สำหรับเอกสารนี้ผมจะเน้นดูที่พุทธศาสนาแบบเถรวาท(หินยาน), เพราะว่าพุทธศาสนานิกายนี้, พบส่วนใหญ่ใน ศรีลังกา, ไทย, พม่า, กัมพูชา และ ลาว, ซึ่งอ้างว่ามีความคล้ายคลึงกับคำสอนต้นฉบับของพระพุทธเจ้าศักยามุนี1 ที่ใกล้เคียงมากที่สุด นิกายอื่นๆ ก็อ้างอย่างนี้เช่นกัน, แต่กล่าวตามประวัติศาสตร์แล้ว (ไม่ใช่กล่าวตามความลึกลับ),
นิกายเถรวาทดูเหมือนว่ามีหลักฐานมากที่สุดที่อ้างว่าคล้ายกับคำสอนของพระพุทธเจ้า มากมายของสิ่งที่ได้เขียนเกี่ยวกับพุทธศาสนาแสดงให้เห็นถึงภาพคำสอนศาสนาพุทธที่ดูดีเลิศและพูดถึงแค่บางส่วน นี่เป็นสิ่งยากที่จะหลีกเลี่ยงเพราะหัวข้อกว้างใหญ่มาก, แต่มีหลายคนจดจ่อในทางแง่บวกต่างๆของพุทธศาสนา, โดยละเว้นหัวข้อที่ยากกว่า ในเอกสารฉบับนี้ผมไม่ได้อ้างว่าจะให้การบรรยายภาพที่ครอบคลุมทั้งหมด, แต่ผมจะพยายามที่จะเน้นถึงบางอย่างที่รู้จักกันน้อยและเป็นปัญหาของศาสนาพุทธ, เพื่อแสดงให้เห็นว่ามันเป็นระบบที่ชวนให้หลงใหล, แต่ไม่ใช่สิ่งที่จะช่วยใครเติมเต็มจุดหมายในชีวิตได้ ผมจะทำการเปรียบเทียบบางส่วนระหว่างศาสนาพุทธแบบเถรวาทกับศาสนาคริสต์ตามหลักการของพระคัมภีร์ไบเบิลด้วย เอกสารนี้จะนำเสนอภายใต้แปดหัวข้อย่อย, คือ ไม่มีวิญญาณ (อนัตตา)2, การเกิดใหม่, นิพพาน,
กรรม, ผู้หญิง, การทำสมาธิ, วิทยาศาสตร์และพระเจ้า
นักปรัชญาชื่อ เรอเน เดการ์ต (René Descartes) เป็นที่รู้จักในวลีที่ว่า, “เพราะฉันคิด ฉันจึงมีอยู่” แต่พุทธศาสนาได้สรุปอย่างตรงข้ามด้วยแนวคิดที่ว่า “ฉันไม่ได้เป็น” ในหนังสือของ จอห์น การ์เรต โจนส์ (John Garrett Jones) พูดว่า,“นิทานชาดกและคำสอนของพระพุทธเจ้า: นิทานชาดกในความสัมพันธ์กับพระไตรปิฎก,” โจนส์ได้มองไปถึงคำสอนต่างๆของพระพุทธเจ้า, อย่างที่เห็นในนิทานชาดก3, และเปรียบเทียบกับ ๔ นิกาย4 ดั้งเดิมที่อยู่ในพระไตรปิฎก5 I.B. Horner, อดีตประธานสมาคมพระไตรปิฎก (Pali Text Society), ได้ให้คำแนะนำในส่วนคำนำของหนังสือของโจนส์ว่า: “คุณโจนส์มีความช่ำชองในเรื่องชาดกและพระไตรปิฎกทั้งสอง, ดังนั้นจึงสามารถที่จะเขียนออกมา ไม่ใช่ด้วยความเรียบง่ายที่ชัดเจนเท่านั้น แต่ด้วยความเหมาะสมและแม่นยำและคำอ้างอิงที่น่าเชื่อถืออีกด้วย” (vii) โจนส์ในบทหนึ่งเกี่ยวกับการเกิดใหม่, ซึ่งเอ่ยถึงหลักคำสอนของ “การไม่มีวิญญาณ,” ตามความเชื่อดั้งเดิมบอกว่า, วิญญาณต่างๆ ไม่ได้เกิดใหม่, เพราะว่าพุทธศาสนาไม่ได้เชื่อว่ามีวิญญาณถาวร: “การมีสติสัมปชัญญะ (วิญญาณ) เป็นหนึ่งใน ๕ ขันธ์6 ซึ่งจะสลายเมื่อตายไป ขาดจากพื้นฐานทางกายภาพ, หรือ, ถ้าเราอยากจะพูดว่า, ความสัมพันธ์ทางกายภาพ, มันจะสามารถมีชีวิตรอดจากความตายได้อย่างไร? ใน มัชฌิมนิกาย [เล่มที่หนึ่งหน้า 313, 320f ฉบับภาษาอังกฤษ] ในความจริงโคตมพุทธเจ้าได้ปฏิเสธอย่างแรงกล้าต่อ‘ความคิดนอกรีต’แห่งความมีสติที่ยืนหยัด(๓๔)
หลักคำสอนเรื่อง “การไม่มีวิญญาณ” ทำลายรากฐานของนิทานชาดกทั้งหมด, เพราะมันอ้างว่าเป็นเรื่องการเกิดใหม่ของพระพุทธเจ้าศักยามุนี ถ้าไม่มีวิญญาณ, อะไรคือจุดเชื่อมโยงระหว่างชีวิตหนึ่งไปยังอีกชีวิตหนึ่ง? คำตอบที่มักจะให้แก่คำถามนั้นคือกรรมที่เราได้แบกรับยังชีวิตต่อไป แต่, “กรรม” นี้ยึดตัวกับอะไร, ถ้าไม่ใช่กับคนที่สมควรจะได้รับกรรมนั้น? Daniel J. Gogerly ในการตีพิมพ์เมื่อปีคริสต์ศักราช ๑๘๘๕ เรื่อง “หลักฐานและหลักคำสอนของคริสตศาสนา” (หลังจากที่ได้ศึกษาภาษาบาลีถึง ๔๔ ปี) เขียนไว้ดังนี้คือ:
พุทธศาสนาเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าได้สอน, และซึ่งพบในสูตร7ของเขา และไม่ใช่สิ่งที่ผู้คนจะยึดถือ ผู้ซึ่งไร้เดียงสาเกี่ยวกับคำสอนเหล่านี้ เราจะพิสูจน์ในตัวอย่างแรกที่พระพุทธเจ้าสอนว่า, บุคคลนั้น ผู้ซึ่งเป็นผู้กระทำการต่างๆที่ได้ถูกปฏิบัติ ไม่ใช่บุคคลเดียวกันผู้ซึ่งได้รับรางวัลหรือถูกลงโทษ: ที่การเชื่อมโยงนั้นไม่ใช่ระหว่างคนที่กระทำการปฏิบัติ, และผลดีหรือผลชั่วมาจากการกระทำนั้นๆ, แต่เป็นระหว่างการกระทำปฏิบัติและผลลัพธ์ในตัวของมันเอง, ใครก็ตามอาจจะเป็นผู้รับผลลัพธ์เหล่านั้น นี่เป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับทุกหลักแห่งความยุติธรรมที่รู้จักกันดี, ซึ่งเกี่ยวด้วยผู้ปฏิบัติที่กระทำการดีด้วยรางวัล, แต่ว่าในพุทธศาสนา รางวัลจะตามการกระทำดี, แต่ คนกระทำการดีอาจจะไม่ใช่คนที่รับรางวัลนั้น ผลลัพธ์นี้มาจากหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ว่าไม่มีวิญญาณในมนุษย์ที่จะส่งผ่านออกจากร่างเดิม, แต่ว่าทั้งหมดของมนุษย์;– ทั้งหมดของเบญจขันธ์8จะสิ้นสุดที่ความตาย” (๕๔-๕๕)
ความเชื่อในอนัตตาอาจหมายถึง, เช่น, เมื่อ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ตาย, “ขันธ์” ของเขาสิ้นสุดลง, และจากนั้นกรรมชั่วอย่างใหญ่หลวงของเขาจะไปติดที่ใครบางคนหรือบางสิ่ง (อาจจะเป็นแมลงชั้นต่ำ), โดยไม่มีจิตสำนึกเลยของการกระทำชั่วที่ได้ทำ, หรือเหตุผลสำหรับการทนทุกข์ที่เกิดขึ้น สิ่งนี้เรียกว่าความยุติธรรมได้ไหม? ใครถูกทำโทษ? ใครเป็นผู้ได้รับรางวัลในระบบนี้? เมื่อคำว่า “ตน” ที่ใช้ในพุทธศาสนา, เช่น “การปรับปรุง-ตนเอง”, “ตนเป็นที่พึ่งของตน”, อื่นๆ...,
คำนี้ถูกใช้เพื่อประโยชน์ของความสะดวกสบาย, แต่ไม่ได้หมายถึงตัวตนถาวร Walpola Rahula, เขียนใน “พระพุทธเจ้าสอนอะไร”, ซึ่งตอบสนองต่อคนทั้งหลายที่พยายามชี้ให้เห็นตนเองหรือวิญญาณในพุทธศาสนา:
“ความขัดแย้งของบุคคลผู้ต้องการค้นหาอัตตา (self) ในทางพระพุทธศาสนา จะได้กล่าวต่อไปข้างหน้า เป็นการถูกที่พระพุทธเจ้าทรงวิเคราะห์ ความมีความเป็นในรูป (matter)เวทนา (sensation) สัญญา (perception) สังขาร (mental formations) และวิญญาณ (consciousness) เขายังได้พูดอีกว่า บรรดาสิ่งเหล่านี้ไม่มีอะไรเลยที่เป็นอัตตา แต่เขาก็มิได้ตรัสไว้ว่า ไม่มีอัตตาเลยแม้แต่น้อยในตัวมนุษย์หรือนอกตัวมนุษย์ ที่แยกไปจากขันธ์ ๕ เหล่านี้ ข้อนี้เป็นด้วยเหตุผล ๒ ประการคือ :- ๑. ตามหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา สิ่งมีชีวิตประกอบด้วยขันธ์ ๕ เท่านั้น นอกจากนี้ไม่มีอะไร และไม่มีที่ไหนเลยที่เขาได้พูดไว้ว่ายังมีบางสิ่งนอกจากขันธ์ ๕ เหล่านี้ในสิ่งมีชีวิต ๒. ในที่หลายแห่ง เขาได้ปฏิเสธอย่างกล้าหาญถึงข้อที่ว่า อาตมัน9 วิญญาณ อัตตา มีอยู่ในตัวมนุษย์หรือนอกตัวมนุษย์ หรือในที่แห่งอื่นใดในจักรวาล” (๕๖-๕๗)
ทั้งๆที่ คำสอนที่ว่าไม่มีวิญญาณ, แต่ มีการเกิดใหม่, ศักยามุนีพุทธเจ้ายังยึดมั่นในความเชื่อมั่นที่ว่าจักรวาลนี้ไม่ไร้ศีลธรรม ในเรื่องนี้, โจนส์ได้สรุปว่า: “เขา[พระพุทธเจ้า]ไม่สามารถอ้างว่าความเชื่อนี้มีพื้นฐานถูกต้องในส่วนคำสอนที่ตามเหตุผลและวิเคราะห์ได้; จริงๆแล้ว, มันคงจะไม่แรงเกินไปสำหรับผมที่จะพูดว่ามันมีความขัดอย่างเข้ากันไม่ได้แบบไร้ความหวังระหว่างสองอย่างนี้” (๓๖) แต่, ถ้าไม่มีวิญญาณ, ทำไมพุทธศาสนิกชนจึงเดินตามหนทางที่ห่างไกลอย่างนั้นเพื่อที่จะเป็นอิสระจากการเกิดใหม่, และทำไมถึงพูดกันว่าศักยามุนีได้อ้างถึงเวลา “การเกิดครั้งสุดท้าย” ของเขา(ทีฆนิกายเล่มที่สอง, หน้า ๑๒ ในฉบับภาษาอังกฤษ), ว่ามันเป็นการเกิดครั้งสุดท้ายของเขา? การเกิดครั้งสุดท้ายของใคร[ถ้าไม่มีวิญญาณ]? “เพราะถ้าผู้ใดจะได้สิ่งของสิ้นทั้งโลกแต่ต้องสูญเสียจิตวิญญาณของตนผู้นั้นจะได้ประโยชน์อะไรหรือผู้นั้นจะนำอะไรไปแลกเอาจิตวิญญาณของตนกลับคืนมา” (มัทธิว ๑๖:๒๖)
การเกิดใหม่
ในเรื่องราวอันเป็นที่นิยมของการเกิดครั้งสุดท้ายของศักยามุนีและการสละความปรารถนาทางโลก, ก็มีบางคำถามเกิดขึ้น ถ้าศักยามุนีได้ผ่านชีวิตมาแล้วเกือบนับไม่ถ้วนก่อนมาถึงชาติสุดท้าย, ทำไมบิดาของเขาจึงต้องปกป้องเขาจากด้านแห่งความลำบากของชีวิต- ทำไมศักยามุนีจึงตกใจกลัวในด้านของความตาย, ความยากจน, และอายุแก่เฒ่า, เมื่อท้ายที่สุดแล้วเขาได้ออกไปจากพระราชวังที่จะเห็นสิ่งนั้นด้วยตัวเขาเอง? ถ้าเราอ้างนิทานชาดกเป็นจริงตามประวัติศาสตร์, เขาคงคุ้นเคยเลยทีเดียวกับทั้งปวงของความยากลำบากของชีวิตจริงเหล่านี้- ตามที่นิทานชาดกได้กล่าวไว้, บางครั้งเขาเป็นผู้ร่วมกระทำในด้านโหดร้ายของชีวิต “…ภายในกลุ่มนี้มีหนึ่งซึ่งพรรณนาถึงโพธิสัตว์10 ตัวเขาเองเป็นอยู่, ในทางหนึ่งหรือทางอื่น, พัวพันในการฆ่าหรือทำให้บาดเจ็บ ชาดกที่เกี่ยวข้องคือ JSS 93, 128, 129, 152, 178, 233, 238, 246, 315, 319, 384” (โจนส์, ๖๑) ท่ามกลางเรื่องราวชาดก ๕๔๗ ชาติ, เขาได้เคยเป็นนักปล้นสองครั้ง, นักพนันหนึ่งครั้ง, และงูยักษ์สองครั้ง (โจนส์, ๑๘-๑๙) เขาคงจะคุ้นเคยด้วยกับการทนทุกข์ตามชาดกที่ ๕๓๘,ในสภาพที่เขาต้องใช้เวลาถึง ๘๐,๐๐๐ ปี ใน อุสสทนรก11 (โจนส์, ๔๓) ดังนั้น ทำไมศักยามุนีจึงประหลาดใจมากด้วยความเป็นจริงแห่งความตายหรือความทุกข์, ราวกับว่าเขาไม่เคยประสบหรือเห็นสิ่งเหล่านี้มาก่อน? คำตอบโดยทั่วไปสำหรับคำถามนี้ก็คือชาติก่อนต่างๆ นั้นจะต้องได้รับการจดจำในสภาพของการทำสมาธิ, เมื่อจิตใจเป็นอิสระจากภาวะจิตที่ว้าวุ่น, และมีความสามารถมากยิ่งขึ้นในการที่จะเอื้อมไปถึงระดับที่ลึกของความทรงจำนี้ แต่ว่าจิตใจจะมีการสะสมข้อมูลเช่นนั้นได้อย่างไรเมื่อจิตใจและทุกสิ่งของที่คนพูดกันว่าประกอบเข้าด้วยกัน (๕ ขันธ์) ว่าไม่สามารถรอดจากความตายได้? โดยแท้จริง, เรื่องราวอันนิยมของสละทางโลกของพระพุทธเจ้าไม่พบในพระไตรปิฎก
ในพระไตรปิฎก, พระพุทธเจ้าเมื่อยังเป็นทารก ได้ถูกกล่าวว่า ได้เดินอย่างตั้งตัวตรงและประกาศว่านั่นคือการเกิดครั้งสุดท้ายของเรา: “เราเป็นผู้เลิศในโลก, เราเป็นผู้เจริญที่สุดในโลกเราเป็นผู้ประเสริฐที่สุดในโลกการเกิดครั้งนี้เป็นการเกิดครั้งสุดท้าย” (ทีฆนิกาย, ฉบับภาษาอังกฤษ DII, หน้า ๑๒] เด็กทารกจะพูดอย่างเป็นผู้ใหญ่ด้วยถ้อยคำสูงส่งเหล่านั้นได้อย่างไร ถ้าไม่มีวิญญาณถาวร? ตามคำสอนที่ไม่มีวิญญาณถาวร ปัญหาของอนัตตายังคงอยู่ ซึ่งตรงข้ามกับที่เด็กทารกพูดเหมือนมีวิญญาณถาวร
เกี่ยวกับคำสอนที่เข้ากันไม่ได้ระหว่างอนัตตาและการเกิดใหม่ ทิ้งให้คนไม่พอใจโดยไม่ได้ตามเหตุผล, ในขณะเดียวกันมีความพยายามจะปลอบใจสติรู้ผิดรู้ชอบด้วยศีลธรรมที่ประดิษฐ์ขึ้นมา: “เมื่อมีคำเสนอสองอย่างขัดแย้งกัน, ทางแก้ไขที่เป็นไปได้ง่ายที่สุดก็คือ การไม่ใส่ใจอย่างหนึ่งในนั้น- ซึ่งที่ชาดกได้ทำอย่างเป๊ะๆ ไม่มีความขัดแย้งในชาดก ระหว่างคำสอนของอนัตตา (ไม่มีวิญญาณ) และคำสอนที่มีชีวิตหลายตอนของบุคคลคนเดียวกันเพราะว่าคำสอนของอนัตตาไม่ได้ถูกใส่ใจ” (โจนส์, ๓๙) ศักยามุนีไม่ต้องการปล่อยให้ศีลธรรมหายไป, แต่ว่าระบบของเขาก็เป็นระบบหนึ่งที่นำผู้คนไปสู่ความขัดแย้ง, ทั้งในแง่ไม่ได้ตามเหตุผลและในแง่ “การรับผลดี-ผลร้าย”-คนกระทำชั่วและคนกระทำดีทั้งสองได้ถูกพูดว่าไม่มีวิญญาณเชื่อมโยงระหว่างชีวิตหนึ่งไปยังอีกชีวิตหนึ่ง- และดังนั้น ผู้ที่ได้รับ “ผลใดๆ” ไม่สมควรที่จะได้ “รับ”มัน
เราควรคิดอย่างไรกับบางคนที่อ้างว่าได้เกิดใหม่?, Ernest Valeaในบทความออนไลน์ “Past-life recall as modern proof for reincarnation,” (www.comparativereligion.com/reincarnation1.html)ได้อ้างถึง Ian Stevenson, ผู้ซึ่งเป็นหนึ่งในสิทธิอำนาจลำดับต้นๆในวงความรู้การวิจัยเกี่ยวกับการเกิดใหม่/การกลับชาติมาเกิด:
“ในประสบการณ์ของข้าพเจ้า, เกือบทั้งหมดของสิ่งที่เรียกว่าบุคลิกภาพต่างๆในชาติก่อนที่ถูกปลุกขึ้นมาผ่านทางการสะกดจิตเป็นการจินตนาการทั้งหมดและผลลัพธ์ของความกระหายของคนไข้ที่จะเชื่อฟังคำแนะนำของผู้สะกดจิต มันไม่ใช่ความลับเลยที่ว่าเราต่างก็ถูกแนะนำได้ง่ายมากภายใต้การสะกดจิต ประเภทของการสำรวจแบบนี้จะเป็นอันตรายได้ บางคนก็ตกใจกลัวสุดขีดโดยความทรงจำที่สมมุติของเขา, และในกรณีอื่นบุคลิกภาพที่อ้างว่าเป็นในชาติก่อนที่ถูกปลุกขึ้นมาจากการสะกดจิต ได้ปฏิเสธออกไปจากเขาเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน (Omni Magazine ๑๐ (๔): ๗๖ (๑๙๘๘))”
Valea ชี้ว่าปรากฏการณ์นี้เรียกว่า “กลุ่มอาการของโรคแห่งความทรงจำปลอม” และ “ศาลแห่งกฎหมายรู้สิ่งเหล่านี้ว่าเป็นอันตรายและส่วนใหญ่ไม่ยอมรับคำพยานต่างๆที่กระทำขึ้นภายใต้การสะกดจิตหรือจากพยานต่างๆที่เคยถูกสะกดจิตมาก่อน” แล้วเกี่ยวกับกรณีอื่นๆ ล่ะ, ที่ซึ่ง “ความทรงจำ” ต่างๆไม่ได้รับการถูกปลุกขึ้นมาโดยการสะกดจิต? Valea นำความสนใจเราไปสู่กลุ่มคนที่มักจะเป็นเป้าหมายสำหรับสิ่งนี้:
“เกือบทุกกรณีของคนที่ประสบความจำของชีวิตที่ผ่านมาที่เกิดขึ้นเอง โดยปรากฏในเด็กระหว่างอายุ ๒ ถึง ๕ ขวบ, เมื่อความสามารถในการเข้าใจทางวิญญาณของพวกเขาแทบจะไม่มี, โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับวิญญาณต่างๆ สถานการณ์เช่นนี้ทำให้พวกเขาง่ายต่อการที่จะมีอิทธิพลโดยวิญญาณต่างๆจากภายนอก เมื่อเด็กโตขึ้น, วิญญาณนั้นสูญเสียพลังแห่งอิทธิพลเหนือเขา, ซึ่งสามารถอธิบายได้ว่าทำไมความทรงจำในชาติที่ผ่านมาได้สูญไปหลังจากที่เขาอายุได้ ๑๐ ขวบ”
ในกรณีหนึ่งที่ Stevenson ได้วิจัย, คนหนึ่งมีสองบุคลิกภาพที่แสดงออกมาในเวลาเดียวกัน ดังเช่นในกรณีต่างๆของเด็กๆ, ที่ซึ่งการปรากฏได้เกิดขึ้นเมื่อแต่ละคนในช่วงเวลาที่อ่อนแอในชีวิตของพวกเขา (โดยเฉพาะถ้าพ่อแม่ของพวกเขาได้พาไปยังศูนย์กลางของกิจกรรมทางวิญญาณ), การถูกครอบครองโดยวิญญาณหรือบุคคลที่ทำหน้าที่เป็น “คนทรง” ก็น่าที่จะเป็นคำอธิบายที่เป็นไปได้มากกว่า การแทรกแซงนี้จากวิญญาณภายนอกแสดงให้เห็นถึงลักษณะการวิจัยเกี่ยวกับการเกิดใหม่ ที่ไม่ได้ตามเหตุผลที่พิสูจน์ได้ Valea สรุปด้วยข้อสรุปของ Stevenson ว่า:
“ด้วยเหตุนี้ Ian Stevenson, นักวิจัยที่รู้กันกันเป็นอย่างดีของปรากฏการณ์นี้, ได้ถูกบังคับให้ยอมรับในหนังสือของเขา Twenty Cases Suggestive of Reincarnation ที่กรณีที่เขาศึกษา, อย่างที่ชื่อหนังสือของเขาได้บ่งบอกไว้, เป็นเพียงแค่การแนะนำการกลับชาติมาเกิดเท่านั้นและไม่สามารถอ้างว่าเป็นการพิสูจน์สำหรับสิ่งนั้น Stevenson ยอมรับว่า: ‘ทุกกรณีที่ข้าพเจ้าได้สำรวจถึงเดี๋ยวนี้มีข้อบกพร่อง แม้กระทั่งนำมารวมกัน, พวกมันก็ไม่ได้เสนออะไรที่เราอ้างว่าเป็นการพิสูจน์ได้’ (Omni Magazine ๑๐(๔): ๗๖ (๑๙๘๘) ถ้านี่คือสภาพกรณีนี้, พวกเขาก็เป็นการแนะนำของการถูกครอบครองของวิญญาณด้วย”
การเห็นถึงความเป็นไปได้ของวิญญาณต่างๆ จากภายนอกที่จะมาหลอกลวงในทางนี้, เราจะนึกเอาได้อย่างไรว่าพระสงฆ์หรือแม่ชีที่กำลังทำสมาธิจะได้รับการยกเว้นจากอิทธิพลภายนอกนี้? การทำสมาธิจริงๆแล้วเป็นการเปิดประตูกว้างให้กับอิทธิพลเหล่านั้น พระสงฆ์หรือแม่ชีอาจมีประสบการณ์กับหลายสิ่งในระหว่างการทำสมาธิของพวกเขาและนับสิ่งเหล่านั้นเป็นการยืนยันถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า เราสามารถนับว่านี่เป็นการยืนยันได้อย่างไรในเมื่อพวกเขาพยายามที่จะมี “ความทรงจำ” ต่างๆ ตั้งแต่แรก, และเมื่อประสบการณ์ต่างๆ เป็นไปตามเหตุผลของแต่ละบุคคลอย่างใหญ่หลวง? แม้ว่าคนนั้นสามารถเปิดเผยข้อมูลได้ ที่พวกเขาก็ไม่รู้โดยธรรมชาติ, ข้อมูลนี้เป็นบางสิ่งที่วิญญาณต่างๆภายนอกรู้ได้และส่งผ่านให้
ทำไมคนเราต้องอยู่ภายใต้การสะกดจิต, หรือมีความคิดที่ไม่สามารถวินิจฉัยได้เหมือนเด็ก, หรืออยู่ในสภาพที่เปลี่ยนแปลงจิตสำนึกระหว่างการทำสมาธิ, เพื่อจะมี“ความทรงจำต่างๆ”เช่นนั้น? ถ้าการเกิดใหม่ “เป็นจริง” ทำไมมันไม่ชัดเจนท่ามกลางคนเป็นพันๆล้านในโลก, โดยไม่คำนึงถึงเบื้องหลังทางวัฒนธรรม? ทำไมทารกทั้งหลายไม่สามารถพูดภาษาของ “ชาติก่อน” หรือภาษาใดก็ตามสำหรับเรื่องราวนั้น? นี่คงเป็นเหตุผลสำหรับการประดิษฐ์คิดค้นคำสอนของอนัตตา (การอธิบายถึงการบกพร่องของความทรงจำ) ที่ไม่มีความจำ ทำให้ปัญหายากลำบากเช่นนี้อยู่ในขอบเขตของศีลธรรม (ไม่มีความยุติธรรมแท้จริงโดยปราศจากวิญญาณที่ถาวร) และยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาของการไม่มีจุดเชื่อมโยงระหว่างชีวิตหนึ่งไปยังอีกชีวิตหนึ่ง “มีข้อกำหนดสำหรับมนุษย์ไว้แล้วว่าจะต้องตายหนหนึ่งและหลังจากนั้นก็จะมีการพิพากษาฉันใด” (ฮีบรู ๙:๒๗)
นิพพาน
Childer กล่าวในพจนานุกรมภาษาบาลีของเขา, เสนอคำตอบที่ชัดเจนว่านิพพานคืออะไร เขากล่าวว่า,“แต่หลักความเชื่อที่เริ่มต้นด้วยการกล่าวว่าการมีอยู่คือการทนทุกข์, ต้องจบลงโดยการกล่าวว่าการปลดปล่อยจากการมีอยู่คือความดีสูงสุด, และตามนั้นเราพบว่าการทำลายล้างนี้เป็นเป้าหมายของศาสนาพุทธ, เป็นรางวัลสูงสุดสำหรับผู้ที่ยึดมั่นในศีลอย่างสัตย์ซื่อ” (๒๖๕) คำว่า “การทำลายล้าง” อาจจะไม่เป็นคำที่ดีที่สุดในที่นี้, แต่สำหรับเหตุผลอย่างอื่นที่คนอาจจะคิด Walpola Rahula, ชี้ว่า,“นิพพานไม่ใช่การทำลายล้างของตัวเอง, เพราะว่าไม่มีตัวเองที่จะทำลายล้างได้ ถ้าเป็นเช่นนั้น, มันคงเป็นการทำลายล้างของภาพลวงตา, ของแนวคิดที่ผิดเกี่ยวกับตัวเอง” (๓๗)
ในการอธิบายถึงว่าทำไมข้อความในพระธรรมกล่าวถึงนิพพานเป็น “ความสุขอันล้นพ้น” และ “การดับสูญ” Childer แสดงให้เห็นว่าทั้งคู่หมายถึงอย่างนั้น, แต่ว่า “ความสุขอันล้นพ้น” เป็นเพียงสภาวะชั่วคราวก่อนที่จะถึงการดับสูญในที่สุด:
“ข้าพเจ้าได้แสดงให้เห็นว่าเป้าหมายของศาสนาพุทธคือการทำลายล้าง และนิพพานนั้นเป็นช่วงเวลาสั้นๆของความสุขอันล้นพ้นที่ตามมาด้วยความตายนิรันดร์ และแน่นอนที่เราคิดได้ว่าศักยามุนีควรได้ทำอรหันต์ 12 เป็นความดีสูงสุดแก่เหล่าสาวกของเขา มันอาจจะเหลือเชื่อสำหรับบางคนว่า การที่เขามีจินตนาการถึงภาวะของความสุขล้นพ้นที่บริสุทธิ์เป็นผลมาจากชีวิตที่ตามหลักธรรม, เขาควรจะทำให้มันสิ้นสุดด้วยการทำลายล้าง ที่เขาได้ทำอย่างนั้นก็แน่นอน, และมันควรได้รับการจดจำว่าการประนามของเขาเกี่ยวกับความชั่วร้ายและความทุกข์ต่อการมีอยู่นั้น ไม่เพียงต่อต้านการย้ายไปสู่ร่างใหม่เท่านั้น แต่ต่อต้านการมีอยู่ทั้งหมด และความสุขอันล้นพ้นแห่งอรหันต์นี้ ส่วนใหญ่ตั้งอยู่บนจิตสำนึกที่เขาได้ขจัดกรรมออกไป และวันใดวันหนึ่งมันอาจจะดับสูญไป” (๒๖๘)
Rahula ก็กล่าวในทำนองเดียวกันว่า นิพพานคือการดับสูญความมีอยู่: มีคำว่า “ปรินิพพาน” ที่ใช้อธิบายถึงการตายของพระพุทธเจ้าหรือพระอรหันต์ผู้ได้ตระหนักถึงนิพพาน, แต่มันไม่ได้หมายถึง “การเข้าไปสู่นิพพาน” ปรินิพพานมีความหมายง่ายๆว่า ‘การผ่านไปอย่างเต็มที่’, ‘ถูกเป่าไปอย่างเต็มที่’ หรือ ‘ดับสูญอย่างเต็มที่’ เพราะว่าพระพุทธเจ้าหรือพระอรหันต์ไม่มีการอยู่อีกหลังจากความตาย” (๔๑)
ในจักรวาลวิทยาของศาสนาพุทธ ได้ถูกพูดว่ามีถึง ๓๑ ภพแห่งการมีอยู่, ซึ่งรวมถึงสวรรค์ต่างๆ, นรกต่างๆ, โลก, อื่นๆ ในทั้งหมด ๓๑ ภพนี้, มีสวรรค์หลายภพที่เป็นสภาวะที่มีความสุขอันล้นพ้น, ไม่มีสักอันเดียวที่เป็น “นิพพาน”, เนื่องจากว่าทั้งหมดเหล่านี้ได้ถูกกล่าวว่าเอนเอียงไปตามความไม่ถาวรและการทนทุกข์ ในเมื่อสวรรค์ไม่สามารถเป็นนิพพานได้, เราเห็นอีกครั้งว่านิพพานนั้นเหนือกว่าการมีอยู่ ท่ามกลาง ๓๑ ภพของการมีอยู่, จำนวน ๒๐ ภพต้นๆ ได้ถูกพูดว่าคู่ขนานไปกับสภาวะการทำสมาธิ ในอีกนัยหนึ่ง คนที่ทำสมาธิก็ได้ทึกทักเอาว่าสามารถที่จะประสบกับจำนวน ๒๐ ภพเหล่านั้น สภาวะแห่งการทำสมาธิสูงสุดที่บุคคลหนึ่งสามารถไปถึงได้, แสดงให้เห็นใกล้เคียงมากที่สุดว่านิพพานควรเป็นอย่างไรด้วย :
“ขั้นที่เก้า เป็นที่รู้จักว่า ‘การบรรลุถึงการดับสูญ’ (นิโรธสมาบัติ) ก็ถูกเอ่ยถึงในบางแหล่งด้วย ในขั้นนี้การทำงานทางสมองทุกอย่างถูกหยุดไว้อย่างสิ้นเชิง, แม้กระทั่งการเต้นของหัวใจและการหายใจได้หยุดไป ชีวิตดำรงอยู่อย่างง่ายๆ ในรูปแบบของความร้อนที่เหลืออยู่ในร่างกาย เราถูกบอกไว้ว่า, คนหนึ่งสามารถที่จะอยู่ในสภาวะนี้หลายวัน, สุดท้ายแล้วก็ปรากฏออกมาเอง ณ เวลาที่กำหนดไว้ก่อนแล้ว สภาวะนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่ใกล้ที่สุดที่ใครก็ได้สามารถที่จะประสบกับนิพพานขั้นสุดท้ายในขณะที่มีชีวิตอยู่, และนี่ถูกบรรยายว่าเป็น “นิพพานแบบสัมผัสได้ด้วยร่างกาย” (Keown, ๙๑-๙๒)
เมื่อการทำงานต่างๆ ทางสมองถูกหยุดไว้, เราเห็นว่าสิ่งนี้ไม่ไกลเลยจากการไปสู่การดับสูญ และนี่สอดคล้องกับพระไตรปิฎกในเรื่องคำสอนของการเดินไปสู่ความสันโดษมากยิ่งขึ้นไปอีก, จนท้ายสุด บรรลุถึงจุดสูงสุดในการสันโดษจากการมีอยู่
เกี่ยวกับนิพพานในพระไตรปิฎก, Jones กล่าวว่า, “ตามที่ข้าพเจ้ารู้ว่า, ไม่มีสักคำเดียวใน สี่นิกาย ที่สนับสนุนแนวคิดนิพพานเป็นสภาวะแง่บวก, สภาวะเหนือกว่าและสภาวะความสุขอันล้นพ้น” (๑๕๒) ในเชิงอรรถของการอภิปรายนี้, Jones ให้เราเห็นว่านักวิชาการเถรวาทส่วนใหญ่ นับถือความเชื่อว่านิพพานหมายถึงความดับสูญ: “...ในเมื่อ Jayatilleke, 1963, pp. 475f, ได้นำเอามุมมองที่เหนือกว่าความสุขอันล้นพ้นของนิพพานมาใช้, ศิษย์เก่าของเขาชื่อKalupahana, 1976, pp. 87f, ตำหนิเขาต่อสิ่งนี้และยืนยันอีกครั้งถึงมุมมองของนิพพานเป็นการดับสูญนั้น (ในแวดวงของเถรวาท) เป็นมุมมองทั่วไปกว่า” (๒๐๒)
A.L. Herman ในบทความของเขา “Two Dogmas of Buddhism”13 ชี้ถึงความยุ่งยากอื่นๆ เกี่ยวกับนิพพาน, ที่เกี่ยวข้องทั้งศาสนาพุทธแบบมหายาน14และเถรวาท นิกายพุทธมหายานที่มาทีหลัง โน้มเอียงไปที่จะถือมุมมองของนิพพานว่าเป็นความสุขอันล้นพ้น, ในขณะที่นิกายพุทธเถรวาทดั้งเดิมถือว่านิพพานเป็นการดับสูญ Herman แสดงให้เห็นถึงการตีความหมายของนิพพานไม่ว่าจะเป็นไปในทางไหน, มันคือคำสอนที่นับถืออย่างเคร่งครัดที่อยู่ในสภาวะสับสน:
“สภาวะสับสนของนิพพานที่ถือว่า ถ้านิพพานถูกมองในแง่ลบว่า เป็นการไม่มีของอารมณ์ที่รุนแรง และความปรารถนา และความรู้สึกเลย ดังนั้นนี่คือเท่ากับการตาย, และใครเล่าต้องการจะติดตามเป้าหมายที่นำไปสู่ความตาย? นิพพานคือการฆ่าตัวตายในการแปลครั้งแรกนี้ ในอีกด้านหนึ่ง, ถ้านิพพานถูกมองในแง่บวกว่าเป็นการมีอยู่ของสันติสุขและความเงียบสงบ ในที่ซึ่งทั้งหมดที่ข้าพเจ้าปรารถนาได้เติมเต็ม ถ้าอย่างนั้นความปรารถนาก็ไม่จบลงหรือถูกปล่อยไป และความตั้งใจทั้งหมดของนิพพานก็ขัดแย้งกัน: นิพพานก็ไม่สอดคล้องกันในการแปลครั้งที่สอง แต่, สภาวะสับสนของนิพพานดำเนินต่อไป, นิพพานต้องถูกมองทั้งในแง่ลบหรือในแง่บวก; ไม่มีทางเลือกที่สาม บทสรุปของสภาวะสับสนเช่นนี้ก็ถือว่านิพพานเป็นการทำให้หายไปโดยฆ่าตัวตาย หรือการดำเนินต่อไปโดยไม่สอดคล้องกัน” (๑๗๐)
Herman สรุปด้วยข้อความที่มืดมนนี้: “ผลกระทบของการรักษาหลักคำสอนที่นับถืออย่างเคร่งครัดนี้ ที่พื้นฐานไม่แข็งแรง... อาจจะ(ได้ทำให้) ย้ายศาสนาพุทธออกไปจากความจริงและเหตุผลที่ได้จากประสบการณ์หรือการสังเกต และใกล้เคียงกว่าถึง ‘หลักปฏิบัติที่น่าสงสัย,’..., หรือมุ่งไปสู่ ‘การไม่ใช้เหตุผลและความคิดที่ลึกลับ’ ในที่ความจริงถูกละทิ้งโดยสิ้นเชิง” (๑๗๔) ในเชิงอรรถของบทสรุปนี้, Herman อธิบายต่อไปอีกว่า “…‘หลักปฏิบัติที่น่าสงสัย’ และ ‘การไม่ใช้เหตุผลและความคิดที่ลึกลับ,’ เป็นหนทางแน่นอนที่ตามมายึดถือโดยศาสนาพุทธทางใต้หรือพุทธนิกายเถรวาท, และในด้านหนึ่ง, และทางเหนือหรือพุทธนิกายมหายาน, ในอีกด้านหนึ่ง” (๑๗๔)
ถ้าเราจะกล่าวว่ามุมมองของนิกายมหายานที่มาทีหลังถูกต้อง, มันก็สวนทางกับพระไตรปิฎก, ที่ซึ่งพระไตรปิฎกเป็นสิ่งใกล้เคียงที่สุดในช่วงเวลาที่ศักยามุนีได้สอนไว้ ถ้าคนที่นับถือนิกายมหายาน ปรารถนาที่จะยืนยันถึงการตีความหมายที่แตกต่างออกไป, ความคิดนั้นเอาสิทธิอำนาจอะไรที่สูงกว่าพระไตรปิฎกมาเป็นรากฐาน? นี่จะเป็นการปฏิเสธสิทธิอำนาจของพระพุทธเจ้า, และพึ่งพาการสำแดงที่ลึกลับแทน ถ้าในอีกด้านหนึ่ง, เรายอมรับมุมมองในพระไตรปิฎกที่ว่า การดับสูญเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าได้สอนไว้, เราก็พูดได้อย่างตรงๆว่า, ทางแห่งพุทธศาสนาเท่ากับเป็น “ถ้าคุณเป็นคนดีจริงๆ คุณจะได้รับการดับสูญอย่างสิ้นเชิง” ก็ไม่แปลกใจเลยที่คนนับถือนิกายมหายานได้พยายามที่จะเปลี่ยนหลักคำสอนนี้, แต่ว่าก็ไร้ประโยชน์เพราะไม่มีสิทธิอำนาจใดที่จะมาสนับสนุนการอ้างอย่างนั้น สิทธิอำนาจ(พระไตรปิฎก) ที่อยู่เบื้องหลังการอ้างดั้งเดิม (ของการดับสูญ) ก็ดูเหมือนว่าขาดสิทธิอำนาจอย่างมากด้วย แทนที่จะเป็นความปรารถนาที่จะนำไปสู่การทนทุกข์, และทนทุกข์ที่เป็นคุณลักษณะนำของการมีชีวิตอยู่, ยังมีหนทางแห่งความหวังและการฟื้นฟู แทนที่จะเป็นการออกไปจากการมีชีวิตอยู่, พระเยซูคริสต์ได้เสนอหนทางที่จะดับความกระหายในการที่จะดำเนินชีวิตอย่างมีความหมายและอย่างนิรันดร์: พระเยซูตรัสตอบนางว่า “ผู้ใดที่ดื่มน้ำนี้จะกระหายอีก แต่ผู้ใดที่ดื่มน้ำซึ่งเราจะให้แก่เขานั้นจะไม่กระหายอีกเลย แต่น้ำซึ่งเราจะให้เขานั้นจะบังเกิดเป็นบ่อน้ำพุในตัวเขาพลุ่งขึ้นถึงชีวิตนิรันดร์” (ยอห์น ๔:๑๓-๑๔)
กรรม
ระบบของกรรมเป็นสิ่งที่ดึงดูดใจของผู้คนในระดับอันที่เป็นที่นิยม, ทำให้มันดูเหมือนว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นอยู่บนพื้นฐานของสิ่งที่สมควรได้รับ – ถ้าคุณทำดี, คุณจะได้รับสิ่งดี; ถ้าคุณทำชั่ว, คุณจะได้รับสิ่งชั่ว ดูราวกับว่านี่ได้อธิบายถึงความไม่เท่าเทียมต่างๆ ในโลกนี้, และสิ่งที่ดูเหมือนไม่ยุติธรรม แต่, ให้เราดูอย่างใกล้ๆ ถึงสิ่งที่เกี่ยวข้องของระบบนี้ ประการแรก, กรรม ถูกกล่าวว่าเป็นกฎธรรมชาติอย่างเช่น กฎแรงโน้มถ่วง, เพียงแต่มันควบคุมทางศีลธรรมแทนที่จะควบคุมสสาร, แม้กระทั่งสสารก็ได้ถูกพูดว่าถูกกระทบด้วย ถ้ามันเป็นเพียงกฎธรรมชาติ, นั่นหมายถึงว่ามันต้องมีความผิดพลาดอยู่บ้างเหมือนกฎของพันธุกรรม เราจะไว้วางใจในระบบเช่นนี้ได้อย่างไร? พูดถึงสภาวะยากลำบากเช่นนี้, John Jones ชี้ว่า, “ศีลธรรมของผลที่ตามมาของกรรมนั้นดูราวกับเป็นปัญหาลักษณะของสิ่งที่ไม่มีบุคลิกภาพและไม่มีความสัมพันธ์อย่างชัดเจนของกระบวนการกรรม เพราะว่า, ถ้านี่เป็นกระบวนการเกี่ยวกับศีลธรรม, ประเภทเดียวของศีลธรรมที่ซึ่งเรามีหลักฐานจากการทดลองหรือสังเกตเป็นศีลธรรมที่เกี่ยวข้องกับบุคลิกภาพ โดยเหตุฉะนั้น มีขัดแย้งกันระหว่างลักษณะที่ไม่มีบุคลิกภาพและไม่มีความสัมพันธ์ของกรรม และลักษณะศีลธรรมของกรรม” (๓๗)
ผลกระทบที่อ้างว่ามาจากของกรรมที่ถูกเขียนไว้ด้วยในพระไตรปิฎก (Middle Length Sayings III, p. ๒๔๘-๒๕๓ [มัชฌิมนิกาย]): “พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง เป็นคนเหี้ยมโหด มีมือเปื้อนเลือด หมกมุ่นในการประหัตประหาร ไม่เอ็นดูในเหล่าสัตว์
มีชีวิต เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีอายุสั้น ดูกรมาณพปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีอายุสั้นนี้ คือ เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง เป็นคนเหี้ยมโหด มีมือเปื้อนเลือด หมกมุ่นในการประหัตประหาร ไม่เอ็นดูในเหล่าสัตว์มีชีวิต ฯ.... ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นคนมักโกรธ มากด้วยความแค้นเคือง ถูกเขาว่าเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคืองพยาบาท มาดร้าย ทำความโกรธ ความร้าย และความขึ้งเคียดให้ปรากฏ เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อมสมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีผิวพรรณทราม ดูกรมาณพปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีผิวพรรณทรามนี้ คือ เป็นคนมักโกรธ มากด้วยความแค้นเคืองถูกเขาว่าเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท มาดร้าย ทำความโกรธ ความร้ายและความขึ้งเคียดให้ปรากฏ ฯ.... ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตามย่อมไม่เป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อาศัยเครื่องตามประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติวินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลังจะเป็นคนมีโภคะน้อย ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโภคะน้อยนี้ คือ ไม่ให้ข้าวน้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย เครื่องตามประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์ ฯ....”
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?book=14&item=596
พระไตรปิฏกได้อ้างชัดเจนถึงสาเหตุต่างๆ ของอายุสั้น, ผิวพรรณทราม, มีโภคะน้อย , และอื่นๆ จากการกระทำ, คำพูดหรือความคิดที่ไม่ดีที่ได้ทำไปในชาติก่อน นี่คือแนวทางที่กรรม อธิบายถึงความไม่เท่าเทียมกันในชีวิต- ตามที่มนุษย์สมควรได้รับ ในระบบนี้คนยากจนสมควรยากจน, คนรวยสมควรรวย, อื่นๆ รูปแบบความคิดแบบนี้ ดูเหมือนกับวางคนพิการในหมวดหมู่เดียวกับกับฆาตกรในคุก, และบุคคลที่มีทรัพย์สมบัติมากมายในหมวดหมู่วีรบุรุษ บทสรุปเหล่านี้ไม่มีเหตุผลอันสมควร
คำสอนศาสนาพุทธได้อ้างว่าผลกระทบทางศีลธรรมทั้งหมดที่ซับซ้อนในชีวิตของบุคคลหนึ่งได้ถูกบันทึก, ไม่ใช่โดยคนที่มีสติปัญญา, แต่โดยอำนาจพลังงานเท่านั้น ดังนั้น, เพื่อจะทำให้ปัญหาใหญ่ขึ้น, บุคคลที่ตายไปนั้นได้ถูกพูดว่าไม่มีจิตวิญญาณ, ก่อให้เกิดคำถามว่าบัญชีธนาคารทางศีลธรรมที่สะสมไว้จะถูกโอนไปชีวิตใหม่ได้อย่างไร? กรรมคือสติรู้ผิดรู้ชอบของระบบชาวพุทธ, แต่ว่าการทำงานปฏิบัติและการมีอยู่นั้นถูกทิ้งไว้โดยไม่ได้อธิบาย Jones เขียนเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าว่า “เขาดูเหมือนเชื่อมั่นว่า, แม้ว่าส่วนของคำสอนที่ตามแบบเหตุผลและส่วนวิเคราะห์ของเขา- โดยเฉพาะหลักคำสอนของอนัตตา- ดูเหมือนจะปฏิเสธศีลธรรม, กฎต่างๆ ที่ควบคุมชีวิตที่สามารถรู้สึกได้ในดาวดวงนี้และไกลออกไป ไม่ใช่ไร้ศีลธรรม” (๓๖) พระพุทธเจ้าไม่สามารถปฏิเสธศีลธรรม, และกระนั้น เขาก็ไม่สามารถทำให้สอดคล้องกันกับหลักคำสอนของเขา นอกเหนือจากความคิดยุ่งยากเหล่านี้, เราควรจะถามตัวเราเองว่า, จริงๆ แล้วเราต้องการในสิ่งที่เราสมควรได้รับ, ใช่หรือไม่?
ระบบของกรรมเป็นระบบที่นึกเอาว่าการกระทำดีสามารถลบล้างการกระทำชั่วได้, เหมือนกับบัญชีธนาคารแห่งคุณความดีซึ่งสามารถเพิ่มเข้าหรือเอาออกได้ การให้เหตุผลเยี่ยงนี้ประยุกต์ต่อศีลธรรม ไม่สามารถใช้การได้ในศาลกฎหมาย (ผู้พิพากษาทั้งหลายจะไม่ยกโทษผู้กระทำผิด โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของการเอาการกระทำดีมาลบล้างการกระทำชั่วในชีวิตของจำเลย) ถ้าพูดตามพระคัมภีร์ของคริสเตียนแล้ว, ศีลธรรมไม่ใช่เหมือนกับบัญชีธนาคารที่สามารถทำให้ยกยอดถอนการกระทำไม่ดีออกจากการกระทำดี, ในทำนองเดียวกันแต่กลับกัน แน่เลยทีเดียว, ศีลธรรมเป็นกลุ่มหน้าที่ของคนที่ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ เด็กๆ มีหน้าที่ที่แน่นอนในการเคารพนับถือบิดามารดา, อย่างที่บิดามารดามีหน้าที่ที่จะดูแลเด็กของพวกเขา สามีและภรรยา, เพื่อนๆ, คนงานและลูกจ้างทั้งหลาย, และคนอื่นๆ ต่างก็มีหน้าที่ต่อกันและกัน ถ้าสามีไม่สัตย์ซื่อต่อภรรยา, แต่เขาให้ของขวัญที่ยอดเยี่ยมแก่ภรรยา, เขาจะเท่าทุนเสมอตัวหรือ? เขาจะแก้ปัญหาในการละเมิดของเขาราวกับว่ามันเป็นงานทางธุรกิจหรือ? ในความสัมพันธ์มีสิ่งหนึ่งคือการให้อภัย, แต่ว่าศีลธรรมไม่ใช่รูปแบบที่ไม่มีความสัมพันธ์และไม่มีบุคลิกภาพที่สามารถถูกปฏิบัติเสมือนบัญชีธนาคาร ในทำนองเดียวกัน, ถ้าคนหนึ่งยอมรับถึงการฆ่าคน, แต่ได้บอกผู้พิพากษาว่า ถึงแม้ว่าเขาได้ฆ่าคน, เขายังมอบเงินเก็บทั้งชีวิตของเขาให้แก่แม่ม่ายที่เป็นเพื่อนบ้านของเขา, ผู้พิพากษานั้นจะยกเลิกการลงโทษที่มีต่อเขาไหม? เขาได้ละเมิดต่อหน้าที่ของเขาในการที่จะรักเพื่อนบ้าน (คนที่เขาฆ่า) ความผิดในการฆ่าต้องถูกลงโทษ, ไม่ว่าคนนั้นจะเคยกระทำความดีไว้มากแค่ไหนก็ตาม
ในทางตรงกันข้าม, ถ้าคนหนึ่งดำเนินชีวิตอย่างซื่อตรงและทำตามกฎหมายทั้งหมดของแผ่นดิน, รัฐบาลจะให้รางวัลสำหรับความประพฤติดีของเขาไหม? บุคคลนั้นแค่เติมเต็มหน้าที่ของเขาเฉยๆ, ในขณะที่รัฐบาลอาจจะรู้สึกขอบคุณเขา, แต่รัฐบาลเห็นอย่างง่ายๆว่าบุคคลนั้นสมควรประพฤติอย่างที่เขาสมควรจะประพฤติ พวกเขาไม่ได้แต้มพิเศษใดๆจากสิ่งนั้น จำนวนครั้งการละเมิดติดกับตัวเรา, แต่การประพฤติดีเป็นสิ่งที่พระเจ้าคาดหวังไว้อยู่แล้ว ถึงแม้ว่าคนหนึ่งกระทำดีสักร้อยอย่าง, แต่ทำไม่ดีหนึ่งอย่าง, คนนั้นเติมเต็มหน้าที่ของเขาร้อยครั้ง, แต่มีการละเมิดหนึ่งครั้งในประวัติ เราจะคิดอย่างไรกับนายจ้างที่จ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้าง ๑๐๐ ครั้ง, แต่หลังจากนั้นไม่จ่าย, เนื่องจากความดีงามที่เขาคิดว่าได้สะสมมาได้จ่ายไปแล้ว ๑๐๐ ครั้งที่ผ่านมา? หรือเราจะคิดอย่างไรกับครูอารมณ์ร้อนที่ยับยั้งการปลดปล่อยอารมณ์ออกมาต่อนักเรียนที่ใจลอย ๑๐๐ ครั้ง, แต่ว่าหลังจากนั้นเขาหลวมตัวและได้เตะนักเรียนคนหนึ่ง? มันหมายความว่าครูคนนั้นมี ๙๙ “คะแนน” หรือ? (กระทำดี ๑๐๐ ครั้ง ลบด้วยการกระทำไม่ดี ๑ ครั้ง) ครูนั้นก็มีประวัติเติมเต็มหน้าที่ ๑๐๐ ครั้งและมีการละเมิดหนึ่งครั้ง
ผู้คนต่างก็กรุณาที่จะให้อภัยกับคนอื่นที่ได้กระทำการละเมิดต่อพวกเขา, เพราะว่าพวกเขาเองก็มีประวัติการละเมิดต่างๆอยู่เหมือนกัน, บางทีอาจจะอยู่ในขอบเขตที่แตกต่างจากที่คนที่ได้กระทำผิดต่อเขา: “เพราะว่าถ้าท่านยกการละเมิดของเพื่อนมนุษย์ พระบิดาของท่านผู้ทรงสถิตในสวรรค์จะทรงโปรดยกโทษให้ท่านด้วย แต่ถ้าท่านไม่ยกการละเมิดของเพื่อนมนุษย์ พระบิดาของท่านจะไม่ทรงโปรดยกการละเมิดของท่านเหมือนกัน” (มัทธิว ๖:๑๔-๑๕) แต่พระเจ้าไม่มี“หน้าที่” ที่ต้องยกโทษ, เพราะพระองค์ปราศจากความบาป เช่นเดียวกันกับผู้พิพากษาในศาล, ถึงแม้ผู้พิพากษาจะไม่ปราศจากจากบาป, แต่ในฐานะผู้พิพากษาเขาไม่มีหน้าที่ที่จะละเว้นโทษอาชญากรรม
ตามพระคัมภีร์ไบเบิล, ไม่เพียง “การกระทำดี” ที่เป็นสิ่งที่พระเจ้าคาดหวังจากเรา หน้าที่ของเราคือทำให้ดีที่สุด “แม้ว่าท่านรักผู้ที่รักท่าน ท่านจะได้บำเหน็จอะไร ถึงพวกเก็บภาษีก็กระทำอย่างนั้นมิใช่หรือ ถ้าท่านทักทายแต่พี่น้องของตนฝ่ายเดียว ท่านได้กระทำอะไรเป็นพิเศษยิ่งกว่าคนทั้งปวงเล่า ถึงพวกเก็บภาษีก็กระทำอย่างนั้นมิใช่หรือ เหตุฉะนี้ ท่านทั้งหลายจงเป็นคนดีรอบคอบ เหมือนอย่างพระบิดาของท่านผู้ทรงสถิตในสวรรค์เป็นผู้ดีรอบคอบ” (มัทธิว ๕:๔๖-๔๘) ถ้าบุคคลหนึ่งดำเนินชีวิตอย่างชั่วร้าย, สะสมการละเมิดอย่างโหดร้ายต่างๆไว้อย่างมากมาย, แต่จากนั้นเขาเปลี่ยนและดำเนินชีวิตที่เหลืออย่างพลเมืองดี, อดีตของเขาจะถูกทำให้สมดุลไหม? การใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงเป็นหน้าที่ของเขาอยู่แล้ว, แต่ประวัติการกระทำผิดต่างๆที่ผ่านมายังคงอยู่ติดตัว ในทำนองเดียวกัน, เมื่ออาชญากรได้ชดใช้เวลาเรือนจำเพื่ออาชญากรรมของเขาได้เสร็จสิ้น, มันก็ไม่ได้ลบอาชญากรรมนั้นออกไป, เพราะว่าอาชญากรหวังแค่ว่าจะใช้เวลาจำนวนหนึ่งในเรือนจำเพื่อที่เขาจะได้พ้นโทษออกมา แต่ในสายตาพระเจ้า ความผิดบาปนั้นยังคงอยู่เหมือนเดิมเพราะการกระทำของมนุษย์ลบบาปออกไปไม่ได้ การละเมิดต่างๆก็สะสมต่อไปเรื่อยๆ ตลอดชีวิตของบุคคล, และสิ่งที่รวมอยู่ในนั้นก็คือการละเมิดต่อการไม่ให้อภัยแก่ผู้อื่นที่ละเมิดต่อเรา
ระบบพระคัมภีร์เป็นระบบที่มีความสัมพันธ์และมีบุคลิกภาพอย่างแท้จริง ศีลธรรมในแง่บวกหรือในแง่ลบไม่สามารถแยกออกจากความสัมพันธ์ที่ถือว่าเป็นเพียงแค่ “แต้ม” ได้ การกบฏต่อศีลธรรมไม่เพียงแต่เป็นการเลือกที่ผิดหรือการสะสมแต้มในแง่ลบเท่านั้น มันเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทั้งหมด บัญญัติของพระคัมภีร์ไบเบิลได้สรุปไว้ในสองคำบัญชา– คือ รักพระเจ้าและรักมนุษย์ การปฏิเสธศีลธรรมต่างๆ ก็คือการกบฏต่อบุคคลนั้น– คือพระเจ้าผู้สร้างชีวิต การรู้หน้าที่อย่างถูกต้องเป็นการเปลี่ยนจุดยืนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเรา: “เพราะฉะนั้น พระราชบัญญัติจึงเป็นครูของเราซึ่งนำเรามาถึงพระคริสต์ เพื่อเราจะได้เป็นคนชอบธรรมโดยความเชื่อ” (กาลาเทีย ๓:๒๔) พระบัญญัติมาก่อนและเช่นนี้ตระหนักให้เรารู้ถึงขอบเขตของการละเมิด เมื่อตะหนักถึงพระบัญญัติ, ก็นำมาถึงความเข้าใจในความรักของพระคริสต์, ผู้ซึ่งไร้ความผิดที่ได้ตายบนไม้กางเขนเพื่อบาปของเรา ด้วยการตระหนักนั้นมาถึงการยอมจำนนต่อองค์พระเยซูคริสต์ จากสิ่งต่างๆที่เคยเป็น “หน้าที่” กลับกลายมาเป็นสิ่งต่างๆ ที่เราทำด้วยความยินดี: “เราไม่เรียกท่านทั้งหลายว่าทาสอีก เพราะทาสไม่ทราบว่านายของเขาทำอะไร แต่เราเรียกท่านว่ามิตรสหาย เพราะว่าทุกสิ่งที่เราได้ยินจากพระบิดาของเรา เราได้สำแดงแก่ท่านแล้ว” (ยอห์น ๑๕:๑๕)
ในอีกด้านหนึ่ง, ที่จะรับเอาศีลธรรม, แต่ปฏิเสธด้านแห่งความสัมพันธ์ของศีลธรรม ก็เป็นเหมือนการปฏิเสธที่จะขึ้นเรือที่จะข้ามมหาสมุทรและพยายามที่จะว่ายน้ำในระยะทางอันแสนจะสุดไกลโพ้น พระคัมภีร์ไบเบิลอธิบายถึงบุคคลเช่นนั้นว่าเป็นคนที่ถูกสาปแช่ง, เพราะว่าพวกเขาพึ่งพาความสามารถต่างๆของพวกเขาเองและไม่ได้พึ่งพาพระเจ้า: “เพราะว่าคนทั้งหลายซึ่งพึ่งการประพฤติตามพระราชบัญญัติก็ถูกสาปแช่ง เพราะมีคำเขียนไว้ว่า ‘ทุกคนที่มิได้ประพฤติตามทุกข้อความที่เขียนไว้ในหนังสือพระราชบัญญัติก็ถูกสาปแช่ง’” (กาลาเทีย ๓:๑๐) เมื่อความเชื่อของเราอยู่ที่พระคริสต์ การละเมิดต่างๆที่ติดตัวเราก็ถูกตรึงที่กางเขนแล้ว
มันไร้ความหวังต่อผู้คนที่จะออกจากบึงแห่งการกระทำที่ชั่วร้ายต่างๆของพวกเขา, โดยการใช้ความสามารถต่างๆของพวกเขาเอง แต่ว่ายังมีความหวังสำหรับทุกคน การเสนอการให้อภัยบาปของพระเจ้า ไม่ใช่สิ่งที่เราจะได้รับโดยความสมควรของเราเอง, หรือเป็นสิ่งที่เราเรียกร้องตามสิทธิได้, แต่เป็นของประทานที่ให้เปล่าๆแห่งความเมตตาสำหรับผู้ที่ตระหนักถึงขอบเขตการละเมิดต่างๆของพวกเขาและได้กลับใจและไว้วางใจในพระเจ้าอย่างแท้จริง, และไม่ได้พึ่งในตัวของพวกเขาเอง: “ด้วยว่าซึ่งท่านทั้งหลายรอดนั้นก็รอดโดยพระคุณเพราะความเชื่อ และมิใช่โดยตัวท่านทั้งหลายเอง แต่พระเจ้าทรงประทานให้ ความรอดนั้นจะเนื่องด้วยการกระทำก็หามิได้เพื่อมิให้คนหนึ่งคนใดอวดได้” (เอเฟซัส ๒:๘-๙)
ผู้หญิง
ตามพระไตรปิฎก, มีการกล่าวว่าคนหนึ่งสามารถเกิดมาเป็นผู้หญิงในชีวิตหนึ่งและเป็นผู้ชายในอีกชีวิตหนึ่ง แต่, ไม่มีสักเรื่องราวในชีวิตต่างๆมากกว่า ๕๐๐ ชีวิตของพระพุทธเจ้า (แม้ว่าจะไม่ใช่รายชื่อที่ละเอียดถี่ถ้วนของชีวิตต่างๆ ของพระพุทธเจ้าก็ตาม) หรือไม่มีที่ใดในพระไตรปิฎก, ที่ศักยามุนีปรากฏเป็นผู้หญิง (ถึงแม้ว่ามีการลงความเห็นบางครั้งว่าเขาอาจจะปรากฏเป็นผู้หญิงครั้งหนึ่งหรือมากกว่านั้น) Jones เขียนว่า, “มันเป็นข้อมูลที่น่าประหลาดใจที่เดียวที่สุด, โดยแม้ว่าความหลากหลายอย่างมากของรูปแบบต่างๆซึ่งพระโพธิสัตว์ได้กลายเป็น, เขาไม่เคยปรากฏแม้แต่ครั้งเดียวเป็นผู้หญิงหรือแม้กระทั่งสัตว์เพศเมีย แม้กระทั่งเขาปรากฏเป็นวิญญาณต้นไม้หรือเทพยดา, ก็ยังเป็นเพศชายตลอด” (๒๐) เพื่อนสนิทของเขา ชื่อพระอานนท์, ผู้ซึ่งปรากฏในชีวิตของเขาหลายครั้ง, ก็ปรากฏเป็นผู้หญิงเพียงครั้งเดียว (Jones, ๑๑๓) ยิ่งไปกว่านั้น, Jones เทียบเคียงที่จะได้เห็นความตรงข้ามอย่างชัดเจนระหว่างหลักคำสอนของนิทานชาดกที่ว่าด้วยชีวิตต่างๆของพระพุทธเจ้ากับพระไตรปิฎกโดยทั่วไปว่า:
“แต่ทว่า, อิทธิพลเสื่อมเสียของผู้หญิงชั่วร้ายเป็นปกติในนิทานชาดก, ผู้หญิงดีงามก็เหมือนเป็นข้อยกเว้นที่มีเพียงเล็กน้อยซึ่งแสดงให้เห็นถึงข้อบังคับหลักที่เต็มไปด้วยอิทธิพลเสื่อมเสียของผู้หญิงชั่วร้าย, ความเป็นไปได้ของเพื่อนในการที่จะกลายมาเป็นอิทธิพลที่เสื่อมเสียเป็นสิ่งห่างไกลที่ไม่ค่อยจะเอ่ยถึง ท่าทีของพระไตรปิฎกแตกต่างจากนิทานชาดก นี่นั่น, ไม่มีข้อสงสัยว่า, เรื่องเพศและชีวิตสมรสเป็นสิ่งเลวร้าย, ความรักและมิตรภาพเป็นสิ่งเลวร้ายด้วย, เนื่องด้วยสิ่งเหล่านี้ทำให้คนหนึ่งเกี่ยวข้องในการผูกมัดและอารมณ์ที่เจ็บปวดส่วนตัว (หรือความเป็นไปได้ที่จะเจ็บปวด) ความรักเดียวซึ่งพระไตรปิฎกสามารถอวยพรได้ก็คือ ความรักเงียบสงบที่ไม่ผูกติดและทั่วไป; นั่นคือ “ความคิดแบบมิตรที่ไร้ขอบเขตสำหรับทุกสรรพสิ่งที่มีชีวิต” (๑๑๕)
กล่าวถึงหนึ่งในผู้หญิงที่ดีงามเหล่านั้น, Jones เขียนว่า “สิ่งที่หายากในนิทานชาดก, ผู้หญิงดีงาม, เป็นหนี้คุณงามความดีของเธอต่อผลบุญที่ได้รับมาในชาติก่อน- ที่เป็นผู้ชาย” (๔๓) ในพระไตรปิฎก, การพูดถึงผู้หญิงไม่ได้ดีกว่านิทานชาดกเลย: “...อย่างไรก็ตาม, ผู้หญิงไม่เคยเหนื่อยในกิจกรรมทางเพศและมีลูก (GS I 72) และพวกเขาไม่เคยนั่งในศาลหรือทำธุรกิจเพราะว่า ‘พวกเขาไม่สามารถควบคุมตัวเองได้, มีความอิจฉา, มีความโลภ และอ่อนในสติปัญญา’ (GS II 92f) ” (Jone, ๗๘) เกี่ยวกับการสถาปนาระบบระเบียบสำหรับแม่ชี, Jones เขียนว่า “เมื่อพระอานนท์เกลี้ยกล่อมโคตมพุทธเจ้าสำเร็จ ที่จะอนุญาตให้แยกคณะสำหรับผู้หญิง, เขาถูกรายงานว่าเขาเศร้าโศกเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่ เขากล่าวว่า, มันจะแบ่งครึ่งระยะเวลาสำหรับพระธรรม16ที่จะได้รับการสงวนไว้ในรูปแบบที่บริสุทธิ์” (Jones, 77; GS IV 184f) ในพระวินัยปิฎก คำทำนายคล้ายๆกันนี้ได้ถูกกล่าวโดยศักยามุนี, เมื่อเขากล่าวแก่พระอานนท์:
“พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ ก็ถ้าสตรีจักไม่ได้ออกจากเรือนบวช เป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว พรหมจรรย์จักตั้งอยู่ได้นาน สัทธรรมจะพึงตั้งอยู่ได้ตลอดพันปี ก็เพราะสตรีออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว บัดนี้ พรหมจรรย์จักไม่ตั้งอยู่ได้นาน สัทธรรมจักตั้งอยู่ได้เพียง ๕๐๐ ปีเท่านั้น” (พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒)
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=07&A=6253&Z=6271
โดยเหตุที่ ผู้หญิง “ออกเรือนบวช” และห้าร้อยปีได้ผ่านมาแล้ว, คำถามก็เกิดขึ้น, ข้อความของพระไตรปิฎกข้างบนที่กล่าวมาเป็นเท็จ, หรือมันเป็นจริงที่ว่า “พระธรรมที่แท้จริง” จะยืนยาวเพียงห้าร้อยปีเท่านั้นหรือ? ถ้าเรากล่าวว่ามันเท็จ, นั่นก็แสดงว่ามีความเท็จในพระไตรปิฎก ถ้าเราจะกล่าวว่ามันเป็นจริง, มันก็ยังเท็จอยู่ดี, เนื่องจากห้าร้อยปีได้ผ่านไปแล้ว, และด้วยเหตุนี้ “พระธรรมที่แท้จริง” คงผ่านพ้นไปแล้ว ในข้อความเดียวกัน, พระพุทธเจ้าได้เปรียบเทียบอิทธิพลของผู้หญิงกับเชื้อราชนิดหนึ่ง: “...พระอานนท์, เมื่อโรคภัยอย่างที่รู้จักกันคือเชื้อราโจมตี ทำลายนาข้าวทั้งหมด นาข้าวนั้นจะไม่อยู่นาน, เหมือนกับว่า, พระอานนท์, ในพระธรรมและวินัยอะไรก็ได้ ที่ผู้หญิงได้ออกเรือนบวช... พรหมจรรย์นั้นจักไม่ตั้งอยู่ได้นาน (๓๕๖) ในข้อความข้างบนนี้ด้วย (Book of Discipline V), ครุธรรม ๘ ประการ สำหรับอนุญาตให้ผู้หญิงมีส่วนร่วม, ได้ถูกกล่าวไว้อย่างชัดเจน ท่ามกลางครุธรรมนี้, มีสองข้อ, ซึ่งได้เน้นถึงบทบาทที่เป็นรองของผู้หญิงต่อผู้ชายในพุทธศาสนา:
“๑. ภิกษุณีอุปสมบทแล้ว ๑๐๐ ปี ต้องกราบไหว้ ลุกรับ ทำอัญชลีกรรม สามีจิกรรม แก่ภิกษุที่อุปสมบทในวันนั้น ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต” ; “๗. ภิกษุณีไม่พึงด่า บริภาษภิกษุ โดยปริยายอย่างใดอย่างหนึ่ง ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต”
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=7&A=6195&Z=6252&pagebreak=0
ขยายความบนท่าทีของพื้นฐานนี้, พุทธศาสนาทิเบต (ตันตระ)ได้กล่าวถึงขอบเขตเรื่องนี้ยิ่งไปกว่าอีก Victor และ Victoria Trimondi, ในหนังสือของพวกเขาที่ชื่อ “The Shadow of the Dalai Lama: Sexuality, Magic, and Politics in Tibetan Buddhism,” มอบส่วนใหญ่ของหนังสือในจำนวน ๘๑๖ หน้า (ในภาษาเยอรมัน) ในหัวข้อของความเกลียดชังผู้หญิง:
“..., เราได้ตัดสินใจลงความเห็นและส่วนนำหนังสือทั้งเล่มด้วยถ้อยแถลงหลักของงานวิจัยของเราในรูปแบบของสมมุติฐาน...กฎเกณฑ์ของสมมุติฐานนี้เป็นความคิดในรูปแบบนามธรรมที่ไม่ชัดเจนอย่างมากในตอนแรก ในแนวทางปฏิบัติของการศึกษานี้เท่านั้น ที่จะได้เห็นเลือดและชีวิตของสมมุติฐานนี้, และน่าเสียดาย, มีความรุนแรงและการเสียชีวิตด้วย ถ้อยแถลงหลักของเราตามนี้ : ความลึกลับของพุทธตันตระประกอบด้วยการเสียสละหลักการของเพศหญิงและการจัดการการเปลี่ยนแปลงความรักในทางเพศในการจะได้รับอำนาจแห่งจักรวาลที่ผู้ชายเป็นศูนย์กลาง”
(หนังสือเล่มนี้ไม่ได้มีรูปเล่มฉบับภาษาอังกฤษในขณะนี้, แต่มีการแปลเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมดจากภาษาเยอรมัน สามารถพบได้ออนไลน์ในเวปไซต์ : http://www.trimondi.de/SDLE/Contents.htm)
ย้อนกลับมาที่ศาสนาพุทธเถรวาท, Jones อธิบายการไม่เข้ากันของหลักคำสอนที่อยู่เบื้องหลังของนิทานชาดกและอยู่ในวงพระไตรปิฎก, ที่เกี่ยวข้องกับผู้หญิง:
“ทำไมมีการโจมตีในเรื่องเพศที่อ่อนโยนมากขณะนี้? ข้าพเจ้าถูกชักจูงที่ JS 61 [เรื่องหนึ่งในนิทานชาดก] ได้ให้แบะแสที่น่าเชื่อถือที่สุดแก่เราไปสู่คำตอบ เรื่องราวต่างๆ ถูกออกแบบมาส่วนใหญ่เพื่อที่จะขัดขวางผู้ชายหนุ่มจากชีวิตครอบครัวของเขาและการเกี่ยวข้องในเรื่องเพศ ตอนนี้, อย่างที่เราได้เห็น, เหตุผลตามพระไตรปิฎกสำหรับการออกจากการภาวะพัวพันของชีวิตครอบครัวก็ว่าสิ่งเหล่านี้เป็น “โซ่ตรวน”, สนับสนุนภาพลวงตาของ “ตนเอง” และของการยึดติด “ตนเองอื่นๆของผู้อื่น”; ในการถอดออกของการตระหนักถึงความเป็นจริงของอนัตตา (ไม่เห็นแก่ตัว) สามารถพบสันติสุขที่แท้จริงได้เท่านั้น เราได้เห็นด้วยอีกว่าการศึกษาของนิทานชาดกหลีกเลี่ยงหลักคำสอนของอนัตตา, เนื่องจากว่าสิ่งนี้จะทำลายข้อสนับสนุนพื้นฐานของพวกเขา: ที่ว่าบุคคลเดียวกันย้ายจากชีวิตหนึ่งไปยังอีกชีวิตหนึ่ง... เช่นนี้ ผู้หญิงต้องจ่ายอย่างหนักสำหรับความจำเป็นของนิทานชาดกที่หลีกเลี่ยงหลักคำสอนของอนัตตา ในการมาเป็นแพะรับบาป, พวกเขาต้องพบว่ามันยากมากที่รักษาไว้ซึ่งการเคารพนับถือตนเองใดๆ.” (๙๙)
แทนที่ของการกบฎต่อความคิดทางพุทธศาสนา, ผู้หญิงหลายคนในสังคมพุทธศาสนายอมรับถึงสถานะอันต่ำกว่าว่าเป็นดั่งบางสิ่งที่พวกเขาสมควรได้รับที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของกรรมที่นึกเอาว่าจากชาติก่อน Cleo Odzer, ในหนังสือ “Buddism and Abortion,” เขียนว่า, “โดยพื้นฐานแล้ว, ผู้หญิงในประเทศไทยมีคุณค่าด้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ชาย, เป็นสถานการณ์ที่ถูกสนับสนุนโดยพุทธศาสนา...” (๓๓), และในการสำรวจผู้หญิงบริเวณสลัมกรุงเทพ, ก็ค้นพบว่า “ส่วนใหญ่, พวกผู้หญิงยอมรับถึงโชคชะตาของพวกเธอในความเชื่อชาวพุทธว่าพวกเธอ‘เกิดมาเป็นผู้หญิงก็เพราะว่ามีกรรมที่ไม่ดีหรือขาดคุณงามความดีที่ดีพอ’” (๓๕)
ในพระคัมภีร์ไบเบิล ผู้หญิงไม่ได้ถูกมองว่าเป็น “เชื้อรา”, ที่ขาดความสามารถในการทำธุรกิจ, หรือสถานะภาพด้อยกว่าผู้ชายหนุ่มๆ, เป็นสาเหตุแห่งการที่ผู้ชายเป็นมลทิน, และสมควรได้รับความทุกข์ยากอย่างที่พวกเขาจะเผชิญ ผู้หญิงและผู้ชายต่างมีบทบาทและความรับผิดชอบที่ต่างกันในพระคัมภีร์ไบเบิล, แต่ว่ามรดกสำหรับผู้เชื่อในระบบการจัดการของพระเจ้าคือเท่าเทียมกัน: “เพราะเหตุว่า ทุกคนในพวกท่านที่รับบัพติศมาเข้าร่วมในพระคริสต์แล้ว ก็ได้สวมชีวิตพระคริสต์ จะไม่เป็นยิวหรือกรีก จะไม่เป็นทาสหรือไทย จะไม่เป็นชายหรือหญิง เพราะว่าท่านทั้งหลายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในพระเยซูคริสต์ และถ้าท่านเป็นของพระคริสต์แล้ว ท่านก็เป็นเชื้อสายของอับราฮัม คือเป็นผู้รับมรดกตามพระสัญญา” (กาลาเทีย ๓:๒๗-๒๙) ในพระธรรมสุภาษิต บทที่ ๓๑, ซึ่งเขียนโดยพระมารดาของกษัตริย์เลมูเอลว่า สตรีที่ประเสริฐก็ได้รับการยกย่องสำหรับความฉลาดในการทำธุรกิจ, ถูกสวมใส่ด้วยกำลังและเกียรติ, มีถ้อยคำแห่งสติปัญญาที่ริมฝีปาก, และได้รับความไว้วางใจจากสามีของเธอ
การทำสมาธิ
การทำสมาธิของชาวพุทธบ่อยครั้ง ถูกแสดงให้ว่าเป็นบางสิ่งที่ไม่เกี่ยวกับ “กิจกรรมทางศาสนา” ผู้คนทั่วโลกจากมุมมองที่หลากหลายทางศาสนาก็ถูกสนับสนุนให้ลองทำดู, โดยการเสแสร้งว่ามันเป็นเพียงแค่การฝึกฝนความคิดอย่างหนึ่ง— เหมือนกับการบริหารร่างกายเป็นการฝึกฝนร่างกาย นี่เป็นสิ่งดึงดูดใจสำหรับบางคนที่ปรารถนาจะมีประสบการณ์เอกลักษณ์, สันติสุข, หรือมีความหมายโดยปราศจากการไม่เข้าไปสู่หลักคำสอนของพระพุทธเจ้า แต่ว่าการทำสมาธิปราศจากศาสนาจริงหรือ?
มีเรื่องหนึ่งของพระไตรปิฎกที่คนพูดถึงน้อยมาก, ที่เกิดความยุ่งเหยิงในช่วงเวลาการทำสมาธิ:
“จริงๆ แล้ว มีโอกาสครั้งหนึ่ง ที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงของพระพุทธเจ้าในฐานะที่เป็น ‘ผู้ขับรถม้าของมนุษย์ที่ไม่มีใครเท่าเทียมกว่า’ มันเป็นการยากที่จะคิดว่ามันถูกแต่งเรื่องขึ้นมา ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นว่าสิ่งนี้ถูกอ้างอิงในหนังสือหลายเล่มเกี่ยวกับศาสนาพุทธที่ข้าพเจ้าได้เคยอ่าน ใน KS V ๒๘๔, เราอ่านว่า พระพุทธเจ้าได้แนะนำ ‘สิ่งที่ไม่น่ารัก’ เป็นหัวข้อสำหรับการทำสมาธิ ก่อนที่เขาจะปลีกตัวออกไปอยู่สิบสี่วัน ในวันที่เขากลับมา, เขาก็พบว่า คณะสงฆ์ลดลงไปอย่างน่าเศร้าใจเพราะว่าพระสงฆ์หลายรูป, คิดไตร่ตรองถึง ‘สิ่งที่ไม่น่ารัก’ ต่อ ‘ร่างกายนี้... กังวลถึงมัน, รู้สึกอับอายและน่ารังเกียจ, และแสวงหาอาวุธเพื่อจะฆ่าพวกเขาเอง’- และจริงๆ, ได้ฆ่าตัวตาย พระอานนท์แนะนำว่าในอนาคตจะดีกว่า ถ้าหากพระพุทธเจ้า ‘จะสอนวิธีอื่นๆ’ ของการทำสมาธิ พระโคตมพุทธเจ้าตอบด้วยถ้อยแนะนำนี้และบอกข่าวแก่บรรดาพระสงฆ์ของเขาที่จะตั้งการทำสมาธิอยู่บนพื้นฐานของการหายใจของพวกเขาในอนาคต” (Jones ๗๖)
ในปัจจุบันนี้, ‘สิ่งที่ไม่น่ารัก’ (เช่นศพของมนุษย์) ก็ยังถือว่าเป็นสิ่งที่จะทำสมาธิได้ของชาวพุทธ, ถึงแม้ว่ารูปแบบอื่นๆ ของการทำสมาธิ, เช่น การกำหนดลมหายใจ, ที่ใช้มากกว่า เนื้อหาจากพระไตรปิฎกข้างบนที่ผ่านมา ได้ตั้งคำถามถึงการรอบรู้ทุกสิ่งทุกอย่างของศักยามุนี (ซึ่งได้อ้างอิงถึงเขาในเนื้อหาตอนอื่นของพระไตรปิฎก) เขารู้หรือไม่ว่าพระสงฆ์จะฆ่าตัวตาย, และยังมอบรูปแบบของการทำสมาธิที่ยากลำบากนี้แก่พวกเขาอีก, หรือเขาไม่รู้, และเขาไม่มีการรอบรู้ทุกอย่าง (มุมมองภายหลังนี้เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในทุกวันนี้)
แม้กระทั่งรูปแบบของการทำสมาธิที่ถือว่าเป็นมาตรฐาน, เช่น การกำหนดลมหายใจตนเอง, หรือการสังเกตความคิดตนเอง ราวกับว่าความคิดเหล่านั้นไม่ใช่ความคิดตนเอง (ถูกปลดปล่อยจากความคิดของ “ตนเอง” และ การสังเกตุความคิด“โดยปราศจากอารมณ์”), เหล่านี้มันอันตราย อย่างไรก็ตาม Rahula สนับสนุนการทำสมาธิอย่างนั้น: “พยายามที่จะตรวจสอบมันราวกับว่าคุณกำลังสังเกตุมันจากข้างนอก,โดยปราศจากปฏิกิริยาทางอารมณ์, เหมือนนักวิทยาศาสตร์สังเกตวัตถุหนึ่ง ที่นี้ด้วย, คุณไม่ควรมองดูมันว่าเป็น ‘ความรู้สึกของฉัน’ หรือ ‘ประสาทสัมผัสของฉัน’ จากมุมมองภายใน, แต่ให้เพียงมองดูว่ามันเป็น ‘ความรู้สึก’ หรือ ‘ประสาทสัมผัส’ จากมุมมองภายนอก ท่านควรลืมอีกครั้งต่อแนวคิดที่ผิดของ “การมีตนเอง” (๗๓) บทในหนังสือของเขาที่เกี่ยวข้องกับ “การทำสมาธิด้วยลมหายใจ,” Paravahera Vajiranana ได้เชื่อมโยงการทำสมาธิแบบวิปัสสนา17กับการหายใจ:
“ในเวลาแห่งความเข้าใจอย่างลึกซึ้งที่เขานั้นหายใจเข้า, หายใจออก, ปลดปล่อยจิตใจให้ว่างเปล่าจากแนวคิดของความถาวรโดยการคิดไตร่ตรองสิ่งที่ไม่ถาวร, จากแนวคิดของความสุขโดยการคิดไตร่ตรองความเจ็บปวด, ปลดปล่อยจากแนวคิดเกี่ยวกับตนเองโดยการคิดไตร่ตรองการปราศจากตัวเอง, จากแนวคิดของความสุขใจโดยการคิดไตร่ตรองสิ่งที่น่ารังเกียจ, จากอารมณ์ความรู้สึกโดยการคิดไตร่ตรองการปลีกตัวออกมา, จากเหตุของการเริ่มต้นโดยคิดไตร่ตรองการสิ้นสุดลง, จากการยึดติดโดยคิดไตร่ตรองถึงการสละทิ้ง” (๒๕๕)
Vajiranana ได้อ้างจาก วิสุทธิมรรค18 ว่า, “มีแปดสภาพด้วยกันที่ไม่มีการหายใจ: ในท้องแม่, เมื่อคนจมน้ำ, ในสภาพที่หมดสติ, ในความตาย, ในฌานที่สี่19 ,ในโลกที่ไม่รู้สึกตัว, ในโลกที่ปราศจากรูปร่าง, และในนิโรธสมาบัติ, การบรรลุถึงการสิ้นสุดของความรู้สึกและการสังเกตุทั้งหมด” (๒๔๓) Ernest Valea ในบทความออนไลน์ชี้ให้เห็นถึงอันตรายที่มากไปกว่านี้ของการทำสมาธิแบบวิปัสสนา:
“…ประสบการณ์ต่างๆ ที่ดำเนินควบคู่ไปกับการคิดไตร่ตรองของชาวพุทธ บนสภาพต่างๆ ของจิตใจ (citta samapatti) สามารถอธิบายว่าเป็นการเข้าใจผิดของความเป็นจริงที่อยู่รอบข้าง เนื่องจากการกำหนดหนทางการทำงานที่ผิดปกติของประสาทสัมผัสและจิตใจ: ‘เมื่อผู้ทำสมาธิมองสภาพต่างๆ ทางจิตใจของพวกเขาเอง มาและไป โดยปราศจากความพยายามที่จะควบคุม, สิ่งเหล่านี้เริ่มต้นที่จะผันแปรมากและเร็วขึ้นไปอีกและคาดไม่ถึงอย่างมาก หลังจากนั้นไม่นานกิจกรรมที่วุ่นวายนี้จะสร้างความประทับใจที่แรงกล้า ที่เหตุการณ์ต่างๆ ทางจิตใจกำลังโผล่ขึ้นไปสู่ชีวิตเอง, จากแหล่งที่มาที่แตกต่างกันออกไป, มากกว่ามาจากจิตใจของผู้สังเกตเอง, เมื่อผู้ทำสมาธิยังฝืนทำการฝึกฝนแบบนี้ต่อไป, พวกเขาสังเกตด้วยว่ามีการแยกอย่างชัดเจนระหว่างเหตุการณ์ต่างๆ ทางจิตใจที่ถูกสังเกตและจิตใจที่กระทำการสังเกต เมื่อการทำสมาธิดำเนินต่อไปอีก, ทั้งคู่ของเหตุการณ์ต่างๆ ทางจิตใจและจิตใจที่ได้สังเกต เริ่มที่จะแปลกและไม่มีบุคลิกภาพและไม่มีความสัมพันธ์, ราวกับว่าพวกมันไม่ได้เป็นของผู้สังเกตเอง ณ จุดนี้ประสาทสัมผัสของผู้ทำสมาธิแห่ง “ตนเอง” กลายมาเป็นความสับสนและอ่อนแอ, และในที่สุดมันก็หายไปทั้งหมดในช่วงระยะเวลาอันสั้น… (E. Hillstrom, Testing the Spirits, IVP, 1995, หน้า 114-115)’” (www.comparativereligion.com/Buddhism.html)
เมื่อบุคคลหนึ่งกลายมาเป็นผู้สังเกต “บุคคลที่สาม” ของพวกเขาเอง, และได้ปฏิเสธแนวคิดว่ามี“ตนเอง”, มันเหมือนกับสละที่นั่งคนขับรถและไปนั่งที่ของผู้โดยสาร นี่แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ของวิญญาณต่างๆ ภายนอกที่จะเข้ามาและมีอิทธิพลอย่างแท้จริงและมีอำนาจชักจูงอันตราย, อย่างเช่นการหลอกลวงที่จะไปทางผิด ทำไมบุคคลหนึ่งต้องเคลื่อนไปสู่สภาพที่เปลี่ยนแปลงของจิตสำนึก, ในการที่จะยอมรับ “ความจริงต่างๆ ที่ถูกอ้างว่าสูงกว่า?” เราจะสงสัยหรือไม่ว่าตัวแทนขายที่ดินบอกกับเราว่า เราต้องทานยาที่จะเปลี่ยนแปลงความคิด ก่อนที่จะชื่นชมคุณค่าของบ้านที่กำลังจะขาย?
เป้าหมายสูงสุดของการทำสมาธิ, ตามพระไตรปิฎก, คือ นิพพาน– อิสระจากความทุกข์ยากผ่านทางการไม่มีตัวตนของบุคคลแต่ละเดียว ผู้ทำสมาธิหลายคน ที่ทำตามแบบพุทธศาสนาในระดับแรก, ไม่มีนิพานเป็นเป้าหมายของพวกเขา เป้าหมายของพวกเขาอาจเป็นสันติสุขภายใน, สุขภาพทางจิต, หรืออยากจะมีประสบการณ์กับบางสิ่งที่ไม่เหมือนใคร อย่างไรก็ตาม, ดำเนินไปตามทางของการทำสมาธิ, เมื่อเป้าหมายคือนิพพาน ผู้ทำสมาธิกลายมาเป็นบุคคลที่หลุดออกจากความรู้สึกต่างๆ ของพวกเขามากขึ้นและมากขึ้นไปอีก, และกลายมาเป็นโรคเรื้อนฝ่ายจิตวิญญาณ บุคคลที่มีโรคเรื้อนทางกายภาพคือคนที่สูญเสียความรู้สึกแห่งการสัมผัส (และดังเช่น มันอันตรายเมื่อไปทาบเตาที่ร้อน, โดยไม่มีแรงกระตุ้นที่จะดึงออก, อื่นๆ) บุคคลที่กลายเป็นว่าหลุดออกจากอารมณ์ต่างๆ อย่างสมบูรณ์และกลายมาเป็นโรคเรื้อนฝ่ายจิตวิญญาณ, ถึงแม้อาจจะมองดูว่ามีสันติสุขอย่างสงบ, แต่คือไม่ได้รู้ตัวถึงอารมณ์ต่างๆ ที่ซึ่งให้คำเตือนที่จำเป็นและให้การปฏิบัติอื่นๆ ที่ช่วยเหลือทางสุขภาพ
มีการกล่าวว่ามีสภาพต่างๆ ของความสุขอันล้นพ้นและแม้กระทั่งความสามารถเหนือธรรมชาติที่จะได้มา ตามหนทางแห่งการทำสมาธิ, แต่ว่าตามคำสอนของพระไตรปิฎก, สิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้ถูกปฏิเสธอย่างทึกทักไปเองว่าเป็นการเขวไปจากวัตถุประสงค์สูงที่สุด– ของการหยุดอย่างสมบูรณ์ (นิพพาน) ดังนั้นประสบการณ์ต่าง ๆ ใน“ทางบวก”ของการทำสมาธิเป็นเพียง“เหยื่อล่อ”ที่นำไปสู่“ตะขอเบ็ด”แห่งการดับ พูดถึงขั้นสูงสุดของการทำสมาธิ (นิโรธสมาบัติ), Vajiranana เขียนไว้ว่า, “แต่ที่ซึ่งมีประสบการณ์ใน นิโรธสมาบัติคือสภาพของนิพพาน, กล่าวถึงการหยุดกิจกรรมทั้งหมดของสมอง, ซึ่งเปรียบเทียบได้กับนิพพานขั้นสุดท้าย นิพพานขั้นสุดท้ายถูกเรียกว่า “ขันธ์-ปริ-นิพพาน” คือ การหยุดอย่างสมบูรณ์ของขันธ์ทั้งห้าและซึ่งพระอรหันต์ได้บรรลุถึงเมื่อเขาตาย” (๔๖๗)
นอกจากอันตรายต่างๆ ของการทำสมาธิในระดับส่วนตัว, การทำสมาธินำไปสู่มาตรฐานที่ตามอารมณ์และนิสัยอย่างที่อ้างกัน การทำสมาธิบางทีถือว่าตามวิทยาศาสตร์, เพราะว่าในการทำสมาธิ, มีคนพูดว่าสามารถมีประสบการณ์ได้อย่างที่พระพุทธเจ้าเคยประสบมา อย่างไรก็ตาม, ผู้ทำสมาธิได้รับการแนะนำล่วงหน้าในสิ่งที่พวกเขาคาดว่าจะได้เจอ การคาดหวังนี้ ได้เชิญอารมณ์ความคิดเห็นจากภายนอกเข้ามา เพราะว่ามันตั้งเงื่อนไขให้คนว่าจะเจออะไรในความคิด ถ้าผู้สอนบอกพวกเขาว่าสามารถคาดหวังที่จะเห็นชีวิตชาติก่อน, พวกเขาถูกจัดการล่วงหน้าที่จะไปสู่สิ่งนั้น เช่นเดียวกัน, มันก็ไม่ได้เป็นมาตรฐานทางวิทยาศาสตร์, เพราะว่ามีมุมมองที่ “ผิด” หรือนอกรีตที่ถูกบรรยายไว้ในพระไตรปิฎก ถ้าใครคนหนึ่งทำสมาธิและมีประสบการณ์กับบางสิ่งที่นอกรีต– เช่น “ฉันมีวิญญาณนิรันดร์,” สิ่งนี้จะถูกปฏิเสธ
การทำสมาธิตามศาสนาพุทธ นำคนออกห่างจากการมีความสัมพันธ์ที่ขัดแย้งกับธรรมชาติของมนุษย์, และทำให้จิตใจของพวกเขาเป็นเหมือนกับเครื่องจักรกลมากกว่า แม้ว่าการทำสมาธิ “กำลังแผ่เมตตาแก่สรรพสิ่ง”, จุดจดจ่อก็อยู่ที่ความสามารถของตัวเอง, และความเมตตานั้นถือว่าไม่ได้ยึดติดกับใคร เมื่อการทำสมาธิเป็นการจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง, และความคิดอื่นๆ ถูกตัดออกไปทั้งหมด, นี่ทำให้เสียงของสติสัมปชัญญะที่เรียกร้องให้เรามีความสัมพันธ์กับพระเจ้าเงียบไป, และวางจิตใจไปที่หนทางที่เพิ่มการปลดปล่อยและการปลีกตัวออกไปมากขึ้น สุภาษิตบทที่ ๑๘, ข้อที่ ๑ กล่าวว่า “คนที่ปลีกตัวไปจากผู้อื่น จงใจกระทำตามใจตนเอง และค้านคติแห่งสติปัญญาทั้งหลาย” ในการปลีกตัวออกไป ความปรารถนาส่วนตัวคนหนึ่งอาจจะสำเร็จ, แต่ว่าสถานการณ์อย่างนี้สามารถเปรียบเทียบกับเด็กที่ปฏิเสธการดูแลความรักจากพ่อแม่ ผู้ซึ่งจัดเตรียมอาหารที่ดีและมิตรภาพกับพวกเขา, แต่เด็กคนนั้นต้องการที่จะไปอาศัยอยู่ในป่าแทน– ปฏิเสธการรับอาหาร, ปฏิเสธเสื้อผ้า, ปฏิเสธการได้รับการศึกษาและปฏิเสธความรักจากพ่อแม่ เด็กแบบนี้จะมีความลำบากในการเอารอดชีวิตและในที่สุดอาจจะสูญเสียความสามารถที่จะสื่อสารกับพ่อแม่ การอธิษฐานและไตร่ตรองตามพระคัมภีร์ไบเบิลไม่ได้เหมือนกับการทำสมาธิ สวดมนต์หรือภาวนาในศาสนาพุทธ แต่พระคัมภีร์ไบเบิลได้สนับสนุนให้คนพิจารณาหลักการต่างๆและลักษณะของพระเจ้า, เป็นการใช้เวลากับพระเจ้า มันคือความสัมพันธ์กับพระเจ้า พระเจ้าได้“เลี้ยงดู”ลูกของพระองค์และสื่อสารกับพวกเขา, ขจัดอุปสรรคต่างๆในชีวิตออกไปและประทานสติปัญญาให้
วิทยาศาสตร์
หัวข้อนี้นำไปสู่การอ้างการรู้แจ้งของศักยามุนีถึงการรอบรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง (หรือเป็นคำอ้างของพระไตรปิฎกในนามของเขา) พระไตรปิฎกน่าเชื่อถือมากขนาดไหนว่าเป็นหนังสือแห่งความจริง? ถ้าพระพุทธเจ้าศักยามุนีไม่ได้ทำให้เกิดการเขียนเหล่านี้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม, มาตรฐานที่เอาไว้วัดความจริงอยู่ที่ไหน? และ, ถ้าจะอ้างว่าพระไตรปิฏกมาจากพระพุทธเจ้า ทำไมจึงประกอบด้วยความผิดพลาดที่เกี่ยวกับความจริงอย่างมากมาย? ถ้าพระไตรปิฎกเป็นการผสมผสานระหว่างความจริงและข้อผิดพลาด, การมอบความไว้วางใจของชะตาชีวิตบุคคลหนึ่งให้กับคำสอนนี้ ก็จะเหมือนกับ การมอบความไว้วางใจให้กับหมอที่จ่ายยาทั้งที่ดีและเป็นอันตราย – เป็นการเดิมพันอย่างมาก คำอ้างอิงทั้งหมดในส่วนหัวข้อวิทยาศาสตร์นี้ มาจากพระไตรปิฎกตัวมันเอง, ไม่ใช่จากข้อคิดเห็นที่พูดถึงพระไตรปิฏก
ในทีฆนิกาย (Dialogues of the Buddha III; 137-139), ได้กล่าวถึงลักษณะหมายสำคัญทั้ง ๓๒ ของบุคคลที่คาดว่าจะเป็นพระพุทธเจ้าหรือผู้ปกครองจักรวาล ท่ามกลางเครื่องหมายเหล่านี้, มีการกล่าวว่าเขาจะต้องมีฟัน ๔๐ ซี่ [ในเวลาที่เป็นเด็กทารก! – ซึ่งเป็นเวลาที่การตรวจสอบได้ถูกทำขึ้น – (Dialogues of the Buddha II; หน้า 13-18)] โดยปกติ เด็ก มีจำนวนฟันครึ่งหนึ่งของจำนวนนั้นคือ ๒๐ ซี่ ผู้ใหญ่จะมีฟัน ๓๒ ซี่โดยรวม (สมมุติว่าไม่ได้เล่นกีฬาโลดโผนมากเกินไป) หรือ ๒๘ ซี่ ถ้าฟันกรามซี่สุดท้ายได้ถอดออกไป การที่จะใส่ฟันอีกแปดซี่เข้าไปในกรามของผู้ใหญ่ดูเหมือนจะเป็นความสามารถมากเลยทีเดียวเชียว แต่ว่าถ้าใส่ฟันอีก ๒๐ ซี่ในกรามของเด็กทารกมันคงจะเป็นการขยายทั้งกรามโดยแท้– ทั้งของกรามและความน่าเชื่อถือมากเหลือเกิน
ท่ามกลาง ๓๒ หมายสำคัญนั้น, อีกอย่างหนึ่งคือศักยาภาพของผู้ปกครองจักรวาลหรือพระพุทธเจ้า จะต้องมีลิ้นที่ใหญ่ ใหญ่แค่ไหนล่ะ? ในหนังสือ มัชฌิมนิกาย (Middle Length Sayings II), พราหมณ์คนหนึ่ง ได้ไปพูดคุยกับพระพุทธเจ้า และมองหา ๓๒ หมายสำคัญที่ตัวของพระพุทธเจ้า…“ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคจึงทรงบันดาลอิทธาภิสังขาร ให้อุตตรมาณพได้เห็นพระคุยหฐานอันเร้นอยู่ในฝัก. และทรงแลบพระชิวหาสอดเข้าช่องพระกรรณทั้งสองกลับไปมา
สอดเข้าช่องพระนาสิกทั้งสองกลับไปมา ทรงแผ่พระชิวหาปิดมณฑลพระนลาตทั้งสิ้น.” (๓๓๕) http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=13&A=9195&Z=9483 (หากใช้คำง่ายๆ ได้ดังนี้ “จากนั้นเขา, ได้เอาลิ้นออกมา, ตวัดไปมาเหนือหูสองข้างของเขา และตวัดไปมาเหนือรูจมูกของเขา และปกคลุมทั้งหน้าผากของเขาด้วยลิ้นของเขาเอง”) ว้าว, ถึงแม้จะมีรูปปั้นของพระพุทธเจ้าด้วยอากับกิริยาและท่าทางต่างๆ, ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นว่ามีรูปปั้นไหนจะเน้นถึงลักษณะทางกายวิภาควิทยาของเขาที่มีลิ้นใหญ่ยาวขนาดนั้น, แม้ว่าสิ่งนั้นได้มีในพระไตรปิฏก
ในการตอบต่อคำถามของพระอานนท์เกี่ยวกับสาเหตุของแผ่นดินไหว (Gradual Sayings IV; หน้า 208-210), พระพุทธเจ้าให้แปดเหตุผลด้วยกัน ประการที่หนึ่ง คือ การอธิบายทางธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างของโลก, ในขณะที่อีกเจ็ดเหตุผล พระพุทธเจ้ากล่าวว่า โลกตอบสนองด้วยการสั่นเมื่อ“การตรัสรู้”ที่หลากหลายประสบความสำเร็จมากมาย ในเหตุผลประการที่หนึ่งสำหรับแผ่นดินไหว, เราเห็นความแตกต่างบางอย่างแท้จริงระหว่างสิ่งที่เขาพูดกับสิ่งที่วิทยาศาสตร์สมัยใหม่นี้รู้เกี่ยวกับโครงสร้างของโลกและสาเหตุต่างๆ ของการเกิดแผ่นดินไหว: “พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ เหตุปัจจัย ๘ ประการนี้แห่งความปรากฏแผ่นดินไหวใหญ่ ๘ ประการเป็นไฉน ดูกรอานนท์ แผ่นดินใหญ่ตั้งอยู่บนน้ำ น้ำตั้งอยู่บนลม ลมตั้งอยู่บนอากาศ สมัยนั้นลมพายุพัดจัด ลมพายุพัดให้น้ำไหว น้ำไหวแล้วทำให้แผ่นดินไหว ดูกรอานนท์ นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยประการที่ ๑ แห่งความปรากฏแผ่นดินไหวใหญ่ ฯ”
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=23&A=6499&Z=6623
ตัวอย่างนี้และตัวอย่างอื่นๆ ที่ตามมา, ได้แสดงให้เห็นถึงการขาดความลงรอยกันกับ “ตามที่สิ่งเป็นจริง” (ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ชนิดหนึ่งที่พระพุทธเจ้าอ้างว่าได้ให้ไว้) สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่แค่ตัวอย่างของการอัศจรรย์ต่างๆ, ซึ่งควรได้รับการตรวจสอบโดยพื้นฐานตามหลักฐานแต่ละอย่างสำหรับสิ่งนี้หรือต่อต้านสิ่งนี้ ตรงกันข้าม, มีหลายตัวอย่างของ “การอ้างตามความเป็นจริง”, ที่สามารถถูกทดสอบด้วยความรู้สมัยใหม่และความรู้ที่ปราศจากความขัดแย้งในโลกนี้(อย่างเช่น โครงสร้างของทวีปต่างๆ, ความสูงของภูเขาที่สูงที่สุด, ขนาดของมหาสมุทรต่างๆ, และอื่น ๆ)
ในพระไตรปิฏก (Dialogues of the Buddha III), ได้บรรยายถึงบรรพบุรุษของมนุษย์ ผู้ซึ่งอายุยืนถึง ๘๐,๐๐๐ ปี, แต่โดยความชั่วทีละเล็กละน้อยหลายๆอย่าง, ช่วงอายุของพวกเขาถูกลดลงเหลือแค่สิบปีเท่านั้น และในช่วงนั้นซึ่งกล่าวว่า มนุษย์เหล่านั้นแต่งงานกันตอนอายุห้าขวบ, และโดยน่าจะตั้งครรภ์อย่างน้อยตอนอายุเก้าขวบถ้าไม่ก่อนหน้านั้น (เนื่องด้วยที่อายุเก้าขวบ“ความแก่” ก็อาจจะเริ่มต้นขึ้นแล้ว) สิ่งเหล่านี้อ้างชัดเจนถึงมนุษย์ในข้อความนี้, และไม่ได้กล่าวถึงลิง ดังนั้น, ด้วยการเพิ่มขึ้นในการดำเนินชีวิตทางศีลธรรม, มนุษย์ได้ถูกพูดว่า เพิ่มช่วงอายุของพวกเขาขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ถ้าเรื่องนี้เป็นเพียงแต่การเปรียบเทียบเท่านั้น, ทำไมข้อความจึงอ้างอิงถึงเมืองที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีว่าเป็นส่วนของประวัติศาสตร์/คำพยากรณ์นี้: “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี เมืองพาราณสีนี้ จัก
เป็นราชธานีมีนามว่า เกตุมดี...” (๗๓) http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=11&A=1189&Z=1702เช่นเดียวกัน, ถ้านี่เป็นการเปรียบเทียบเท่านั้น, ดังนั้นการทำนายถึงพระศรีอริยเมตไตรยในอนาคต, ผู้ซึ่งถูกพูดว่าจะปรากฎเมื่อช่วงอายุของมนุษย์กลับคืนไปสู่ ๘๐,๐๐๐ ปี เป็นการเปรียบเทียบด้วย
ใน “การอ้างตามความเป็นจริง” อย่างอื่น จากปากของคนที่ “ที่อ้างว่าไม่เคยตกไปสู่ความผิดพลาด” (Dialogues of the Buddha III, 25) พระพุทธเจ้าพูดว่า มีปลาในมหาสมุทรที่ยิ่งใหญ่, ที่ไหนก็ตามแต่ซึ่งมีความยาวตั้งแต่ ๑๐๐ – ๕๐๐ yojanas (ความยาว):
“อีกประการหนึ่ง มหาสมุทรเป็นที่พำนักอาศัยของสิ่งที่มีชีวิตใหญ่ๆ สิ่งมีชีวิตใหญ่ๆ ในมหาสมุทรนั้น คือ ปลาติมิ ปลามิงคละ ปลาติมิติมิงคละ พวกอสูร นาค คนธรรพ์ แม้ที่มีร่างกายใหญ่ประมาณร้อยโยชน์ สองร้อยโยชน์ สามร้อยโยชน์ สี่ร้อยโยชน์ ห้าร้อยโยชน์ ก็มีอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลายแม้ข้อที่มหาสมุทรเป็นที่พำนักของสิ่งที่มีชีวิตใหญ่ๆ ... ” (Book of Discipline V, 333)
ตามคำอธิบายศัพท์ของ Pali Text Society, ๑ โยชน์ ได้ถูกพูดว่าเท่ากับ ๗ ไมล์ นั่นหมายความว่า ปลาที่ยาว ๕๐๐ โยชน์ ก็จะยาวถึง ๓๕๐๐ ไมล์ นั่นเป็นการอ้างอย่างสุดยอดเลยทีเดียว, ถ้าพิจารณาระยะนี้ก็จะยาวกว่าความกว้างของอเมริกาถึง ๗๐๐ ไมล์ (ฝั่งตะวันตกถึงตะวันออก)! เช่นเดียวกัน, มันจะเป็นปลาที่ไม่ได้สัดส่วน เนื่องจากว่าจุดลึกที่สุดของมหาสมุทรลึกประมาณ ๗ ไมล์, ซึ่งโดยความลึกเฉลี่ยประมาณ ๓ ไมล์
สำหรับผู้ที่อ้างว่าสามารถอธิบายถึงสิ่งต่างๆ “อย่างที่พวกมันเป็น” ได้อย่างรอบรู้ไม่ว่าจะเป็นอาณาจักรทางวิญญาณหรืออาณาจักรทางกายภาพ, มันไม่มากเกินไปที่จะถามว่าเขาสามารถที่จะวินิจฉัยสิ่งช่วยเหลือทางกายภาพและชี้แนะการรักษาอย่างเหมาะสม ในเล่มที่สี่ของ Book of Discipline, มีเรื่องราวต่างๆที่บอกชัดเจนว่า ความรู้ของพระพุทธเจ้าเทียบไม่ได้กับมาตรฐานความรู้สมัยใหม่, ซึ่งการรอบรู้ของพระพุทธเจ้าเป็นการรอบรู้ที่น้อยกว่ามากกับการรอบรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง ในกรณีหนึ่งพระพุทธเจ้าได้ให้การอนุญาตของเขาในการบริโภคเนื้อดิบและเลือดจากหมูว่า:
“ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธเพราะผีเข้า พระอาจารย์ พระอุปัชฌายะ ช่วยกันรักษาเธอ ก็ไม่สามารถแก้ไขให้หายโรคได้ เธอเดินไปที่เขียงแล่หมู แล้วเคี้ยวกินเนื้อดิบ ดื่มกินเลือดสด อาพาธเพราะผีเข้าของเธอนั้น หายดังปลิดทิ้ง ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเนื้อดิบ เลือดสด ในเพราะอาพาธเกิดแต่ผีเข้า.’”
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=05&A=775&Z=947
การรักษาที่อนุญาติโดยพระพุทธเจ้า, คือการให้วิญญาณ “ที่ไม่ใช่มนุษย์” (เช่น ปีศาจ, วิญญาณชั่ว) หมกมุ่นตนเองในเนื้อดิบและเลือดสดๆ มันจะชาญฉลาดไหม ที่มีโรคอะไรที่ซึ่งจะรับเอาแนวทางการรักษาอย่างนี้? ทำไมพระพุทธเจ้าไม่ขับไล่วิญญาณชั่วผู้บุกรุกออกไปเสีย อย่างที่พระเยซูคริสต์ได้ทำอยู่บ่อยๆ? ในทางตรงกันข้ามอีกสถานการณ์หนึ่ง พันธกิจของพระเยซูคริสต์, ที่ซึ่งรักษาได้ถูกบรรยายโดยใช้คำว่า “ทันที,” พระพุทธเจ้าอนุญาตสำหรับการรักษาที่หลากหลาย, ซึ่งบ่อยครั้งตามมาด้วยคำว่า, “เขาไม่ดีขึ้นเลย” ตามเหตุการณ์ต่อไปนี้เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงการขาดการรักษาที่เหมาะสมโดยพระพุทธเจ้า:
“‘ภิกษุนั้นต้องการผ้าพันแผล ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ‘เราอนุญาต ผ้าพันแผล’ แผลคัน ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ‘เราอนุญาตให้ชะด้วยน้ำแป้งเมล็ดพรรณผักกาด’ แผลชื้นหรือเป็นฝ้า ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ‘เราอนุญาตให้รมควัน’ เนื้องอกยื่นออกมา ... ดูกรภิกษุ- *ทั้งหลาย ‘เราอนุญาตให้ตัดด้วยก้อนเกลือ’ แผลไม่งอก”
www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=5&A=987&Z=1043
เมื่อผู้ใดมืดมนเกี่ยวกับความเป็นจริงๆต่างทางกายภาพ, ทำไมเราควรที่จะต้องไว้วางใจเขาเกี่ยวกับความเป็นจริงที่มีน้ำหนักมากกว่า, ความเป็นจริงในความสำคัญของชั่วนิรันดร์และความเป็นจริงทางฝ่ายจิตวิญญาณ?
ท้ายที่สุด, เนื่องจากทฤษฎีของวิวัฒนาการดูเหมือนว่าเข้ากันได้เป็นอย่างดีกับศาสนาพุทธ (ไม่ต้องมีผู้สร้าง), นั่นหมายความว่า ศาสนาพุทธถูกต้องกว่าหลักเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์หรือ? ประการที่หนึ่ง, พระพุทธเจ้าไม่ได้อธิบายถึงต้นกำเนิดสูงที่สุดและพูดว่าการพิจารณาถึงต้นกำเนิดเป็นหนึ่งในความพยายามที่ไร้ประโยชน์ในชีวิต (เนื่องด้วยการพิจารณาเช่นนี้ไม่ได้นำไปสู่นิพพาน) แต่, ถ้าไม่มีผู้สร้าง, เราจะสามารถคาดหวังได้อย่างไรว่าโลกของเราจะมีศีลธรรม(หรือความยุติธรรมแห่งกรรมอันใด), ถ้าทุกสิ่งเกิดขึ้นเป็นสิ่งมีชีวิตผ่านความบังเอิญ, มีโครงสร้างสลับซับซ้อนที่ไม่มีใครออกแบบ, จะมีศีลธรรมได้อย่างไร เพราะว่าศีลธรรมไม่ได้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาได้โดยบังเอิญและโดยไม่มีใครตั้งมาตรฐานไว้ นอกจากการขาดความร่วมกันระหว่างวิวัฒนาการและศาสนาพุทธ, ยังมีปัญหาที่ลึกกว่านั้น- วิวัฒนาการยังเป็นแค่ทฤษฎี- และหลังจากนั้นแล้วหลายปี ตั้งแต่ “การค้นพบ”ของดาร์วิน, หลักฐานสำหรับการวิวัฒนาการไม่ได้เพิ่มขึ้น, แต่กลับลดลง อย่างเช่น, ภาพเรียงที่มีชื่อเสียงที่แสดงถึงลิงที่เริ่มวิวัฒนาการมาเป็นมนุษย์, ได้ถูกพิสูจน์แล้วว่าเป็นการหลอกลวง, เป็นลิงอย่างเดียวเท่านั้น, หรือเป็นมนุษย์อย่างเดียวเท่านั้น, ซากฟอสซิลของสัตว์ผสมที่กำลังกลายรูปร่าง (The Missing Link) ที่เขากล่าวว่ากำลังเปลี่ยนรูปร่างนั้นก็ยังขาดไปอยู่ เวปไซท์ www.answersingenesis.org มีบทความ, เสียง, และภาพ ซึ่งนำเสนอโดยนักวิทยาศาสตร์ปริญญาเอกที่เชื่อในการทรงสร้าง, ได้เสนอถึงหลักฐานที่สนับสนุนพระผู้สร้างของโลกนี้ สำหรับใครบางคนที่เติบโตมาด้วยความคิดแบบวิวัฒนาการ, พระผู้สร้างดูเหมือนว่า “ไม่เป็นวิทยาศาสตร์”, แต่ว่าหลักฐานที่สนับสนุนว่ามีผู้สร้างก็อยู่ที่นั่นแล้ว ในการที่จะขับไล่หลักฐานนี้ โดยปราศจากการตรวจสอบอย่างยุติธรรม ก็จะทำให้ไม่เป็นวิทยาศาสตร์เสียเอง ควรหรือไม่ที่เราจะยอมรับบางสิ่ง เพียงแค่ว่ามันเป็นความคิดเห็นในยุคของเราหรือในการเห็นด้วยต่อศีลธรรมตามใจเราเองในชีวิต? บุคคลที่ตามเหตุผลไม่ได้ตามใจตัวเอง ควรจะเต็มใจที่จะตามหลักฐานว่าจะนำไปสู่ที่ใด, แม้สิ่งนั้นจะนำไปสู่พระเจ้า
พระเจ้า
ในชาดก ๕๔๓, มีคำถามเกี่ยวกับพระผู้สร้าง20 “ทำไมสรรพสิ่งของเขาจึงถูกลงโทษสู่ความเจ็บปวด? ทำไมเขาไม่ให้ความสุขแก่ทุกสิ่ง” (Jones, ๑๔๔) ผู้ที่ไม่เชื่อในพระเจ้าในศาสนาพุทธและการเน้นที่ความพยายามของตัวเอง, อ้างสำหรับมนุษย์ถึงอำนาจในการตัดสินใจเด็ดขาดตามความคิดเห็นของพวกเขาเอง ความทุกข์ยากที่เห็นชัดแจ้งในโลกนี้ บ่อยครั้งให้เป็นเหตุผลสำหรับการปฏิเสธพระเจ้าที่ทรงมีความรักและมีฤทธิ์ธานุภาพ หนังสือโยบในพระคัมภีร์ไบเบิลได้กล่าวถึงปัญหาของความอยุติธรรมที่ปรากฎในโลกนี้ เวลาคนตัดสินเกี่ยวกับสถานการณ์ต่างๆของพวกเขา, ผู้คนทึกทักเอาว่ารู้ทุกสิ่งที่สามารถรู้ได้ในสถานการณ์นั้นๆ โยบก็มีการร้องทุกข์ที่คล้ายๆกัน, เพราะว่าจากมุมมองของเขา เขาไม่สามารถเห็นถึงความยุติธรรมใดๆเลยในสิ่งที่เขาเผชิญอยู่ ในการตอบสนอง, พระเจ้าได้ถามโยบด้วยคำถามสี่บทเต็ม (โยบ บทที่ ๓๘-๔๑), ซึ่งทำให้โยบตระหนักว่าเขามีความรู้ที่จำกัดเพียงไหน ในการวางการพิพากษาต่อพระเจ้าทำให้เราเข้าใจเอาเองว่าสิ่งไหนถูกโดยตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งมุมมองที่มีขอบเขตและจำกัด มีความรู้อะไรที่บุคคลหนึ่งมี, ที่พระเจ้าผู้สร้างยังไม่ได้พิจารณา?
ความไร้สาระในโลกนี้ควรทำให้เราหันไปหาพระผู้สร้างสำหรับทิศทางและการเริ่มใหม่, แทนที่จะคิดว่าเราสามารถจัดการปัญหาด้วยตัวของเราเอง พระเยซูสอนเหล่าสาวกของพระองค์ถึงความจำเป็นของพวกเขาที่จะถ่อมตัวลงตรงหน้าพระเจ้าว่า: “พระเยซูจึงทรงเรียกเด็กเล็กๆคนหนึ่งมาให้อยู่ท่ามกลางเขา แล้วตรัสว่า ‘เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า ถ้าพวกท่านไม่กลับใจเป็นเหมือนเด็กเล็กๆ ท่านจะเข้าในอาณาจักรแห่งสวรรค์ไม่ได้เลย’” (มัทธิว ๑๘:๒-๓) สิ่งที่เราเห็นในโลกนี้บ่อยครั้งไม่ยุติธรรม- คนชั่วร่ำรวยขึ้น, ‘คนดีตามมาตรฐานที่คนทั่วไปคิด’เผชิญความทุกข์ยากและอื่นๆ… แต่ว่าเราจำเป็นต้องรู้ถึงมุมมองของนิรันดร์, ซึ่งรวมทั้งวันแห่งการพิพากษาซึ่งพระเจ้าจะพิพากษาโลกด้วยความชอบธรรม ในทางศาสนาพุทธ, คำถามเกี่ยวกับการเป็นมีอยู่ของพระเจ้าได้ถูกจัดวางในประเภทของการครุ่นคิดทางปรัชญาที่ไร้ประโยชน์ – ถือกันโดยทั่วไปว่าคำถามนี้ไม่สามารถช่วยให้ความทุกข์ของผู้คนสิ้นสุดลงโดยทางนิพพาน รู้สึกขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง, ที่การรู้จักพระเจ้าไม่ได้นำเราไปสู่นิพพาน (การไม่มีตัวตน) เนื่องด้วย, ในการพิจารณาถึงการขาดการรอบรู้ทุกสิ่งทุกอย่างของศักยามุนี, ก็เป็นการยากที่จะแนะนำให้ไว้วางใจในการคาดการณ์ของเขาเกี่ยวกับอะไรที่ควรแก่การติดตามหรืออะไรที่ไม่ควรแก่การติดตาม ถ้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านของเราทำงานไม่ปกติ, เราต้องอ่านคู่มือการใช้งานจากบริษัทผู้สร้างหรือเรียกหาคนที่สร้างเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นๆ ในทำนองเดียวกัน, พระเจ้าผู้สร้างเรามีคำตอบสำหรับสถานการณ์ที่ยากลำบากในชีวิต
สรุป
มองไปยังศาสนาพุทธอย่างตรงไปตรงมาเช่นนี้, ถ้าศาสนาพุทธเป็นการเดินทาง, มันจะเป็นการเดินทางในที่ซึ่งแผนที่ประกอบด้วยคำอ้างเทียมเท็จต่างๆ, “ผู้ค้นพบ” การเดินทางนี้ก็ไม่ได้อยู่ข้างเราอีกต่อไปแล้วที่จะเสนอการช่วยเหลือใดๆ, และที่สุดของที่สุด คนหนึ่งก็ดับสลายเมื่อไปถึงจุดหมาย แม้ว่าศาสนาพุทธเป็นระบบที่น่าหลงไหล, มันนำคนออกจากทางของพระเจ้า ผู้ซึ่งพระองค์ทรงรักพวกเขา, มันนำคนออกจากชีวิตนิรันดร์ที่ไม่เสื่อมสลาย, และนำเราออกจากวัตถุประสงค์ที่พระเจ้าทรงสร้างไว้ให้แก่เรา– ชีวิตที่ได้รับการชำระจากความบาปและความสัมพันธ์กับพระผู้ทรงสร้าง– ทำให้เป็นไปได้, โดยผ่านทางพระเยซูคริสต์ผู้ซึ่งรับการลงโทษแทนเราบนไม้กางเขน โดยไม่ใช่จากการชำระตัวเราด้วยความดีของเราเอง ในการปฏิเสธสิ่งนี้ ก็เป็นการปฏิเสธแผนที่ที่แท้จริงที่ไปสู่สวรรค์21, ความช่วยเหลือสำหรับการเดินทาง, และผู้นำทางที่ซึ่งไม่ให้เราล้มเหลว ในการยอมรับและรับเอาสิ่งนี้ก็เป็นการเริ่มต้นความสัมพันธ์แห่งความไว้วางใจกับพระผู้ทรงสร้างของเรา “เพราะว่าพระเจ้าทรงรักโลก จนได้ทรงประทานพระบุตรองค์เดียวของพระองค์ที่บังเกิดมา เพื่อผู้ใดที่เชื่อในพระบุตรนั้นจะไม่พินาศ แต่มีชีวิตนิรันดร์ เพราะว่าพระเจ้าไม่ได้ทรงใช้พระบุตรของพระองค์เข้ามาในโลกเพื่อจะพิพากษาโลก แต่เพื่อช่วยโลกให้รอดโดยพระบุตรนั้น ผู้ที่เชื่อในพระบุตรก็ไม่ต้องถูกพิพากษาลงโทษ แต่ผู้ที่มิได้เชื่อก็ต้องถูกพิพากษาลงโทษอยู่แล้ว เพราะเขามิได้เชื่อในพระนามพระบุตรองค์เดียวที่บังเกิดจากพระเจ้า” (ยอห์น ๓:๑๖-๑๘)
อ้างอิง
พระคริสตธรรมคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ ฉบับ 1971 (ฉบับเรียงพิมพ์ใหม่ 1998)
Childers, R.C. (1979). A Dictionary of the Pali Language. New Delhi: Cosmo Publications.
Gogerly, D.J. (1885). The Kristiyani Prajnapti or The Evidences and Doctrines of the Christian Religion in three parts. Colombo: Christian Vernacular Education Society.
Herman, A.L. (1996). Two Dogmas of Buddhism. In Pali Buddhism Hoffman, F.J., Mahinda, D. (Eds.) Surrey: Curzon Press.
Jones, J.G. (1979). Tales and Teachings of the Buddha: The Jataka Stories in relation to the Pali Canon. London: George Allen & Unwin.
Keown, D. (2000). Buddhism: A very short introduction. Oxford: Oxford University Press.
Odzer, C. (1998). Abortion and Prostitution in Bangkok. In Buddhism and Abortion. Keown, D. (Ed.). Great Britain: Macmillan Press Ltd.
Rahula, W. (1999). What the Buddha Taught. Bangkok: Haw Trai Foundation.
Rhys Davids, T.W. & Stede, W. (1966). The Pali Text Society’s Pali-English Dictionary. London: Luzac & Company, Ltd.
The Debate of King Milinda: An Abridgement of The Milinda Panha. (1998) Pesala, B. (Ed.) Delhi: Motilal Banarsidass Publishers Pte. Ltd.
The Pali Canon (พระไตรปิฎก): Pali Text Society Version. Abbreviations of Pali Text Society books, with Pali titles in parentheses: V = Book of Discipline (Vinaya Pitaka); GS = Gradual Sayings (Anguttara Nikaya); D = Dialogues of the Buddha (Digha Nikaya); KS = Kindred Sayings (Samyutta Nikaya); MLS = Middle Length Sayings (Majjhima Nikaya); JS(S) = Jataka Stories (Jataka).
Trimondi, V. & Trimondi, V. (1999) Der Schatten des Dalai Lama: Sexualitaet, Magie und Politik im tibetischen Buddhismus. Duesseldorf: Patmos- Verlag.
Vajiranana, P. (1987). Buddhist Meditation in Theory and Practice: A General Exposition According to the Pali Canon of the Theravada School. Kuala Lumpur: Buddhist Missionary Society.
เชิงอรรถ
1 ศักยามุนีหมายถึงนักปราชญ์ของวงศ์ตระกูลศักยา (ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนามของ สิทธัตธะ โกตะมะ- “พระพุทธ” ที่คนส่วนใหญ่อ้างอิงถึงเมื่อกล่าวถึง“พระพุทธเจ้า,” ถึงแม้ว่าจะมีพุทธเจ้าหลายคนในศาสนาพุทธก็ตาม)
2 คำสอนที่ว่าไม่มี “ตนเอง” หรือ “วิญญาณ” ที่ถาวร ที่มนุษย์มี
3 ข้อต่างๆของนิทานชาดกได้ถือว่าอยู่ในพระไตรปิฎก, แต่ว่าเรื่องเล่าชาดกที่ไม่ได้อยู่ในพระไตรปิฎกถือว่าอยู่ในประเภทของข้อคิดเห็นมากกว่า
4 นิกายทั้งสี่ใน “ตะกร้า” ที่สองของพระไตรปิฎก, เรียกว่าสุตตันตปิฎก แท้จริงแล้วมีห้านิกายในตะกร้านี้, แต่ว่านิกายที่ห้านั้น (ขุททกนิกาย) ถือว่ามีความน่าเชื่อถือน้อยกว่า, ซึ่งได้บรรจุเพิ่มเติมในภายหลัง
5 พระไตรปิฎกเป็นแหล่งคำสอนของพุทธศาสนิกชนแบบเถรวาท คำแปลของพระไตรปิฎกนี้แตกต่างกันในระหว่างประเทศ(เช่น ศรีลังกา,พม่า, และไทย), แต่ก็มีการเห็นด้วยกันในข้อหลักๆซึ่งควรจะมีในพระไตรปิฎกส่วนใหญ่ พระไตรปิฎกถูกแบ่งออกเป็นสาม“ตะกร้า”-วินัยปิฎก, สุตตันตปิฎกและอภิธรรมปิฎก
6 ห้าขันธ์ที่ซึ่งคนเราได้ถูกพูดว่าประกอบด้วยคือ รูป, เวทนา, สัญญา, สังขารและวิญญาณ
7 สูตร หมายถึงตะกร้าที่สองของพระไตรปิฎก (สุตตันตปิฎก)
8 การรวมกันทั้งห้า (ขันธ์ทั้งห้า) ที่ได้อ้างอิงในเชิงอรรถข้อที่ 6
9 คำบาลีสำหรับคำนี้คืออัตตา Rahula จำกัดความ อาตมันว่าเป็น “วิญญาณ, ตนเอง, อีโก้” (หน้า ๑๔๒ ฉบับภาษาอังกฤษ)
10 “คนที่อุทิศตนทั้งหมดไปสู่การบรรลุการตรัสรู้อย่างสมบูรณ์ของพระพุทธเจ้า, ซึ่งคนนั้นจะต้องพัฒนาความสมบูรณ์ต่างๆจนระยะเวลายาวนานหลายยุค” (Pesela, ๑๑๐)
11 หนึ่งในจำนวนหลายนรก (แดนชำระ; purgatories) ในระบบจักรวาลวิทยาของพุทธศาสนา
12 สภาพของบุคคลที่เป็นพระอรหันต์ (บางทีก็สะกดว่า อรหัต) Rahula จำกัดความ พระอรหันต์ว่าเป็น “ผู้หนึ่งที่เป็นอิสระจากโซ่ตรวนต่างๆ, ความมลทินต่างๆและสิ่งสกปรกต่างๆ โดยทางการตระหนักแห่งนิพพานในขั้นที่สี่และขั้นสุดท้าย, และเป็นผู้ที่เป็นอิสระจากการเกิดใหม่” (๑๔๒)
13 Herman ได้อธิบายถึงการใช้คำว่าคำสอนที่นับถืออย่างเคร่งครัดในเชิงอรรถของเขา: “ข้าพเจ้าเห็นว่าไม่มีอะไรมุ่งร้ายในการใช้คำว่า “คำสอนที่นับถืออย่างเคร่งครัด” ในการที่จะอธิบายหลักคำสอนที่เป็นส่วนสำคัญหรือหลักการที่มีสิทธิอำนาจ ชาวพุทธจำนวนมากชอบที่จะเชื่อว่าพวกเขาไม่มีคำสอนที่นับถืออย่างเคร่งครัด ข้าพเจ้าขอแนะนำว่าไม่มีใครที่ไม่มีคำสอนที่นับถืออย่างเคร่งครัด, และคนที่จะเชื่ออย่างแตกต่างออกไปนั้นอย่างน้อยก็ได้เชื่อในคำสอนที่เคร่งครัดหนึ่งอันแล้ว” (๑๖๐) คำสอนที่นับถืออย่างเคร่งครัดทั้งสองที่เขาชี้คือนิพพานและการยืนยันว่าความไม่ถาวรนำไปสู่ความเศร้าโศกตลอด
14 พุทธศาสนานิกายมหายานพบมากในประเทศจีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, เนปาล, ไต้หวันและเวียดนาม
15 นี่เป็นหนึ่งในนรกภูมิจำนวนมาก (แดนชำระ) ในระบบจักรวาลวิทยาในศาสนาพุทธ
16 พระธรรมสามารถแปลได้ว่าเป็นตัวเนื้อหาของการสอนหรือหลักคำสอน
17 การทำสมาธิแบบวิปัสสนา เป็นสิ่งที่ทำให้การทำสมาธิของพุทธศาสนาไม่เหมือนใคร, ซึ่งเน้นที่การมีอยู่แบบไม่ถาวร (อนิจจัง), ไม่พึงพอใจ (ทุกข์), และไม่มีตัวตน (อนัตตา)
18 เป็นผลงานที่ไม่ได้ตามพระไตรปิฏก ซึ่งเขียนขึ้นโดย พระพุทธโฆสะ (พระพุทธโฆษาจารย์), แต่ก็เป็นที่นับถืออย่างมากท่ามกลางพุทธศาสนิกชนแบบเถระวาท
19 ฌาน ก็ถูกสะกดว่า ธยาน ด้วย, Rahula จำกัดความ ธยานาว่าเป็น, “ภวังค์”, การทำสมาธิ (recueillement), เป็นสภาพของจิตใจที่บรรลุโดยการทำสมาธิขั้นที่สูงขึ้น” (๑๔๓)
20 ในกรณีนี้ผู้สร้างถูกอ้างว่าเป็นพราหมณ์, แม้ว่าสิ่งนี้ใช้เป็นเพียงข้อโต้แย้งที่ต่อต้านการมีอยู่ของพระผู้สร้าง
21 สำหรับตัวอย่างต่างๆของความน่าเชื่อถือของพระคัมภีร์ไบเบิล, เวปไซท์ต่างๆ ดังต่อไปนี้ได้เสนอถึงหลักฐานบางอย่างจากประวัติศาสตร์,โบราณคดี, คำพยากรณ์ต่างๆ ที่สำเร็จ, และอื่นๆ
http://www.apologeticsinfo.org/resource.html
http://www.letusreason.org/Apolodir.htm
http://www.leaderu.com/offices/billcraig/menus/historical.html
http://www.ankerberg.com/Articles/article-index-b_1.html
แผนที่ของพุทธศาสนา โดย สก๊อต โนเบิล ()
แปลโดย วีรวัจน์ เกียรติกุลพัฒนา ()
๖ พฤศจิกายน ๒๐๐๔