที่ได้รับสิทธิให้เป็นพระทั้งหลายต้องได้ถูกถามว่าพวกเขาเป็นมนุษย์หรือไม่ ซึ่งเรื่องราวเกี่ยวกับงูนาคนี้, กลายร่างให้ดูคล้ายคนและกลายเป็นพระ: “ในวันหนึ่ง, พระรูปอื่นลุกขึ้นกลางดึก, ไปถึงยามเช้า, และออกไปด้านนอกเพื่อฝึกการเดินจงกรม  นาค, ได้รู้สึกว่าเพื่อนร่วมกุฎิได้ออกไป, จึงนอนหลับ, และในการนอนหลับนั้นเขาได้เปลี่ยนร่างเป็นร่างเดิม ร่างงูของเขาเต็มไปทั่วทั้งห้อง, และร่างที่ม้วนเป็นวงของเขาได้ออกมานอกหน้าต่าง  ในเวลานั้น, เพื่อนร่วมห้องของเขา, คิดว่าเขาน่าจะกลับเข้าไปในกุฎิ, เปิดประตูและได้เห็นห้องที่เต็มไปด้วยงู... หวาดกลัว  เมื่อเห็น, เขาร้องลั่น...” (Strong, ๑๙๙๕; หน้า ๖๒)

ใน Udana ของพระไตรปิฏก พระพุทธเจ้าได้ถูกพูดว่าได้ถูกปกคลุมป้องกันฝนโดยนาคตัวใหญ่: “สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคตรัสรู้ใหม่ๆ ประทับอยู่ที่ควงไม้มุจลินท์ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลา ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคประทับนั่งเสวยวิมุติสุขด้วยบัลลังก์อันเดียวตลอด ๗ วัน สมัยนั้น อกาลเมฆใหญ่บังเกิดขึ้นแล้ว ฝนตกพรำตลอด ๗ วัน มีลมหนาวประทุษร้าย ครั้งนั้นแล พระยามุจลินทนาคราชออกจากที่อยู่ของตน มาวงรอบพระกายของพระผู้มีพระภาคด้วยขนดหาง ๗ รอบ แผ่พังพานใหญ่เบื้องบนพระเศียรด้วยตั้งใจว่า ความหนาวอย่าได้เบียดเบียนพระผู้มีพระภาค ความร้อนอย่าได้เบียดเบียนพระผู้มีพระภาค สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานอย่าได้เบียดเบียนพระผู้มีพระภาคครั้นพอล่วงสัปดาห์นั้นไป พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากสมาธินั้น ครั้งนั้นพระยามุจลินทนาคราชทราบว่าอากาศโปร่ง ปราศจากเมฆแล้วจึงคลายขนดหางจากพระกายพระผู้มีพระภาค นิมิตเพศของตนยืนอยู่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคประนมอัญชลีนมัสการพระผู้มีพระภาคอยู่ ฯ” http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=25&A=1699&Z=1721

 

ปรากฏการณ์ไม่น่าเชื่อเรื่องอื่นในพระไตรปิฏก, ที่ซึ่งควรจะมีอยู่ตราบจนทุกวันนี้ (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ตราบเท่าที่โลกนี้ยังอยู่”)  เป็นดั่งบ้านที่ไม่มีหลังคา, ที่ซึ่งไม่เคยรับน้ำฝน: “....มีเรื่องราวใน มัชฌิมนิกาย (Middle Length Saying) ที่มีพระบางรูปที่ได้ ‘ยืม’ หลังคาของบ้านช่างทำหม้อเพื่อที่จะมาซ่อมหลังคาวัดอาราม แต่แทนที่ควรจะโกรธที่หลังคาของพวกเขาได้แยกออกไป,ช่างทำหม้อและพ่อแม่ตาบอดของเขาได้ซาบซึ้งด้วยความปิติยินดีซึ่งที่ไม่อาจพรรณนาได้เป็นเวลา ๗ วัน  เวลานั้นตามด้วยกฎเหตุและผลในปรากฏการณ์แปลกประหลาดนี้เป็นขึ้นมา  เปียกโชกไปทั้งหมู่บ้านหรือทั้งประเทศโดยฝนตกอย่างมโหฬาร, แต่ไม่มีสักหยดเดียวที่ตกลงบนบ้านที่ไร้หลังคานั้น  และนี่เป็นการดลบันดาลให้ตำแหน่งของบ้านของ Gati Kara ในสภาพนั้นอยู่อย่างนั้นตราบเท่าที่โลกยังดำรงอยู่” (King, ๑๒๑)

 

ผู้แต่ง ได้ประยุกต์เรื่องราวสมัยใหม่จากการเขียนข้างบนนี้: “สถานที่นี้น่าจะอยู่สักแห่งในบริเวณใกล้เคียงของเมืองชั่วนิรันดรของ Benares รัฐบาลอินเดียควรจะหา, โดยเฉพาะ Mr. Nehru ผู้ซึ่งเคารพศาสนาพุทธ  นี่เป็นภารกิจง่ายๆ  ในทุกๆรัศมีของหนึ่งพันไมล์รอบๆ Benaresที่ซึ่งหัวหน้าผู้ใหญ่ของทุกๆหมู่บ้านรอบๆสามารถถามอย่างละเอียดละออและพยามยามที่จะหาสถานที่ที่น่าพิศวงเยี่ยงนั้นเมื่อหากมันถูกพบจะกระทบต่อศาสนาพุทธเหนือมนุษยชาติอย่างใหญ่โตและรายได้จากนักท่องเที่ยวจะล้นหลามเข้ามาในอินเดียอย่างงดงาม” (King, ๑๒๑)

 

ตัวอย่างต่อไปในประวัติศาสตร์ที่ไม่แน่นอนคือมิลินทปัญหา (การอภิปรายของกษัตริย์มลินท์), ที่ซึ่งชาวพม่าเห็นว่าควรอยู่ในพระไตรปิฏก Hinuber เขียนว่า, “ถึงแม้ว่า Menandros เป็นบุคคลตามประวัติศาสตร์, Mil [มลินทปัญหา] เป็นเอกสารที่ไม่ได้ตามประวัติศาสตร์อย่างถูกต้อง: กษัตริย์มิลินท์พูดกับหกคนที่สอนผิด, ผู้ซึ่งเป็นบุคคลร่วมยุคร่วมสมัยกับพระพุทธเจ้า (!)” (๘๓)  Mendaros ได้แยกประวัติศาสตร์จากพระพุทธเจ้าประมาณ ๒๕๐ ปี  สำหรับตัวอย่างมากกว่านี้ในเรื่องประวัติศาสตร์ที่ไม่แน่นอน, กรุณาดูใน ภาคผนวก ๑, เกี่ยวกับอโศกมหาราช

 

ในอีกด้านหนึ่ง, ยกตัวอย่างเช่น ลูกา, ซึ่งปรากฏเรื่องราวในพระคัมภีร์ไบเบิลได้ถูกพิสูจน์ความจริง ที่แม้ว่ามีการตรวจสอบทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ที่หนาแน่นโดยผู้ที่คัดค้านต่อเรื่องราวนี้  ครึ่งหนึ่งของหนังสือแบบเฉพาะทางกึ่งหนึ่ง บนหนังสือของ Colin Hermer…“Acts in a Setting of Hellenic History” ที่ซึ่งเรียกว่าประวัติศาสตร์ของพระธรรมศาสนาพุทธนั้นเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน  พระไตรปิฏกนั้นประกอบบางส่วนที่เต็มไปด้วยตำนานดังนั้นพระธรรมเหล่านั้นไม่ได้ถูกเอามาทำอย่างถูกต้องเมื่อมันมาโดยรายงานทางกายภาพที่ว่า “ตามที่สิ่งเป็นจริง, (the way thing are,)” เมื่อนั้น ทำไมในโลกนี้ที่ใครก็ตามอยากที่จะเชื่อพระธรรม เมื่อมันมาถึงจิตวิญญาณชั่วนิรันดร์ของพวกเขา?  น่าเศร้าใจและในทางกลับกัน, แทนที่การขาดความน่าเชื่อถือในพระธรรมของพวกเขา, ทำให้ชาวพุทธแสวงหาพระเจ้า, พวกเขาหันไปในทางเอนเอียงพึ่งตัวเขาเอง- ตัวเองที่ตามคำสอนของพวกเขาเองนั้นไม่คงทนและเปลี่ยนแปลงตลอด

 

  1. 10. คุณอยากรู้ไหมว่าพระคัมภีร์ไบเบิลพูดอะไรเกี่ยวกับชีวิต?

 

จุดมุ่งหมายในชีวิตคือรักพระเจ้าและรักผู้คน : “พระเยซูทรงตอบเขาว่า,‘จงรักองค์พระผู้เป็นเจ้าผู้เป็นพระเจ้าของเจ้า ด้วยสุดจิตสุดใจของเจ้า และด้วยสิ้นสุดความคิดของเจ้า’นี่แหละเป็นพระบัญญัติข้อต้นและข้อใหญ่ ข้อที่สองก็เหมือนกันคือ‘จงรักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง’พระราชบัญญัติและคำพยากรณ์ทั้งสิ้นก็ขึ้นอยู่กับพระบัญญัติสองข้อนี้” (มัทธิว ๒๒:๓๗-๔๐)

 

การรักพระเจ้านั้นต้องการความเชื่อ: “แต่ถ้าไม่มีความเชื่อแล้ว จะเป็นที่พอพระทัยของพระองค์ก็ไม่ได้เลย เพราะว่าผู้ที่จะมาหาพระเจ้าได้นั้นต้องเชื่อว่าพระองค์ทรงดำรงพระชนม์อยู่ และพระองค์ทรงเป็นผู้ประทานบำเหน็จให้แก่ทุกคนที่ปลงใจแสวงหาพระองค์”  (ฮีบรู ๑๑:๖)  ความเชื่อนี้มีพื้นฐานมาจากหลักฐานที่พระเจ้าให้แก่เรา, ไม่ใช่ความเชื่อที่ตาบอด  พร้อมกับความเชื่อในพระเจ้า, จะต้องมีความยำเกรงพระเจ้าด้วย: “ความยำเกรงพระเยโฮวาห์เป็นที่เริ่มต้นของปัญญา และซึ่งรู้จักองค์บริสุทธิ์เป็นความเข้าใจ”(สุภาษิต ๙:๑๐) แทนที่จะยำเกรงพระเจ้า, ชาวพุทธลงเอยด้วยการอยู่ในความกลัว ภูต ผี ปีศาจ และต้องผูกมัดในความเป็นทาสที่ต้องทำให้วิญญาณเหล่านั้นพอใจอยู่เสมอ

 

การรักพระเจ้าหมายถึงการมาหาพระองค์อย่างถ่อมตัว: “...พระเจ้าทรงต่อสู้ผู้ที่หยิ่งจองหอง แต่ทรงประทานพระคุณแก่คนที่ใจถ่อม” (ยากอบ ๔:๖) “...เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า ถ้าพวกท่านไม่กลับใจเป็นเหมือนเด็กเล็กๆ ท่านจะเข้าในอาณาจักรแห่งสวรรค์ไม่ได้เลย” (มัทธิว ๑๘:๓) แทนที่ของการสรรเสริญพระเจ้า, ชาวพุทธตามจิตนาการที่ไร้สาระโดยสรรเสริญแก่การทำสมาธิและนึกภาพของชีวิตก่อนหน้านี้ตามจินตนาการ: “เพราะถึงแม้ว่าเขาทั้งหลายได้รู้จักพระเจ้าแล้ว เขาก็มิได้ถวายพระเกียรติแด่พระองค์ให้สมกับที่ทรงเป็นพระเจ้า หรือหาได้ขอบพระคุณไม่ แต่เขากลับคิดในสิ่งที่ไม่เป็นสาระ และจิตใจโง่เขลาของเขาก็มืดมัวไป เขาอ้างตัวว่าเป็นคนมีปัญญา เขาจึงกลายเป็นคนโง่เขลาไป” (โรม ๑:๒๑-๒๒)

 

ในการเริ่มความสัมพันธ์กับพระเจ้า ผู้นั้นต้องมีการสำนึกผิดครั้งแรก– หันหลังจากความผิดและความบาป, และหันไปสู่ทางของพระเจ้าที่ได้ทรงเปิดเผยไว้ในพระคัมภีร์ไบเบิล “และนี่แหละคือชีวิตนิรันดร์ คือที่เขารู้จักพระองค์ ผู้ทรงเป็นพระเจ้าเที่ยงแท้องค์เดียว และรู้จักพระเยซูคริสต์ที่พระองค์ทรงใช้มา” (ยอห์น ๑๗:๓) รู้จักพระเจ้าเป็นเป้าหมาย นี่คือความสัมพันธ์  การเสนอการให้อภัยบาปของพระเจ้า ไม่ใช่สิ่งที่เราจะได้รับโดยความสมควรของเราเอง, หรือเป็นสิ่งที่เราเรียกร้องตามสิทธิได้, แต่เป็นของประทานที่ให้เปล่าๆแห่งความเมตตาสำหรับผู้ที่ตระหนักถึงขอบเขตการละเมิดต่างๆของพวกเขาและได้กลับใจและไว้วางใจในพระเจ้าอย่างแท้จริง, และไม่ได้พึ่งในตัวของพวกเขาเอง: “ด้วยว่าซึ่งท่านทั้งหลายรอดนั้นก็รอดโดยพระคุณเพราะความเชื่อ และมิใช่โดยตัวท่านทั้งหลายเอง แต่พระเจ้าทรงประทานให้ ความรอดนั้นจะเนื่องด้วยการกระทำก็หามิได้เพื่อมิให้คนหนึ่งคนใดอวดได้” (เอเฟซัส ๒:๘-๙)

 

ชีวิตนิรันดร์ในสวรรค์ผ่านทางพระเยซูคริสต์เท่านั้น “และพยานหลักฐานนั้นก็คือว่า พระเจ้าได้ทรงโปรดประทานชีวิตนิรันดร์แก่เราทั้งหลาย และชีวิตนี้มีอยู่ในพระบุตรของพระองค์ ผู้ที่มีพระบุตรก็มีชีวิต ผู้ที่ไม่มีพระบุตรของพระเจ้าก็ไม่มีชีวิต” (๑ ยอห์น ๕:๑๑-๑๒)

 

พระพุทธเจ้าได้ให้คำโกหกแก่ผู้คนแทนที่ความจริงและผลลัพธ์กลับเป็นเรื่องน่าเศร้าในฝ่ายจิตวิญญาณ: “เพราะเจ้าได้กระทำให้คนชอบธรรมท้อใจด้วยการมุสา ทั้งที่เราไม่ได้กระทำให้เขาเศร้าใจเลย และเจ้าได้ทำให้มือของคนชั่วแข็งแรงขึ้น เพื่อมิให้เขาหันกลับจากทางชั่วของเขา โดยสัญญาว่าเขาจะได้ชีวิตรอด”(เอเสเคียล ๑๓:๒๒) แทนที่จะอยู่ในการดูแลของผู้เลี้ยงแกะที่เปี่ยมไปด้วยรัก (พระเยซู), ชาวพุทธได้ถูกทิ้งไว้ในการมีอยู่ของปีศาจ,

 

งูใหญ่ (งูนาคที่ศาสนาพุทธยกย่อง, แต่ซึ่งที่จริงแล้วมันคือปีศาจ) “พญานาคใหญ่ซึ่งเป็นงูดึกดำบรรพ์ ที่เขาเรียกกันว่า พญามารและซาตาน ผู้ล่อลวงมนุษย์ทั้งโลก พญานาคและพวกทูตของมันก็ถูกผลักทิ้งลงมาในแผ่นดินโลก” (วิวรณ์ ๑๒:๙)

 

พูดอย่างง่ายมาก, คนตาย (พระพุทธเจ้า) ไม่สามารถช่วยใครได้ ที่จะหาคำตอบเกี่ยวกับคำถามที่สำคัญที่สุดในชีวิต: ฉันมาจากไหน?  ทำไมฉันถึงมาอยู่ที่นี่?  ฉันจะไปที่ไหนเมื่อฉันตายไป?  พระคัมภีร์ไบเบิลสามารถตอบคำถามเหล่านี้ได้  พระเยซูคริสต์ยังมีชีวิตอยู่  พระองค์ทรงเป็นขึ้นจากความตาย  คุณต้องการที่จะคืนดีกับผู้สร้างของคุณ ผู้ซึ่งรักคุณ, ถึงแม้ว่าคุณมีบาปต่อพระองค์?  ถ้าคุณต้องการ, คุณสามารถเริ่มโดยการสารภาพบาปของคุณแก่พระองค์, ซึ่งประกอบด้วยบาปที่ละเลยพระองค์และไม่ให้เกียรติแก่พระองค์ ที่พระองค์ควรจะได้รับ  "ถ้าเราสารภาพบาปของเรา พระองค์ทรงสัตย์ซื่อและเที่ยงธรรม ก็จะทรงโปรดยกบาปของเรา และจะทรงชำระเราให้พ้นจากการอธรรมทั้งสิ้น" (๑ ยอห์น ๑:๙) พระเจ้าต้องการให้ทุกคนเชื่อในพระเยซูคริสต์และเช่นนี้ มีความสัมพันธ์ส่วนบุคคลกับพระเจ้า แต่การเลือกนั้นอยู่ที่คุณ  คุณจะตอบสนองต่อความรักของพระเจ้าไหม? คุณจะมาถึงพระองค์อย่างถ่อมตัวไหม?  คุณจะมอบชีวิตให้แก่พระองค์, ด้วยความเชื่อ-เหมือนเด็กเล็ก ไหม?

 

เกี่ยวกับหลักฐานทางโบราณคดีที่สนับสนุนเรื่องราวของพระคัมภีร์ไบเบิล, Mark Cahill พูดว่า, “มีมากว่า ๒๕,๐๐๐ ชิ้นทางโบราณคดีที่หาพบที่สนับสนุนในเรื่องของ บุคคล, คำเรียกของพวกเขา, และสถานที่ที่กล่าวถึงในพระคัมภีร์ไบเบิล  Nelson Glueck, นักโบราณคดีที่มีชื่อเสียงชาวยิว,  เขียนว่า‘มันสามารถกล่าวได้อย่างเด็ดขาดว่าไม่มีการค้นพบทางโบราณคดีใดที่โต้แย้งการอ้างถึงในพระคัมภีร์ไบเบิลเลย’” (Cahill 65) “Lionel Luckhoo (๑๙๑๔-๑๙๗๗) เป็นนักกฎหมายที่มีชื่อเสียงและภายหลังเป็นผู้ประกาศคำสอนของพระเยซูคริสต์, ผู้ที่ซึ่ง หนังสือบันทึกสถิติโลกกินเนสส์ (Guiness Book of World Records) ในรายชื่อผู้ชนะการตัดสินให้พ้นโทษในการสอบสวนคดีฆาตกรรม ติดๆกันมากที่สุด, ถึง ๒๔๕ ครั้ง... ‘ผม(Lionel) ใช้เวลากว่า ๔๒ ปี ในการเป็นทนายต่อสู้คดีในหลายๆแห่งของโลกและผมยังคงปฏิบัติอยู่อย่างนั้น ผมพูดไม่อ้อมแอ้มในหลักฐานการฟื้นคืนชีวิตของพระเยซูคริสต์เจ้าที่ทรงอานุภาพที่มันพลังดันความยอมรับโดยการพิสูจน์ซึ่งทิ้งไว้ด้วยความแน่นอน ซึ่งไม่มีห้องให้สำหรับความไม่แน่ใจ’”  http://www.conservapedia.com/Lionel_Luckhoo

 

พระเยซูคริสต์เจ้าเป็นพระเจ้าผู้ทรงมหิทธิฤทธิ์ในเนื้อหนัง  พระเยซูเป็นผู้ทรงสร้างจักรวาล  พระองค์อยู่ร่วมกับพวกเรามาเป็นเวลา ๓๓ ปี, ทรงทำอัศจรรย์, ทรงรักษาผู้คน, ขับผีปีศาจ, สอนด้วยสิทธิอำนาจ, ถูกตรึงกางเขน, ถูกวางในอุโมงค์, และทรงเป็นขึ้นจากความตายในวันที่สาม  สาวกของพระองค์ยืนยันเป็นพยานของการฟื้นคืนชีวิตของพระองค์ด้วยหยาดโลหิตของเขาที่มาจากการข่มเหง คำพยากรณ์หลายร้อยคำมาก่อนพันธกิจของพระเยซูคริสต์และถูกทำให้สำเร็จด้วยพระองค์  คำพยากรณ์ส่วนมากนี้ ได้ถูกให้ไว้ก่อนพระพุทธเจ้าจะเกิด  พระเยซูคริสต์ไม่ได้เป็นคนตายเหมือนผู้นำศาสนาคืนอื่น, แต่ว่าพระองค์ยังทรงมีชีวิตอยู่  พระองค์เป็นผู้เดียวที่มีสิทธิอำนาจในการชำระล้างเราจากความบาปและรับเราสู่สวรรค์  แต่, ผู้ใดที่ปฏิเสธพระองค์เป็นการปฏิเสธความจริง ที่ผู้นั้นชื่นชอบคำเท็จมากกว่า คุณรักความจริงไหม? พระเยซูตรัสว่า “และท่านทั้งหลายจะรู้จักความจริง และความจริงนั้นจะทำให้ท่านทั้งหลายเป็นไทย” (ยอห์น ๘, ๓๒) พระเยซูเป็นทางนั้น, เป็นความจริงและเป็นชีวิต คุณตั้งใจที่จะตามพระเยซูคริสต์ไม่ว่าอะไรก็ตามหรือไม่? อย่างไรก็ตามความรอดเป็นสิ่งที่พระเจ้าให้ฟรี, แต่มีการเสียสละบ้างเพื่อยอมให้พระเจ้าเป็นองค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา, อย่างเช่นสูญเสียการยอมรับจากผู้คนรอบตัวเรา แต่มีการสูญเสียที่ใหญ่กว่าสำหรับการละเลยและไม่ยอมรับรู้ทางของพระเยซู-- คนอย่างนั้นไม่รู้จักเจ้าของสวรรค์และเขาจะไม่ได้ไปสวรรค์  ได้รับการยอมรับจากพระเจ้าเป็นการยอมรับที่สำคัญที่สุดที่คุณจะได้รับ คุณประสงค์ที่จะวางความเชื่อของคุณในองค์พระเยซูคริสต์วันนี้หรือไม่?

 

References

Cahill, M. (2005).  One Heartbeat Away:  Your Journey Into Eternity.  Rockwall: BDM Publishing.

Childers, R.C.  (1979).  A Dictionary of the Pali Language.  New Delhi:  Cosmo Publications.

Herman, A.L.  (1996).  Two Dogmas of Buddhism.  In Pali Buddhism Hoffman, F.J., Mahinda, D. (Eds.)  Surrey:  Curzon Press.

  1. Hinuber, Oskar. (1996). A Handbook of Pali Literature.  Berlin:  Walter de Gruyter.

Jones, J.G.  (1979).  Tales and Teachings of the Buddha:  The Jataka Stories in relation to the Pali Canon.  London:  George Allen & Unwin.

Keown, D.  (2000).  Buddhism:  A very short introduction.  Oxford:  Oxford University Press.

King, W.L.  (1989).  A Thousand Lives Away:  Buddhism in contemporary Burma.  Berkeley:  Asian Humanities Press.

Ling, Trevor. (1979).  Buddhism, Imperialism and War.  London:  George Allen & Unwin.

Odzer, C.  (1998).  Abortion and Prostitution in Bangkok.  In Buddhism and Abortion.  Keown, D. (Ed.).  Great Britain:  Macmillan Press Ltd.

Rahula, W.  (1999).  What the Buddha Taught.  Bangkok:  Haw Trai Foundation.

Robinson, R.H., Johnson, W.L., Wawrytko, S.A., & DeGraff, G.  (1997).  The Buddhist Religion:  A Historical Introduction.  Belmont:  Wadsworth Publishing Company.

Schaeffer, F.  (1972).  He Is There And He Is Not Silent.  London:  Hodder and Stoughton.

Strong, J.S.  (1995).  The Experience of Buddhism:  Sources and Interpretations.  Belmont:  Wadsworth Publishing Company.

Swearer, D.K. (1995).  The Buddhist World of Southeast Asia.  Albany: State University of New York Press.

The Pali Canon:  Pali Text Society Version.  Abbreviations of Pali Text Society books, with Pali titles in parentheses: V = Book of Discipline (Vinaya Pitaka); GS = Gradual Sayings (Anguttara Nikaya); D = Dialogues of the Buddha (Digha Nikaya); KS = Kindred Sayings (Samyutta Nikaya); MLS = Middle Length Sayings (Majjhima Nikaya); JS(S) = Jataka Stories (Jataka).

Vajiranana, P. (1987).  Buddhist Meditation in Theory and Practice:  A General Exposition According to the Pali Canon of the Theravada School.  Kuala Lumpur:  Buddhist Missionary Society.

Veidlinger, D.M. (2006).  Spreading the Dhamma:  Writing, Orality and Textual Transmission in Buddhist Northern Thailand.  Bangkok:  O.S. Printing House.

 

Websites

http://en.wikipedia.org/wiki/Basic_Points_Unifying_the_Theravada_and_the_Mahayana

http://www.comparativereligion.com/reincarnation1.html

http://www.buddhistische-gesellschaft-berlin.de/downloads/brokenbuddhanew.pdf

http://www.buddhapadipa.org/plinks/MHAR-6ELBY2

http://en.wikipedia.org/wiki/Mindon_Min

http://www.accesstoinsight.org/tipitaka/kn/ud/ud.2.01.irel.html

http://www.answersingenesis.org

http://www.conservapedia.com/Lionel_Luckhoo

 

 

 

สิบคำถามสำหรับเพื่อนที่เป็นชาวพุทธ

โดย สก๊อต โนเบิล ()  27 พฤศจิกายน 2014

แปลโดย วีรวัจน์  เกียรติกุลพัฒนา ()

Copyright © 2024 Moriel - God is my Teacher. All Rights Reserved.

This Joomla Site is Maintained by Cybersalt Consulting LTD.